OCCUPATIONAL BASED PRACTICE บุณฑริก เอกคุณธรรม 5823008


Occupation profile

น.ส. ศ (นามสมมติ) เพศ หญิง อายุ 50 ปี ปัจจุบัน ว่างงาน ความต้องการของผู้รับบริการคือ ต้องการปรับยาและดูอาการระหว่างปรับยา

การวินิจฉัยโรค Recurrent Major Depressive Disorder

สัปดาห์ที่ก่อนพบ OT มือสั่นมากจนเขียนหนังสือไม่ได้ ขาอ่อนแรง กระสับกระส่าย ผุดลุกผุดนั่ง ทานข้าวไม่อร่อย นอนไม่หลับ

อาการปัจจุบัน อารมณ์เบื่อหน่ายดีขึ้น ไม่มีอาการท้อแท้ แต่พอรับประทานยา จะรู้สึกเบลอ ทานข้าวไม่อร่อย นอนไม่หลับ

ตารางเวลาการใช้ชีวิต

นอนหลับ 10 ชั่วโมง กิจวัตรประจำวัน 1 ชั่วโมงครึ่ง ทำงาน(ซื้อกับข้าว) ครึ่งชั่วโมง มีเวลาว่าง 12 ชั่วโมง

บทบาทที่ผู้รับบริการให้ความสำคัญ

งานประจำ, อาสาสมัคร, ผู้มีส่วนร่วมทางศาสนา และงานอดิเรก

บทบาทที่ผู้รับบริการคาดว่าจะได้กระทำในอนาคต

งานประจำ, อาสาสมัคร, ผู้ดูแลบ้าน, เพื่อน และงานอดิเรก


จากการศึกษารายงานนักศึกษาคิดว่า กิจกรรมที่รุ่นพี่ให้ผู้รับบริการทำนั้น มีความเป็น OBP (Occupational Based Practice) มากอยู่แล้ว เพราะเป้าหมายของผู้รับบริการคือ รู้จักวิธีผ่อนคลายความเครียด และรู้จักและสามารถปรับตารางเวลาสมดุลเวลาของ การทำงาน, การพักผ่อน หรือกิจกรรมยามว่างได้

โดยโปรแกรมการฝึกที่มอบให้ผู้รับบริการก็เป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการมีความสนใจ และชื่นชอบ แต่อาจปรับกิจกรรมที่ผู้รับบริการสามารถทำได้เองในชีวิตประจำวัน เช่น

- การคลายเครียด อาจเลือกกิจกรรมที่ผู้รับบริการได้ทำเพื่อคนอื่นไปด้วย โดยส่วนตัวของผู้รับบริการชอบที่จะเป็นผู้ให้อยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น การทำกับข้าวเพื่อไปถวายพระ หรือคนในชุมชน ก็จะทำให้ผู้รับบริการได้ใช้เวลาว่างไปกับสิ่งที่ตัวเองรู้สึกชอบ และเป็นกิจกรรมยามว่างที่ทำแล้วมีประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้รับบริการและต่อคนอื่นในสังคม

- การแก้ปัญหาเรื่องการนอนหลับ ภายในระหว่างวันอาจจะมีการให้ทำกิจกรรมที่ต้องใช้พลังมากขึ้นเล็กน้อย แทนที่การนั่งเฉยๆ ดูโทรทัศน์ เพราะเมื่อผู้รับบริการได้ใช้พลังไปกับกิจกรรม พอถึงเวลานอน ร่างกายของผู้รับบริการจะได้มีความต้องการพักผ่อนเพิ่มมากขึ้น

- การเชื่อมั่นในตัวเอง อาจจะเริ่มจากกิจกรรมที่ผู้รับบริการเคยทำอยู่แล้ว ทำให้เกิดความชำนาญมากขึ้น พอสำเร็จ ค่อยๆ ปรับให้ไปทำกิจกรรมที่ใกล้เคียงกับกิจกรรมเดิม และถ้าสำเร็จได้ ผู้รับบริการก็จะรู้สึกมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในตัวเองมากยิ่งขึ้น

- การกลับไปทำงานประจำ OT ต้องสังเกตดูว่าผู้รับบริการมีความสามารถในทางใด แล้วลองเลือกดูกับผู้รับบริการว่า สนใจจะทำอาชีพอะไร หรือถ้าผู้รับบริการสนใจที่จะทำของขาย ก็ต้องให้สนับสนุนให้ผู้รับบริการมีแรงจูงใจที่จะหารายได้ เพื่อนำไปซื้อของที่ต้องการได้ และถือว่าเป็นการจัดสมดุลเวลาเพื่อลดเวลาว่างลง แต่เพิ่มเวลาในการทำงานให้มากขึ้น


นอกเหนือจากนี้ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมได้เองทั้งหมด และสามารถควบคุมตัวเองได้


คำสำคัญ (Tags): #OBP
หมายเลขบันทึก: 625575เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2017 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2017 13:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท