การพัฒนารูปแบบระบบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร


ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบระบบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู

สู่ผู้เรียน โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร

ปีที่วิจัย 2558-2559

ผู้วิจัย นางนภาพร ศรีมรกต ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการในการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบระบบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียนโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร 3) เพื่อทดลองใช้ และผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบระบบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียนของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ต่อโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring

รูปแบบการวิจัย การวิจัยและพัฒนาร่วมกับประยุกต์ใช้การวิจัยแบบผสมผสานแบบจำลองการออกแบบการสอนแบบ The ADDIE Model ของครูส (Kruse 2007: 1)

กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเจาะจง จากครูโรงเรียนสกลทวาปี จำนวน 40 คน ได้แก่ ครูพี่เลี้ยง จำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 8 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 30 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบการสังเกต และการสนทนากลุ่ม

การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที(Dependent t-test) การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบอันดับที่มีเครื่องหมายกำกับของวิลคอกซัน (The Wilcoxon Signd Ranks Test)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร พบว่า ครูยังขาดการนำความรู้สู่การปฏิบัติ ขาดกระบวนการนิเทศติดตามที่เหมาะกับบริบทของโรงเรียน

2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียนโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร พบว่า รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง เอไอพีซีอี (AIPCE Model) มีความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน

3. ผลการทดลองใช้ และผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบระบบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียนโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ก่อนและหลังการทดลอง พบว่า ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยภาพรวมการติดตามดูแลให้คำปรึกษาในการจัดการเรียนการสอน พบว่า ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความสมารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่าส่วนใหญ่มีความสามารถอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความคุณภาพรายงานการวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ได้ระดับดีเยี่ยม จำนวน 4 คน และระดับดีมาก จำนวน 4 คน และผู้เรียนมีศักยภาพด้านภาษา (Literacy) ความสามารถด้านคำนวณ (Numeracy) และความสามารถ เชิงเหตุผล (Reasoning Ability) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01

4) ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและผู้เรียนต่อรูปแบบระบบพี่เลี้ยง เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียนโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผู้เรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนผู้เรียน การวัดประเมินผลการเรียนผู้เรียนอย่างหลากหลายวิธี และผู้เรียนมีส่วนร่วมในการระเมิน

Title: Development of a Coaching and Mentoring Model to Enhance the

Teacher's Ability in Leaning Management to Learners of Schools under

the Jurisdiction of Sakon Nakhon Provincial Administration organization

Year: 2015-2516

Researcher: Mrs. Napaporn Srimoragot , Supervisor, Senior Professional Level,

Division of Education, Religion and Culture, SakonNakhon District, Sakon Nakhon

Abstract

The purposes of the research were (1) to study the problem and needs in enhancing teachers’ ability in learning management to learners, (2) to create and develop the coaching and mentoring model to promote the teachers’ ability in learning management to learners, and (3) to try the results of the assessment of the effectiveness of the model, and (4) to study the participants’ satisfaction towards the project. The format of the research was a model designed to teach based on the ADDIE Model of Kruse (Kruse 2007: 1). The sample chosen was carried out with a purposive sampling from 40 teachers; 2 mentors, 8 teachers, 30 Mathayomsuksa 3 students.

Findings revealed the followings:

1) For problem and needs to promote teachers' ability in learning management, it was found that teachers did not take knowledge to practice and were short of following -up supervision process that suits the context of the school.

2) For the result of creation and development of coaching and mentoring model, it was found that the coaching and mentoring AIPCE Model is suitable for the school context.

3) For the result of trying out and assessment of the coaching and mentoring system model before and after the experiment, it was found that teachers’ ability in learning management was higher than prior the use of the model with statically significance at .01. For the following-up process in supervising teaching and learning, overall, it was found that majority of teachers had a high level of teaching and learning ability. In an evaluation of the quality of classroom research, It was found that the capacity of 4 teachers was excellent and 4 teachers with good level. Learners’ ability of literacy, numeracy and reasoning were found higher prior to learning with statically significance at .01.

4) For an evaluation of teachers' and learners' towards coaching and mentoring model, it was found that overall level of satisfaction was high because teaching and learning activities focused on learner-centeredness, promoting learning atmosphere, various ways of assessment including learners' participation in assessment.

หมายเลขบันทึก: 625010เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2017 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2017 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท