ภาพพจน์


ภาพพจน์

ภาพพจน์ หมายถึง การใช้คำสำนวนของผู้ประพันธ์สร้างภาพพจน์ให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการและได้รับอรรถรสของบทประพันธ์นั้นได้ดียิ่งขึ้น

1.อุปมา คือ การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คำว่า “เหมือน ดัง ดั่ง ราว ดุจ ประดุจ เพียง ละม้าย ปาน พ่าง” เช่น

ตัวอย่างที่ 1 เพลง หยาดเพชร

เปรียบ...เธอเพชรงามน้ำหนึ่ง หวาน...ปานน้ำผึ้งเดือนห้า”

จากบทเพลงข้างต้น “เปรียบ...เธอเพชรงามน้ำหนึ่ง หวาน...ปานน้ำผึ้งเดือนห้า” คำว่าเปรียบและปาน เป็นอุปมา

ตัวอย่างที่ 2 เพลง ยอยศพระลอ

“ รูปดังองค์อินทร์หยาดฟ้ามาสู่ดิน โสภิณดังเดือนดวง

เหนือแผ่นดินแดนสรวงเหนือปวงหนุ่มใด”

จากบทเพลงข้างต้น คำว่า “ รูปดังองค์อินทร์หยาดฟ้ามาสู่ดิน โสภิณดังเดือนดวง” คำว่าดังเป็นอุปมา

2.อุปลักษณ์ คือ การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง โดยใช้คำว่า “เป็น คือ” เช่น

ตัวอย่างที่ 1 เพลง คู่ชีวิต

“เธอคือทุกสิ่ง ในความจริงในความฝัน คือทุกอย่างเหมือนใจต้องการ

"เธอเป็นนิทาน ที่ฉันอ่าน ก่อนหลับตาและนอนฝัน”

จากบทเพลงข้างต้น คำว่า “เธอเป็นนิทาน” เป็นอุปลักษณ์ที่เปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งโดยใช้คำว่า “เป็น”

ตัวอย่างที่ 2 เพลง เธอคือของขวัญ

“หากเธอเป็นภูเขา ฉันจะเป็นต้นไม้ โอบกอดเธอเอาไว้ไม่ให้เธอเหน็บหนาว

หากเธอเป็นท้องฟ้า ฉันจะเป็นเมฆสีขาว โอบกอดเธอไม่ให้เธอเหงาและเดียวดาย”

จากบทเพลงข้างต้น คำว่า “หากเธอเป็นภูเขา ฉันจะเป็นต้นไม้ หากเธอเป็นท้องฟ้า ฉันจะเป็นเมฆสีขาว”เป็นอุปลักษณ์ที่เปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งโดยใช้คำว่า “เป็น”

3.อธิพจน์ คือ การเปรียบเทียบโดยการกล่าวเกินจริง เช่น

ตัวอย่างที่ 1 เพลง รักไม่รู้ดับ

ถึงจะสิ้น วิญญาณกี่ครั้ง

ฉันก็ยัง รักเธอฝังใจ

แม้จะสิ้น ดวงจันทร์ไฉไล

ไม่เป็นไร เพราะยังมีเธอ"


จากบทเพลงข้างต้น คำว่า “ถึงจะสิ้น วิญญาณกี่ครั้ง ฉันก็ยัง รักเธอฝังใจ แม้จะสิ้น ดวงจันทร์ไฉไล ไม่เป็นไร เพราะยังมีเธอ" เป็นการกล่าวเกินจริง

ตัวอย่างที่ 2 เพลง รักปักใจ

รักปักใจ โอ้ใคร ช่วยฉันที

ทุกนาที ดังไฟมาจี้ เหลือที่บรรเทา

อาวรณ์ใจร้อนรน

พะวักพะวน ก่นซึมเซา

ตรึงฤทัย ให้หลงเมา

หัวใจกระเส่า นี่ตัวเราหรือตัวใคร”

จากบทเพลงข้างต้น คำว่า”รักปักใจ” เป็นการกล่าวเกินจริง

4.บุคคลวัตหรือบุคลาธิษฐาน คือ การสมมุติให้สิ่งไม่มีชีวิตให้สามารถแสดงกิริยาต่างๆได้เหมือนมนุษย์ เช่น

ตัวอย่าง 1 เพลง เรือเล็กควรออกจากฝั่ง

เสียงลมคำราม ฟ้าครามพลันมืดมัว

หัวใจสั่นระรัว ฉันกลัวอะไร

ทะเลเอาจริง หรือเพียงจะวัดใจใคร

เหมือนคำขู่ท้าทาย ให้ยอมจำนน”

จากบทเพลงข้างต้น คำว่า “เสียงลมคำราม” เป็นบุคคลวัตเพราะลมไม่สามารถคำรามได้ และคำว่า ”ทะเลเอาจริง หรือเพียงจะวัดใจใคร” เป็นบุคคลวัตที่ทำให้สิ่งที่ไม่มีชีวิตกลับมีชีวิต

ตัวอย่าง 2 ไม้ขีดไฟกับดอกทานตะวัน

เจ้าไม้ขีดไฟ ก้านน้อยเดียวดาย

แอบรักดอกทานตะวัน

แรกแย้มยามบาน อวดแสงตะวัน

ช่างงดงามเกินจะเอ่ย

ดอกเหลืองอำพัน ไม่หันมามอง

แม้เหลียวมา ยังไม่เคย

ไม้ขีดเจ้าเอ๋ย เลยได้แต่ฝัน ข้างเดียว

ดอกไม้จะบาน และหันไปตาม

แต่แสงจากดวงอาทิตย์”

จากบทเพลงข้างต้น คำว่า ”เจ้าไม้ขีดไฟ ก้านน้อยเดียวดาย แอบรักดอกทานตะวัน” ,“ดอกเหลืองอำพัน ไม่หันมามอง”และ ”ไม้ขีดเจ้าเอ๋ย เลยได้แต่ฝัน ข้างเดียว ดอกไม้จะบาน และหันไปตาม แต่แสงจากดวงอาทิตย์”เป็นบุคคลวัตเพราะเป็นสิ่งที่ไม่ชีวิตที่ให้เป็นสิ่งมีชีวิต

5.นามนัย คือ การใช้คำหรือวลีบ่งบอกคุณสมบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาแสดงแทนสิ่งนั้นทั้งหมด

ตัวอย่าง 1 เพลงจำเลยรัก

“เจ็บแค้นเคืองโกรธ โทษฉันไย

ฉันทำ อะไรให้เธอเคืองขุ่น

ปรักปรำ ฉันเป็นจำเลยของคุณ

นี่หรือพ่อนักบุญ

แท้จริงคุณคือคนป่า

จากบทเพลงข้างต้น คำว่า” พ่อนักบุญ” หมายถึง คนดีมีศีลธรรม และคำว่า”คนป่า” หมายถึง คนที่ชอบทำร้ายทารุณ ผู้อื่น

6.สัญลักษณ์ คือ การใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่งเป็นคำที่รู้จักโดยทั่วไป เช่น

ตัวอย่าง 1 เพลง ฤดูที่แตกต่าง

“อดทนเวลาที่ฝนพรำ

อย่างน้อยก็ทำให้เราได้เห็นถึงความแตกต่าง

เมื่อวันเวลาที่ฝนจาง

ฟ้าก็คงสว่างและทำให้เราได้เข้าใจ

ว่ามันคุ้มค่า(แค่ไหนที่เฝ้ารอ)”

จากบทเพลงข้างต้นคำว่า”ฝนพรำ”เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนอุปสรรคและความทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของมนุษย์ซึ่งมนุษย์ต้องอดทนมองความเป็นไปในชีวิตและปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นด้วยความเข้าใจว่ามันคือสัจธรรม เมื่อพิจารณาดูแล้วจะทำให้เราเห็นความแตกต่างในชีวิต มีขึ้นก็ต้องมีลง มีสุขก็ต้องมีทุกข์ สุดท้ายแล้วเราต้อรู้จักรอวันที่ ฝนจาง และ ฟ้าสว่าง ซึ่งหมายถึงวันที่ปัญหาทุกอย่างคลี่คลายลงและชีวิตกลับมามีความสุขอีกครั้งนั่นเอง

7.สัทพจน์ คือ การเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น

ตัวอย่าง ที่ 1 เพลง จังหวะหัวใจ

“อยู่ ๆ ใจก็ตึ๊ก ตั๊ก ก็เพราะเธอนั้นน่ารัก อยู่ อยู่ ตึ๊ก ตั๊ก

ชวนให้ผมรัก รัก อยู่ อยู่ อยู่เข้ามาใกล้ คงไม่ปล่อยไปง่าย ง่าย

ส่งสัญญาณมาหน่อยสิ ได้ ได้ ป่าว”

จากบทเพลงข้างต้น คำว่า “ตึ้ก ตึ้ก” เป็นการเลียนเสียงจังหวะการเต้นของหัวใจ

8.ปฏิพากย์ คือ การใช้คำตรงกันข้ามที่มีความขัดแย้งกัน เช่น

ตัวอย่างที่ 1 เพลง ลิ้นกับฟัน

“ลิ้นกับฟัน พบกันทีไรก็เรื่องใหญ่

น้ำกับไฟ ถ้าไกลกันได้ก็ดี

หมากับแมว มาเจอะกัน สู้กันทุกที

ต่างไม่เคยมีวิธี จะพูดจา”

จากบทเพลงข้างต้น คำว่า “น้ำกับไฟ” เป็นคำตรงกันข้ามกัน และขัดแย้งกัน เพราะน้ำสามารถดับไฟได้

9.ปฏิปุจฉาหรือคำถามเชิงวาทศิลป์ คือ การตั้งคำถามโดยไม่ต้องการคำตอบ เช่น

ตัวอย่าง 1 เพลง เธอมีฉัน ฉันมีใคร

เธอมีฉัน แต่ว่าฉันมีใคร

เมื่อฉันเหงา มีสิทธิ์ไหมได้พบเธอ

เธอยังมีฉัน แต่ไม่รู้ทำไม

ชีวิตฉันเหมือนไม่มีใครสักคน

จากบทเพลงข้างต้น คำว่า”เธอมีฉัน แต่ว่าฉันมีใคร”และคำว่า”เธอยังมีฉัน แต่ไม่รู้ทำไม ชีวิตฉันเหมือนไม่มีใครสักคน” คือการใช้คำถาเชิงวาทศิลป์

คำสำคัญ (Tags): #ภาพพจน์
หมายเลขบันทึก: 624985เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2017 18:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มีนาคม 2017 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท