การแต่งวสันตดิลก ฉันท์ ๑๔


การแต่งวสันตดิลก ฉันท์ ๑๔

๑. ความหมายของวสันตดิลก ฉันท์ ๑๔

วสันตดิลกฉันท์ มีความหมายว่า “ฉันท์ที่มีลีลาดังจอมเมฆในฤดูใบไม้ผลิ” มีทำนองลีลาไพเราะสละสลวย เหมาะสำหรับเนื้อหาในเชิงพรรณนาความงดงามของสิ่งต่างๆ เช่น ชมบารมีพระมหากษัตริย์ ชมบ้านเมือง พระบรมมหาราชวัง วัดวาอาราม ชมธรรมชาติ ชมความงามของอิสตรี

๒. ลักษณะบังคับของครุและลหุ

ครุ คือ พยางค์ที่มีเสียงหนักหรือยาว มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

๑) ประสมกับสระเสียงยาวในมาตรา ก กา เช่น ลา อา ปู โต

๒) มีเสียงพยางค์หรือตัวสะกด เช่น กัน จันท์ เวร รัตน์

ครุ ใช้สัญลักษณ์คือ

ลหุ คือ พยางค์ที่มีเสียงเบาหรือสั้น มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

๑) ประสมกับสระเสียงสั้นในมาตรา ก กา เช่น จะ ละ เพราะ เอ๊ะ

๒) ยกเว้น บ, บ่, ก็ เป็นคำลหุได้

ลหุ ใช้สัญลักษณ์คือ

อนุโลม คำที่ผสมกับสระเกินอนุโลมให้เป็นลหุได้ เช่น ลำ – เนา แต่ไม่ควรใช้บ่อยหรือถ้าเคร่งครัดก็ไม่ควรใช้

๓. ลักษณะบังคับของวสันตดิลก ฉันท์ ๑๔

บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทหนึ่งมี ๒ วรรค โดยวรรคแรกมี ๘ อักษร เป็นครุและลหุอย่างละ ๔ อักษร ส่วนวรรคหลังมี ๖ อักษร เป็นครุและลหุอย่างละ ๓ อักษร รวมบาทหนึ่งเป็น ๑๔ อักษร ประกอบด้วย ครุและลหุ อย่างละ ๗ อักษร


ตัวอย่างคำประพันธ์

๏ สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ

ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร

๏ บราลีพิลาศศุภจรูญ นภศูลประภัสสร

หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย

๏ รอบด้านตระหง่านจัตุรมุข พิศสุกอร่ามใส

กาญจน์แกมกนกไพ- ฑุรย์พร่างพะแพรวพราย

(สามัคคีเภทคำฉันท์ : ชิต บุรทัต)

หมายเลขบันทึก: 624986เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2017 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มีนาคม 2017 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท