ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก:กรณีศึกษาแนวทางการศึกษาเกษตรอินทรีย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(ครั้งที่3)


วันนี้เรามาลงพื้นที่กันที่บ้านป้าสุนีย์กันค่ะ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งวันนี้มีการทำแปลงปลูกต้นหอมหรือเรียกว่าการดำหอม วันนี้ก็มีสมาชิกของกลุ่มมาร่วมทำในครั้งนี้ด้วยค่ะ เราได้รับมอบหมายงานจากป้าสุนีย์ให้ทำการปลูกหอม 1 แปลง ป้าได้อธิบายวิธีการทำงาน โดยเริ่มจากแกะเปลือกหอมออกจากนั้นจึงนำไปปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ ซึ่งวิธีการปลูกหอมมีดังนี้ค่ะ ...

คณะผู้วิจัยเตรียมพร้อมการปลูกหอม : ภาพโดย รภัทภร

เริ่มแรกได้ทำการปรับหน้าดินและปั่นปุ๋ยก่อนค่ะ โดยการใช้รถไถเล็กในการดุนพรวนดินให้ดินนั้นสามารถนำหัวหอมจิ้มลงไปในดินได้

ปรับหน้าดินโดยใช้รถไถเล็ก : ภาพโดย ปราโมทย์


ปรับหน้าดินโดยใช้รถไถเล็ก : ภาพโดย ปราโมทย์

ในระหว่างที่ลุงกำลังปรับหน้าดิน ทางคณะผู้วิจัยบางส่วนก็มานั่งแกะหัวหอมโดยเลือกหอมที่ติดกันแยกออกเป็นหัวๆ

โดยป้าสุนีย์ได้ซื้อหอมมาในราคากิโลกรัมละ 90 บาท

คณะผู้วิจัยช่วยกันแกะหอม : ภาพโดย รภัทภร

คณะผู้วิจัยช่วยกันแกะหอม : ภาพโดย รภัทภร

คณะผู้วิจัยช่วยกันแกะหอม : ภาพโดย รภัทภร


หัวหอมที่นำมาแกะมาคัด : ภาพโดยรภัทภร

หลังจากที่เราได้ทำการแกะหอมเสร็จแล้วเราก็นำมาฝัดเอาเปลืกในส่วนที่หลุดออกให้หลือแต่หัว

นำหอมใส่กระด้งเตรียมฝัดเปลือก : ภาพโดย รภัทภร


อัญชญากำลังฝัดเปลือกหัวหอม : ภาพโดยรภัทภร

หลังจากการปรับหน้าดินเสร็จแล้วเราก็นำหัวหอมมาปักลงดิน การลงดินของหัวหอมจะทำลงเป็นแถวเพื่อที่จะทำให้ต้นหอมขึ้นง่าย

ป้าสุนีย์กำลังสอนการนำหอมลงไปในดิน : ภาพโดยรภัทภร

ป้าสุนีย์กำลังสอนการนำหอมลงไปในดิน : ภาพโดยรภัทภร

สมาชิกภายในกลุ่มมาช่วยกันทำงาน : ภาพโดยรภัทภร

คณะผู้วิจัยลงมือปลูกหอม : ภาพโดยรภัทภร


คณะผู้วิจัยลงมือปลูกหอม : ภาพโดยรภัทภร

พอเราเอาหัวหอมปักลงดินเสร็จจนหมดแปลงแล้ว เราก็เอาเมล็ดผักชีหว่านลงไปปลูกคู่กันเป็นการทำ "เกษตรแบบผสมผสาน"


เมล็ดผักชีที่นำมาหว่านหลังจากปลูกหอม : ภาพโดยรภัทภร

หลังจากนั้นเราก็นำฟางมาคลุมหน้าดินให้หนาพอประมาณทั้งแปลงเพื่อกันนกมาจิกกินและกันลมพัด โดยนำไม้มาเขี่ยฟางให้กระจายสม่ำเสมอกัน

ผู้วิจัยและสมาชิกกลุ่มนำฟางมาคลุม : ภาพโดยรภัทภร

ผู้วิจัยและสมาชิกกลุ่มนำฟางมาคลุม : ภาพโดยรภัทภร

ผู้วิจัยและสมาชิกกลุ่มนำฟางมาคลุม : ภาพโดยรภัทภร


ผู้วิจัยและสมาชิกกลุ่มนำฟางมาคลุม : ภาพโดยฐาปนีย์

หลังจากที่เราทำการปลูกหอมกันเสร็จแล้ว ป้าสุนีย์ได้เลี้ยงอาหารมื้อกลางวันพวกเราเป็นก๊วยเตี๋ยวฝีมือของพี่ปุ้มลูกสาวป้าสุนีย์ค่ะ


อาหารมื้อกลางวัน : ภาพโดยฐาปนีย์


อาหารมื้อกลางวัน : ภาพโดยฐาปนีย์


แล้วเราก็มาเดินสำรวจพื้นที่รอบๆบริเวณศูนย์การเรียนรู้ เพื่อใช้ในการทำแผนที่เดินดินว่าบริเวณรอบบ้านมีอะไรบ้างและเดินมาถึงปากทางค่ะ

ทางเข้าเราจะเจอกับบ้านพักเพื่อเป็นที่รับรองของแขกอยู่ทางด้านซ้ายมือ

ป้ายทางเข้าศูนย์การเรียนรู้ : ภาพโดยปราโมทย์


ที่พักรับรองของแขก : ภาพโดยรภัทภร

ด้านขวามือจะเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของป้าสุนีย์ค่ะ ระหว่างทางเข้าไปจะมีต้นไม้ราบรื่นร่มเย็นสงบมากค่ะ

บริเวณนี้จะปลูกต้นมะม่วงเป็นส่วนใหญ่เพื่อความร่มรื่น


พื้นที่ข้างบ้านป้าสุนีย์ : ภาพโดยรภัทภร

ตรงนี้เป็นศูนย์การเรียนรู้และห้องประชุมเมื่อถึงเวลาที่ทำกิจกรรมต่างๆก็จะมาทำกันบริเวณพื้นที่ตรงนี้และยังเป็นที่อยู่อาศัยของป้าสุนีย์หลังเก่าอีกด้วย

ศาลาเรียนรู้ : ภาพโดยรภัทภร


ศูนย์การเรียนรู้และห้องประชุม : ภาพโดยปราโมทย์

พอเราเดินมาทางด้านซ้ายมาจะพบกับบ่อปลาในบ่อที่เลี้ยงจะมีปลานิล ปลาทับทิมและปลาช่อน


ให้อาหารปลาภายในบ่อ : ภาพโดยฐาปนีย์



บ่อปลา : ภาพโดยปราโมทย์

เดินเข้าไปอีกจะเจอกับเล้าไก่ไข่อินทรีย์ การเลี้ยงไก่ของป้าสุนีย์จะไม่ฉีดสารเร่งกระตุ้นใดๆทั้งสิ้น

อาหารที่ให้จะเป็นจำพวกรำ,ข้าวเปลือก,ผลไม้ที่ปลูกในสวน


เล้าไก่ไข่เล้าที่1 : ภาพโดยรภัทภร

ตรงนี้เป็นสวนผลไม้ที่ปลูกไว้รอบบริเวณบ้าน มีกล้วย,มะม่วง และละมุด


สวนผลไม้ : ภาพโดยรภัทภร

ส่วนนี่จะปลูกต้นสะเดามัน มีต้นมะพร้าวแซมอยู่กับมะม่วงและลำไย

สวนผลไม้ : ภาพโดยรภัทภร

ที่ตรงนี้คือไร่ข้าวโพดฝักอ่อนและด้านหลังจะเป็นสวนกล้วย


ไร่ข้าวโพด : ภาพโดยรภัทภร


ไร่ข้าวโพด : ภาพโดยรภัทภร

อันนี้เป็นกล้วยหอม ปลูกอยู่หน้าไร่ข้าวโพด


กล้วยหอม : ภาพโดยรภัทภร

ถัดมาจากไร่ข้าวโพดจะเจอกับเล้าไก่ไข่อินทรีย์อีก1 เล้า


เล้าไก่ไข่เล้าที่2 : ภาพโดยรภัทภร

ส่วนตรงนี้จะเป็นสวนลำใย มีต้นมะรุมที่ตัดแล้ว อีกด้านก็จะเป็นสวนมะนาว

สวนลำไย : ภาพโดยรภัทภร


สวนมะนาวข้างๆต้นมะรุม : ภาพโดยรภัทภร

ซุ้มตรงนี้เป็นเรือนเพาะกล้าพันธุ์พืช,ผัก,ผลไม้ต่างๆ


ซุ้มเพาะกล้าพันธ์พืชต่างๆ : ภาพโดยเกวลิน

แปลงนี้เป็นแปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์ ปลูกหน่อไม้ฝรั่งและพริกหยวก


ต้นหน่อไม้ฝรั่ง : ภาพโดยเกวลิน

พริกหยวก : ภาพโดยเกวลิน

มีสวนมะเขือเทศหวานซึ่งตอนที่ไปต้นกำลงจะตายแล้วเพราะแดดแรง แต่ก็ยังออกลูกมาเยอะมาก

มะเขือเทศหวาน : ภาพโดยเกวลิน

มะเขือเทศหวานมีรสชาติหวาน เนื้อกรอบ ฉ่ำน้ำและมีลูกเล็ก เมื่อผลสุกจะมีสีแดง

มะเขือเทศหวาน : ภาพโดยลุงจันทร์ดี

หันมาอีกทางหนึ่งตรงนี้จะเป็นแปลงลูกสัปปะรดและมีซุ้มปลูกผักออแกนิค พื้นที่กว้างๆนี้คือไร่ดอกทานตะวันค่ะ

แปลงสัปปะรด : ภาพโดยรภัทภร

ซุ้มปลูกผักออแกนิค : ภาพโดยปราโมทย์

ไร่ดอกทานตะวัน: ภาพโดยลุงจันทร์ดี


ไร่ดอกทานตะวัน : ภาพโดยลุงจันทร์ดี

หมายเลขบันทึก: 625242เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2017 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2017 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท