ประวัติศาสตร์ คืออะไร


ประวัติศาสตร์ คืออะไร ???

คำว่า “ประวัติศาสตร์” เกิดจากการสมาสคำภาษาบาลี “ประวัติ” (ปวตฺติ) ซึ่งหมายถึง "เรื่องราวความเป็นไป" และคำภาษาสันสกฤต “ศาสตร์” (ศาสฺตฺร) ซึ่งแปลว่า ความรู้

“ประวัติศาสตร์” ถูกบัญญัติขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเทียบเคียงกับคำว่า “History” อยากและเพื่อให้มีความหมายครอบคลุมมากกว่าคำว่า “พงศาวดาร” (Chronicle) ที่ใช้กันมาแต่เดิม

คำว่า history มีที่มาจากคำว่า historia ในภาษากรีก ซึ่งมีความหมายว่าการไต่สวนค้นคว้าหรือวิจัย เดิมเป็นชื่อหนังสือที่เฮโรโตตุส (Herodotus , 484-420 ปีก่อนค.ศ.)

นักปรัชญาประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงให้คำอธิบายถึงคำว่า “ประวัติศาสตร์” ไว้ว่า

1.อาร์. จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood)

อธิบายว่าประวัติศาสตร์คือวิธีการวิจัยหรือการไต่สวนโดยมีจุดมุ่งหมายจะศึกษาเกี่ยวกับพฤติการณ์ของมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในอดีต

2.เอส.คาร์ (E. H. Carr)

อธิบายว่าประวัติศาสตร์นั้นก็คือกระบวนการอันต่อเนื่องของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักประวัติศาสตร์กับข้อมูลของเขา ประวัติศาสตร์คือบทสนทนาอันไม่มีที่สิ้นสุดระหว่างปัจจุบันกับอดีต (What is history?, is that it is a continuous process of interaction between the present and the past.)

3.เซอร์ ชาร์ลส์ โอมัน มีความเห็นในทำนองเดียวกับ อาร์เอฟ อารากอน ว่า ประวัติศาสตร์ คือ

“การตรวจสอบหลักฐานทั้งประเภทเอกสารและวัตถุ เพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดต่อเนื่องกันแล้วหาข้อสรุปเป็นไปไม่ได้ ที่เราจะสามารถได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ แต่เราอาจจะสามารถอธิบายข้อเท็จจริงบางอย่างที่ได้จากการตรวจสอบ และวิเคราะห์หลักฐานเหล่านั้น ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่พอจะยอมรับกันได้”

4.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์

กล่าวถึง ลักษณะสำคัญของคำว่า ประวัติศาสตร์ว่า “ประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาความเป็นมาของมนุษย์ในอดีต ตั้งแต่เมื่อเริ่มมี การจดบันทึกกันด้วยลายลักษณ์อักษร..….”

5.จิตร ภูมิศักดิ์

กล่าวว่า “วิชาประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยความชัดเจนในการต่อสู้ ทางสังคมมนุษย์ ซึ่งวิชานี้เสมือนตัวอย่างของการต่อสู้ทางสังคมแห่งชีวิตของชนรุ่นหลังการศึกษาประวัติศาสตร์จึงเป็นหัวใจแห่งการศึกษาความเป็นมาของสังคม เป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขไปสู่การปฏิบัติอันถูกต้อง”

6.ดร. วิจิตร สินสิริ

ทัศนะไว้ว่า “ประวัติศาสตร์ คือบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต เกี่ยวด้วยเรื่องเหตุการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ปรัชญาที่มนุษย์ได้คิดได้สร้างไว้ถือเป็นความเจริญรุ่งเรือง และเป็นรากฐานของความเจริญสมัยต่อๆมา

จากแนวคิดทฤษฎีข้างต้นผู้เขียนจึงสรุปได้ว่า ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้นในเวลาหนึ่ง (อดีต) โดยอธิบายให้ความหมายว่าทำไมถึงเกิด ก่อนหน้านั้นมีเหตุการณ์อะไรปัจจัยอะไร สาเหตุนั้นส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไร มีอะไรที่ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงอย่างไร

จักรกฤษณ์ ศรีน้อย > เขียน

ที่มา : สรุปจากคำสอนวิชาปรัชญาและวิธีการทางประวัติศาสตร์ อ.วรรณพร บุญญาสถิตย์ มรภ.พระนคร

หนังสือประกอบการเขียน

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2518). ปรัชญาประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2525). ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันออก. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์, อาคม พัฒิยะ. (2525). หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : บรรณกิจ.

วงเดือน นราสัตย์. (2550). ประวัติศาสตร์:วิธีการและพัฒนาการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.


หมายเลขบันทึก: 625168เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2017 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2017 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท