บันทึกการเดินทาง





บันทึกการเดินทาง

ณ ปราสาทหินเมืองต่ำ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ภูเขาไฟกระโดง จังหวัดบุรีรัมย์

ของนิสิต พระฉัตรชัยอภินนฺโท (โคมชัย) นิสิตคณะครุศาสตร์ชั้นปีที่ 3 เอกสังคมศึกษา

ในวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

แหล่งเรียนรู้ที่นิสิตไปทัศนศึกษาเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ดังต่อไปนี้

แหล่งเรียนรู้ที่ 1 ปราสาทเมืองต่ำ


ปราสาทหินเมืองต่ำ ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทาง ทิศใต้เป็นระยะทางประมาณ 64 กิโลเมตร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2478 และได้เข้ามาทำการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2531 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2539 ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธาน และปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง


ปราสาทหินเมืองต่ำ เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ศิลปะขอมโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16-17 มีลักษณะเป็นกลุ่มปราสาทอิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนศิลาแลงอันเดียวกัน เรียงเป็น 2 แถวตามแนวทิศเหนือใต้ แถวหน้า 3 องค์ องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าปรางค์อื่น ส่วนแถวหลังมีปรางค์อิฐจำนวน 2 องค์ วางตำแหน่งให้อยู่ระหว่างช่อง ของปรางค์ 3 องค์ ในแถวแรก ทำให้สามารถมองเห็นปรางค์ทั้ง 5 องค์ พร้อมกันโดยไม่มีองค์หนึ่งมาบดบัง

ปรสาทหินเมืองต่ำ ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างจากปราสาทแห่งอื่นๆ ที่จะมีปรางค์องค์ใหญ่ตรงกลางและล้อมรอบด้วยปรางค์ขนาดเล็กกว่าทั้ง 4 มุม ปรางค์ประธาน ปัจจุบันมีสภาพให้เห็นเฉพาะฐานเท่านั้น โดยมีผนังเเป็นรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมขนาด 7 x 7 เมตร โครงสร้าง โดยรวมนั้นมีลักษณะเหมือนกับปรางค์บริวารทั้ง 4 องค์ จะต่างกันก็เพียงแต่ปรางค์ประธานมีมุขหน้า ส่วนปรางค์บริวารไม่มี ปรางค์ประธานจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และเป็นด้านที่มีประตูเข้าสู่ภายในองค์ปรางค์เพียงด้านเดียว ส่วนที่เหลืออีก 3 ด้าน คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตกนั้น ทำเป็นรูปประตูหลอก


ราสาทหินเมืองต่ำ เป็นศิลปะขอมแบบบาปวน คือ ทับหลัง มีลักษณะเป็นการเล่าเรื่อง โดยมีภาพบุคคลเป็นส่วนใหญ่ มีรูปของหน้าสัตว์ประหลาดโดยการผสมผสานรวมกับเทวดาที่นั่งอยู่ภายในซุ้ม


ความโดดเด่นของ ปราสาทเมืองต่ำ นอกจากจะได้ชมสถาปัตยกรรมและศิลปะที่สวยงามของโบราณสถานแห่งนี้แล้ว ยังได้ชมหมู่บ้านที่ตั้งเรียงรายเป็นกลุ่มอยู่กับปราสาทนี้ด้วย ชาวบ้านอยู่ที่นี่มานานจนมีความรู้สึกว่าปราสาทคือส่วนหนึ่งของชุมชน การดำเนินชีวิตของชาวบ้านโคกเมืองสัมพันธ์กับความงามของปราสาท กลายเป็นความสงบร่มเย็นน่าสนใจไม่น้อย

แหล่งเรียนรู้ที่ 2 ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง


ปราสาทพนมรุ้งเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนเขาพนมรุ้ง ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ สร้างขึ้นโดยมีรูปแบบของศิลปะเขมรโบราณ ที่มีความงดงามมากที่สุดแห่ง หนึ่ง ความงดงามและความยิ่งใหญ่ของปราสาทแห่งนี้ปรากฏให้เห็นได้ในรูปของงานสถาปัตยกรรม การจำหลักลวดลายการเลือกทำเลที่ตั้งบนยอดเขามีแผนผังตามแนวแกนที่มีองค์ประกอบของสิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ เรียงตัวกันเป็นแนวเส้นตรงพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลาง คือ ปราสาทประธาน จากงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่นี้ ชวนให้เกิดความสงสัยและอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าคนในสมัยโบราณสร้างปราสาทหลังนี้ขึ้นมาได้อย่างไร ปราสาทพนมรุ้ง เป็นที่รู้จักของชาวท้องถิ่นเป็นอย่างดี ดังได้มีนิทานพี้นบ้านเรื่อง "อินทรปรัสถา" กล่าวถึงคู่พระคู่นางซัดเซพเนจรไปจนพบที่พักพิงซึ่งเป็นปราสาทหินอันงดงามรกร้างอยู่ท่ามกลางป่าเขา แต่สำหรับบุคคลภายนอกต่างบ้านต่างเมืองนั้น ปราสาทแห่งนี้รู้จักกันครั้งแรกตามที่มีเอกสารที่มีการกล่าวถึงปราสาทพนมรุ้งเป็นครั้งแรกคือ บันทึก ของนายเอเตียน เอมอนิเยร์ (Etienne Aymonier) ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2428 ตีพิมพ์เป็นบทความใน พ.ศ. 2445 ปี พ.ศ. 2449 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จมาที่ปราสาทพนมรุ้ง คราวเสด็จมณฑลอีสาทและเสด็จอีกครั้งในปี พ.ศ. 2472 กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพนมรุ้งเป็นโบราณสถานของชาติประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 และปี พ.ศ. 2503-2504 ได้ดำเนินการสำราจปราสาทพนมรุ้งอีกครั้ง ต่อมาใน พ.ศ. 2514 ได้เริ่มดำเนินการบูรณะปราสาทพนมรุ้งด้วยวิธีอนัสติโลซิส (Anastylosis คือ การนำชิ้นส่วนของปราสาทกลับเข้าสู่ตำแหน่างเดิม) เปิดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานชื่อของปราสาทพนมรุ้ง เป็นชื่อดั้งเดิมของโบราณสถานแห่งนี้ คำว่า พนมรุ้งปรากฏอยู่ในศิลาจารึก ที่พบที่ปราสาทแห่งนี้จารึกพนมรุ้ง หลักที่ 2 หลักที่ 4 และ K10900 จารึกว่า พนมรุ้งเป็นชื่อเทวสถาน ที่มีขอบเขตกว้างขวาง มีที่ดิน หมู่บ้าน เมือง



ปราสาทแห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยที่ประทับของพระศิวะพระองค์ที่ประทับอยู่บนยอดเขาไกรลาส ดังนั้น การที่ ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นบนยอดเขาพนมรุ้ง จึงเป็นการสะท้อนถึงการนับถือศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายได้เป็นอย่างดีอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของปราสาทพนมรุ้ง ไม่ได้สร้างขึ้นมาพร้อมกันหมดในคราวเดียว ได้มีการสร้างศาสนสถานเพื่อเป็นศูนย์กลางทางความเชื่อการนับถือศาสนาของชุมชน ขึ้นครั้งแรกในราวพุทธศตวรรษที่ 15 ได้แก่ ปราสาทอิฐ 2 หลัง ที่ปัจจุบันอยู่ในสภาพพังทลายเหลือเพียงฐานและกรอบประตู หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างต่อเนื่องกันมาเป็นลำดับ โดยกษัตริย์ของอาณาจักรเขมรโบราณ หรือผู้นำที่ปกครองชุมชน อันมีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง


ภาพโยคีหรือฤษีบนทับหลังชั้นในสุด ของปราสาทประธาน ด้านทิศตะวันออก และทิศใต้ จำหลักเป็นภาพโยคี 5 ตน นั่งชันเข่าพนมมืออยู่ที่ซุ้มเรือนแก้ว ส่วนบนทับหลังด้านทิศใต้ ภายโยคีตรงกลางถือลูกปะคำ และมีรูปโยคีขนาดเล็กอยู่ริมสุดทั้ง 2 ข้าง ภาพบนทับหลังนี้เกี่ยวข้องกับพระศิวะ โดยพระองค์เป็นเทพแห่งโยคะ พระนามหนึ่งของพระองค์คือ มหาโยคี


ภาพพระศิวะนาฏราชที่บริเวณหน้าบันด้านทิศตะวันออกของมณฑปปราสาทประธานเป็นภาพจำหลักพระศิวะนาฏราช หรือพระศิวะทรงฟ้อนรำ เป็นภาพพระศิวะเศียรเดียว สิบกร อยู่ในท่าฟ้อนรำ แวดล้อมด้วยบุคคล โดยบุคคลที่อยู่ทางซ้ายมือสุดของพระศิวะ คือ พระคเณศ โอรสของพระองค์ ถัดมาน่าจะได้แก่ พระวิษณุ พระพรหม ตามลำดับ และมีภาพเทวสตรี 2 องค์อยู่ทางด้านขวาตามความเชื่อในศาสนาฮินดูจังหวะการ่ายรำของพระศิวะ อาจะบันดาลให้เกิดผลดีและผลร้ายแก่โลกได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสวดอ้อนวอนให้พระ


ภาพอุมามเหศวรภาพนี้ปรากฏบนห้านบัน ชั้นที่หนึ่งด้านทิศใต้ของมณฑปปราสาทประธาน ภาพอยู่ในสภพาชำรุดมาก แต่ยงพอมองเห็นได้ว่าเป็นภาพพระศิวะพระนางอุมาชายา ประทับอยู่บนหลังโคนนทิซึ่งเป็นพาหนะของพระองค์แวดล้อมด้วยเหล่าข้าทาศบริวารที่หน้าบันชั้นที่ 3 ด้านทิศตะวันตก ปราสาทประธาน ปรากฏภาพอุมามเหศวร อยู่ในวิมานบนเขาไกรลาส โดยชายาของพระองค์ประทับอยู่บนชานุเบื้องซ้าย วิมานที่ประทับอยู่มีรูปทรงแบบปราสาท

แหล่งเรียนรู้ที่ 3ภูดขาไฟกระโดง



วนอุทยานเขากระโดง ชื่อเดิมชาวบ้านเรียกเขากระโดงว่า “พนมกระดอง” เป็นภาษาเขมร แปลว่า “ภูเขากระดอง (เต่า)” เพราะมีรูปลักษณ์คล้ายกระดองเต่า ต่อมา จึงเรียกเพี้ยนเป็น “กระโดง”

ภูเขาไฟกระโดงนับเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทมาแล้วหลายพันปี และเป็น 1 ใน 6 ลูกของภูเขาไฟใน บุรีรัมย์ ทั้งยังเป็นภูเขาไฟที่มีสภาพปากปล่องสมบูรณ์ ปัจจุบันได้มีการบูรณะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด โดยในแต่ละปีจะมีประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางขึ้นไปกราบไหว้ขอพรพระสุภัทรบพิตร และชมปากปล่องภูเขาไฟเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะฤดูหนาวจะมีนักท่องเที่ยวมากเป็นพิเศษ ทางจังหวัดต้องขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวให้ช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดย รอบวนอุทยานภูเขาไฟกระโดงเพื่อให้ลูกหลานได้ชมความงดงาม




การกำเนิดและการแจกกระจายของภูเขาไฟในจังหวัดบุรีรัมย์

ภูเขาไฟในบุรีรัมย์ เกิดจากการไหลทะลักของลาวา (อาจมีการประทุระเบิดบ้าง ถ้ามีก๊าซและไอน้ำร้อนเดือดมาก) ตามแนวรอยเลื่อนแบบ

รอยเลื่อนย้อน (Thrust – Fault) โดยภูเขาไฟกระจาย (Distribution) อยู่ห่างจากแนวรอยเลื่อนขึ้นไปทางเหนือเป็นระยะ ๆ ภูเขาไฟ แนวแรก

อยู่ห่างจากแนวรอยเลื่อนประมาณ 40 กิโลเมตร ได้แก่ภูเขาไฟคอก แนวที่สองห่างจากแนวรอยเลื่อน ประมาณ 45 กิโลเมตร ได้แก่ภูเขาไฟ

หลุบ และภูเขาไฟไปรบัด แนวที่สามห่างจากแนวรอยเลื่อนประมาณ 50 กิโลเมตร ได้แก่ ภูเขาไฟพนมรุ้ง ภูเขาไฟอังคาร และภูเขาไฟกระโดง

ซึ่งอยู่ห่างจากแนวรอยเลื่อนมากที่สุด ประมาณ 75 กิโลเมตร ภูเขาไฟแต่ละแนวเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วมีอายุแตกต่างกันไป แนวที่อยู่ใกล้รอย

เลื่อนมากที่สุด (แนวแรก) มีอายุเก่าแก่ที่สุดคือ ประมาณไม่เกิน 2 ล้านปี ซึ่งมีสัณฐานและร่องรอยการไหลของธารลาวา ถูกทำลายเกือบหมด

หินที่ผุกล่อนง่ายสลายกลายเป็นดินหมดแล้ว คงเหลือแต่หินที่แข็งแกร่งเท่านั้น และภูเขาไฟแนวทางเหนือสุดได้แก่ ภูเขาไฟกระโดง มีอายุ

น้อยที่สุดลูกหนึ่งของประเทศไทย ร่องรอยการประทุระเบิด การไหลหลากของธารลาวา เศษหินที่ผุสลายตัวง่าย เช่น Slag, Cinder, Bomb,

Volcanic Tuff, Breccia เป็นต้น ยังคงพบอยู่ทั่วไป ตามบริเวณช่องประทุระเบิด (Vent) หรือเขตไหล่เนินภูเขาไฟ



ซากภูเขาไฟในจังหวัดบุรีรัมย์

ซากภูเขาไฟในจังหวัดบุรีรัมย์ส่วนใหญ่ มีสัณฐานของช่องปล่องประทุระเบิดชัดเจน เนินภูเขาไฟเกิดจากการทับถมของเศษหินภูเขาไฟ

(Pyroclastic Materials) ซึ่งเกิดจากแรงดันของก๊าซ (Gas) ต่าง ๆ ที่แทรกอยู่ในหินหลอมละลาย เช่น ไอน้ำ (70.75%) คาร์บอนไดออกไซด์

(14.07%) ไฮโดรเจน (0.33%) ไนโตรเจน (5.45%) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (6.40%) ซัลเฟอร์ไฮออกไซด์ (1.93%) เป็นต้น เศษหินภูเขาไฟ

เหล่านี้เป็นมวลหินหลอมละลายที่ถูกดันประทุขึ้นไปและเย็นแข็งตัวในอากาศ มีขนาดต่าง ๆ กัน และมีชื่อเฉพาะเรียกแตกต่างกัน

ถ้าจำแนกหินภูเขาไฟเหล่านี้ตามลักษณะโครงสร้าง สามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้

พวกเนื้อแน่น (Massive Structure) ได้แก่ หินบะซอลต์เนื้อแน่น ซึ่งโรงโม่หินใช้บดและย่อยให้เป็นวัสดุก่อสร้าง

พวกหินมีรูพรุนคิดเป็นร้อยละน้อยกว่า 50 โดยปริมาตร (Vesicular Structure) เช่น Vesicular Basalt ตามช่องว่างมักจะมีแร่ทุติยภูมิ

(Secondary Mineral) เช่น แคลไซด์ ซีโอไลต์ หรือควอร์ต (Quartz) ตกผลึกแทรกอยู่ ซึ่งเรียกโครงสร้างแบบนี้ว่า Amygdaloidal

Structure หินภูเขาไฟแบบนี้ จะพบในเขตใกล้ช่องประทุ

พวกมีรูพรุนคิดเป็นร้อยละ เกิน 50 โดยปริมาตร (Scoriaceous Structure) ได้แก่ หินสกอเรีย (Scoria or Slag) ส่วนมากเป็น

Scoraceous Basalt หินเหล่านี้จะพบในเขตช่องปล่องประทุและน้ำหนักเบา บางก้อนลอยน้ำได้คล้ายหินพัมมิส (Pumice)

แต่หินพัมมิสไม่พบในเขตอีสานใต้


จบการนำเสนอ

************************

หมายเลขบันทึก: 625255เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2017 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2017 12:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท