นโยบาย QE ญี่ปุ่น



แหล่งที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1...

นโยบาย QE ญี่ปุ่น

มาตรการ QE หรือ Quantitative Easing เรียกอีกอย่างว่า มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ คือนโยบายทางการเงิน แบบหนึ่ง โดยหลักการจะเป็นการนำเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะเข้าไปซื้อสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน และจะให้สถาบันทางการเงิน ปล่อยกู้ให้ภาคเอกชนต่อไป เพื่อกระตุ้นให้ ประชาชนในประเทศ มีการใช้จ่ายมากขึ้น

ธนาคารญี่ปุ่น หรือ BOJ ได้มีการเพิ่มมาตรการการผ่อนคลายทางการเงิน ในวันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม 2557 ที่ออกมาเพิ่มเป็นครั้งที่สอง และไม่กำหนดเวลาสิ้นสุด หลังจากที่เงินเฟ้อของญี่ปุ่นลดลงอย่างต่อเนื่องซึ่งสวนทางกับเป้าหมายของ BOJ อยู่ 2% ดังนั้น BOJ จึงตั้งเป้าที่จะขยายเงินไปเป็น 80 ล้านล้านเยนต่อปี จากเดิมอยู่ที่ 60-70 ล้านล้านเยนต่อปี มาตรการนี้จะทำให้เงินในระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีการขยายตัวถึง 30% ในปี 2015 ซึ่งจะทำให้งบดุลของ BOJ เพิ่มขึ้น 17% ของ GDP

ผลกระทบต่อประเทศไทย ในด้านการส่งออกของประเทศไทยอาจจะกระทบไม่มาก และจะได้ประโยชน์จากการผ่อนคลายของ BOJ ในระยะยาว ส่วนสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะเป็น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์ ซึ่งมีการนำเข้าวัตถุดิบจากญี่ปุ่นที่ค่อยข้างเยอะ และถึงค่าเงินเยนจะอ่อนค่าซึ่งส่งผลทำให้การส่งออกสินค้าไปญี่ปุ่นแพงขึ้น แต่การนำเข้าวัตถุดิบที่ถูกลงจะช่วยให้ชดเชยรายได้ที่ส่งออกที่ลดลงได้ การที่ญี่ปุ่นออกนโยบายเพิ่มเติมของ QE เพื่อที่จะไปกระตุ้นอุปสงค์ของประเทศ และจะทำให้เป็นประโยชน์ในการส่งออกของไทยในระยะยาว หลังจากที่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นฟื้นตัวแล้ว

แหล่งที่มา : http://www.biztempnews.com/index.php/economics/item/9081

http://guru.sanook.com/8266/

คำสำคัญ (Tags): #นโยบาย QE#BOJ
หมายเลขบันทึก: 625123เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2017 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2017 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท