เรื่องย่อ ลูกอีสาน


เรื่องย่อ ลูกอีสาน

ผู้แต่ง : คำพูน บุญทวี

ยโสธรพื้นที่ทางภาคอีสานเมื่อ ๔๐ ปีก่อน มีสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งชาวบ้านทำมาหากินด้วยการทำไร่เกษตรกรรม เมื่อไม่นานมานี้เกิดปัญหาภัยแล้งเข้าควบคุมทำให้ชาวบ้านเริ่มอพยพไปยังพื้นที่ดินดำน้ำชุ่ม แต่บางครอบครัวที่ไม่ได้อพยพตามไปก็หันมาเปลี่ยนอาชีพเป็นการหาของป่า และล่าสัตว์ป่าตามฤดูกาล

คูนเด็กน้อยที่อาศัยกับพ่อแม่ มียี่สุ่นและบุญหลายผู้เป็นน้องสาวอยู่กระท่อมหลังเล็ก แต่พวกเขาก็มีความสุขถึงแม้หมู่บ้านที่เขาอยู่อาศัยทุกวันนี้จะเริ่มเปลี่ยนไปไม่เหมือนแต่ก่อน เพราะเริ่มมีพ่อค้าแม่ค้าเพื่อนบ้านที่เข้ามาค้าขายในหมู่บ้าน ทำให้พวกเด็กๆดูตื่นเต้นกับชาวกุลาและพวกคนเวียดนาม วันหยุดจากการเรียนคูนกับเพื่อนจะพากันไปเล่นในโคกในป่าตามท้องไร่ท้องนาตามประสาเด็กชนบท อาหารการกินอยู่ของพวกเขาคือสัตว์ทีต้องไปหามาจากในป่าเช่นพังพอน นกคุ้ม งูสิง หรือปลาร้าที่เป็นอาหารหลักของชาวบ้านที่หาง่ายที่สุดและสามารถถนอมไว้ได้นาน และเมื่อได้อาหารใดมาชาวบ้านที่อยู่ใกล้กันจึงต้องแบ่งปันอาหารกันอยู่เสมอๆถึงจะอยู่ด้วยกันได้นาน วิถีชีวิตเหล่านี้ดำเนินไปได้ด้วยวิญญาณ ศิลปวัฒนธรรมของชาวอีสาน ที่ส่งผลมาสู่ปัจจุบัน ที่ยังปรากฏให้เห็นคือความชื่อเรื่องผีสางเทวดาที่ชาวบ้านให้ความศรัทธา

เมื่อความแห้งแล้งคืบคลานเข้ามาจนครอบครัวของคูนต้องดิ้นรนออกเดินทางไปยังแม่น้ำชี เพื่อหาปลามาไว้ทำอาหารและแลกข้าวปลาอาหารชาวบ้านเพื่อเก็บไว้กินได้หลายปี เกวียนคือพาหนะในสมัยนั้นที่ใช้สัญจรไปยังต่างๆ เมื่อทุกคนพร้อมเรื่องราวการผจญภัยของคูน ครอบครัว และเพื่อนบ้านก็เริ่มต้นขึ้น เจอเหตุการณ์ต่างๆในระหว่างการเดินทาง สภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และหากินง่ายๆนฉบับของชาวบ้านที่ไปไหนก็ไม่อดตายอย่างแน่นอน เพราะรูจักการใช้ชีวิตเป้นอย่างดี

เสียงน้ำไหลได้ยินแล้วสดชื่นในหัวใจ คูนและรอบครัวดีใจกันยกใหญ่ที่จะได้กินปลาแม่น้ำกันสักที และจะได้เล่นแม่น้ำชีที่เปรียบสายเลือดของชาวอีสานที่คอยไหลเลี้ยงชีวิตริมสองฝั่ง ทุกคนเมื่อลงจากเกวียนก็พากันเรียมอุปกรณ์หาปลา เมื่อได้ปลามาผู้หญิงก็พากันทำอาหารที่เหลือก็ถนอมไว้ทำปลาแห้งบ้าง ปลาร้าบ้าง พวกเด็กๆก็สนุกกับอาหารที่กินได้เต็มที่ พ่อแม่ และเพื่อนบ้านต่างก็มีความสุขที่ได้ออกมาเจอแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์

หลายวันแล้วที่จากบ้านมา ได้เวลาเดินทางกลับบ้าน ผ่านหมู่บ้านใดก็เอาปลาเข้าไปแลกอาหารกับชาวบ้านตามเส้นทางที่ผ่าน เมื่อมาถึงบ้านก็ได้แกจ่ายอาหารที่หามาได้กับเพื่อนบ้าน และไม่กี่วันต่อมาก็มีงานหมอลำที่วัดเป็นปกติที่ชาวอีสานชอบอยู่กับความสนุกสนานจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ทิ้งและแยกออกจากกันไม่ได้ และความเป็นลูกอีสานกับชาวอีสานก็ยังคงดำรงให้ลูกหลานรุ่นต่อไปให้เห็นกันหากทุกคนยังช่วยกันรักษาเอกลักษณ์ความเป็นอีสานไว้ตลอดไป

หมายเลขบันทึก: 624949เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2017 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มีนาคม 2017 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Sexy มากครับชอบเนื้อเรื่องมากๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท