โรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder)


โรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder) เรียกย่อๆ ว่า NPD เป็นหนึ่งใน Personality Disorder ใน Cluster B ชื่อของโรคหลงตัวเองในภาษาอังกฤษมีต้นกำเนิดมาจากเทพนาร์ซิสซัส เทพกรีกที่หลงรูปตัวเองจนต้องถูกสาปให้ตกหลุมรักตัวเอง ซึ่งก็มีส่วนตรงกับอาการของผู้ป่วยโรคหลงตัวเองอยู่ไม่น้อย

แต่ในทางจิตวิทยา โรคหลงตัวเองคืออาการผิดปกติทางจิตที่มีอาการมากไปกว่าแค่หลงใหลในรูปโฉมของตัวเอง ทว่ายังมีเรื่องของความเห็นแก่ตัว ความรู้สึกอยากเป็นที่หนึ่ง อยากเป็นจุดสนใจ หรือความคิดที่ว่าตัวเองทำอะไรก็ไม่ผิด ซึ่งเป็นลักษณะของการถูกบ่มเพาะความคิดมาอย่างผิด ๆ จนนิสัยเหล่านี้ติดตัวมาในตอนโต กระทั่งทำให้เกิดเป็นโรคหลงตัวเองในที่สุด

อาการของโรค

อาจจะมีอาการดังนี้

1. คิดแต่เรื่องของตัวเอง แถมยังชอบพูดถึงตัวเองในแง่ดีบ่อย ๆ

2. ชอบเรียกร้องความสนใจ อยากเป็นคนสำคัญตลอดเวลา

3. คิดว่าตัวเองเป็นบุคคล VIP ฉันนี่แหละสำคัญที่สุดในโลกแล้ว

4. ชอบเพ้อฝันถึงเรื่องเกินจริง มโนแจ่มไปกับสิ่งที่เป็นภาพลวงตา คิดว่าตัวเองเก่งสารพัดอย่าง และต้องได้รับแต่สิ่งดี ๆ

5. อารมณ์แปรปรวน เหวี่ยงวีน และมักจะไม่พอใจอะไรบ่อย ๆ

6. ไม่แคร์ใคร ไม่ใส่ใจความรู้สึกของคนรอบข้าง

7. ต้องการที่จะชนะทุกสิ่งอย่างบนโลกนี้ โดยไม่สนว่าอะไรจะผิดจะถูก คิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่คับฟ้า ทำอะไรก็ได้

8. คิดว่าตัวเองมีแต่คนอิจฉา หรือรู้สึกอิจฉาคนรอบข้างบ่อยครั้ง

9. ต้องการมีอำนาจ ต้องการคำชมเชย และอยากเป็นที่รักของคนอื่นอยู่เสมอ

10. เอาแต่ใจตัวเอง จนไม่แคร์ว่าสิ่งที่ทำจะเป็นการเอารัดเอาเปรียบคนอื่นหรือไม่

11. มักจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง อวดสิ่งที่มีสิ่งที่ได้ หรือเรียกง่าย ๆ ว่ากร่างไปทั่ว

12. คบกับใครไม่ได้นาน อยู่ร่วมกับคนอื่นยาก

13. อ่อนไหวง่าย และมักจะฟูมฟายกับเรื่องที่เสียใจแบบเกินเหตุ

14. ทนไม่ได้กับการถูกวิพากษ์วิจารณ์

15. ไม่ยอมรับความผิดของตัวเอง และมักจะโทษว่าเป็นความผิดของบุคคลอื่นร่ำไป

16. รู้สึกเหมือนตัวเองเหนือกว่าคนอื่น และสามารถจะผลักใครให้พ้นทางก็ได้

17. ชอบที่จะเป็นผู้รับ โดยที่ไม่คิดจะเป็นผู้ให้

จากหนังสือบุคลิกภาพแปรปรวน การประเมินและการรักษา (Personality Disorders Assessment & Treatment) ของ ณหทัย วงศ์ปการันย์ และทินกร วงศ์ปการันย์ พบว่าการกระจายตัวของบุคลิกภาพแปรปรวนในโรคซึมเศร้าในประเทศไทย พบโรค Narcissistic 0 %

จากงานวิจัยบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่ง ของโกวิทย์ นพพร และณรงค์ สุภัทรพันธุ์ ในวารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 28 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2526 พบผู้ที่ป่วยเป็นโรค Narcissistic ในประเทศไทย 1 คน


โปรแกรมการรักษา Narcissistic Personality Disorder

โดยอ้างอิงจากงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ลงใน Association for Psychological Science , Vol.20 , Issue 12, 2009

ผู้ที่ป่วยเป็น Narcissistic มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมก้าวร้าว เมื่อมีสิ่งมาคุกคามต่อ Ego ของพวกเขา {ego threat : threat to a person’s self-image or self-esteem (Leary, Terry, Allen & Tate, 2009)} ซึ่งพฤติกรรมก้าวร้าวถือได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญระดับโลก เด็กจะต้องเผชิญกับความรุนแรงทั้งทางด้านร่างกาย คำพูด และจิตใจ ที่โรงเรียนของพวกเขาในทุกวัน โดยบุคคลที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักจะมี low self-esteem คิดและเชื่อว่าตนเองยิ่งใหญ่กว่าผู้อื่น และหลงตัวเอง

โดยโปรแกรมการรักษาที่ให้ คือ

  • short self-affirmation writing exercise ให้เขียนสิ่งที่ตัวเองให้คุณค่ากับมัน 12 อย่าง เข่น ผลการเรียนที่ดี การเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว จากนั้นเลือกมา 2 ถึง 3 สิ่งที่ให้คุณค่ามากที่สุด และเขียนว่าทำไมสิ่งเหล่านั้นจึงมีคุณค่า และความสำคัญต่อตนเอง ภายในเวลา 15 นาที

และได้ทำการวัดผล 4 ครั้ง คือ

  • วัดพฤติกรรมก้าวร้าว และ Self-Esteem 1 สัปดาห์ ก่อนให้การรักษา (Assessment 1)
  • วัดพฤติกรรมก้าวร้าว และ Self-Esteem 1 สัปดาห์ หลังให้การรักษา (Assessment 2)
  • วัดพฤติกรรมก้าวร้าว และ Self-Esteem 2 สัปดาห์ หลังให้การรักษา (Assessment 3)
  • วัดพฤติกรรมก้าวร้าว และ Self-Esteem 3 สัปดาห์ หลังให้การรักษา (Assessment 4)

โดยการวัด Self-Esteem จะใช้ pictorial scale ซึ่งแบ่งเป็น 9 ระดับ รูปที่เล็กที่สุด หมายถึง ไม่พอใจกับตัวเองในสัปดาห์ที่ผ่านมา และรูปที่ใหญ่ที่สุด หมายถึง พอใจกับตัวเองในสัปดาห์ที่ผ่านมา

วัดพฤติกรรมก้าวร้าว จะวัดโดยให้เด็กนักเรียนวงกลมชื่อของเพื่อนร่วมชั้นที่มี

  • พฤติกรรมก้าวร้าวทางร่างกาย เช่น มีการเตะ ผลัก หรือตีเพื่อนคนอื่นในสัปดาห์ที่ผ่านมา
  • พฤติกรรมก้าวร้าวทางคำพูด เช่น มีการพูดไม่ดีกับเพื่อนคนอื่นในสัปดาห์ที่ผ่านมา
  • มีพฤติกรรมนินทาผู้อื่น กระจายข่าวลือ หรือกีดกันเพื่อนออกจากกลุ่มในสัปดาห์ที่ผ่านมา

จากการศึกษาพบว่า short self-affirmation writing exercise ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ที่ป่วยเป็น Narcissistic และได้ผลดีในช่วงวัยรุ่นตอนต้น เนื่องจากช่วงวัยนี้มีแรงจูงใจในการพัฒนาความเป็นตัวเอง และโปรแกรมการรักษานี้เปิดโอกาศให้เด็กได้สะท้อนถึงสิ่งที่พวกเขาให้คุณค่า และช่วยให้เด็กเห็นว่าชีวิตของตนเองว่ายังมีด้านอื่นๆ ที่สำคัญอีก สิ่งที่มาคุกคามหรือความผิดหวังในบางเรื่องเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด


แหล่งอ้างอิง :

WebMd, และ Psych Central. (2558, ธันวาคม 12). โรคหลงตัวเอง เช็กสิคุณแค่มั่นหน้า หรือมีอาการป่วย. สืบค้นจาก http://shf.medicine.psu.ac.th/narcissistic-symptom-02122015/

Sander Thomaes, Brad J. Bushman, Bram Orobio de Castro, Geoffrey L. Cohen, and Jaap J.A. Denissen. (2009). Reducing Narcissistic Aggression by Buttressing Self-Esteem. Association for Psychological Science, 20 (12), 1536-1542.

หมายเลขบันทึก: 624804เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2017 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2017 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท