Physical Therapy Scope of Practice


การได้เห็นวิธีมองการทำงานที่เราทำอยู่ทุกวันในมุมมองใหม่ๆ นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับฉัน

สองเดือนมานี้มีโอกาสได้เรียนรู้แนวคิดของอาจารย์กายภาพบำบัดเรืองนาม Prof. Andrew Guccioni ซึ่งเป็นคนหนึ่งที่ร่วมเขียน The Guide to Physical Therapy ของ American Physical Therapy Association จากคอร์สออนไลน์ชื่อ Clinical Decision Making นำมาใคร่ครวญและอยากแบ่งปันแลกเปลี่ยนบางประเด็นให้เพื่อนๆร่วมวิชาชีพ รวมทั้งเป็นการทบทวนบทเรียนก่อนสอบด้วย

บทเรียนในวิชานี้เป็น Clinical thinking course ที่มุ่งหมายให้ผู้เรียนเป็น Reflective practitioner ซึ่งหมายถึงนักวิชาชีพที่สามารถวิเคราะห์วิจารณ์การทำงานของตัวเองได้ สะท้อนคิดได้ ว่ามีอะไรที่เราทำถูกหรือทำพลาด เรารู้สิ่งที่เราควรจะรู้หรือเปล่า เรามีทักษะที่ต้องมีเพื่อให้การดูแลที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้หรือไม่ เหล่านี้เป็นคำถามที่เราควรถามตัวเองในฐานะนักวิชาชีพตราบที่เรายังทำอาชีพนี้อยู่ และทำให้เราเห็นภาพใหญ่ของการประกอบวิชาชีพ และเราทำอะไรอยู่ในกลไกขั้นตอนใดของภาพนั้น การทำงานของเราเข้ากันได้กับภาพใหญ่หรือไม่ และตระหนักว่าเราก่อให้เกิดผลกระทบได้เพียงใดในการดูแลผู้ป่วย เนื้อหาของวิชานี้ส่วนใหญ่มาจากหนังสือ The Guide to Physical Therapy 3.0

สำหรับตัวเองแล้วสิ่งที่น่าสนใจมากประเด็นแรกที่อาจารย์พูดถึงคือ Scope of Practice ของนักกายภาพบำบัด อาจารย์ใช้ Disablement Models 3 แบบเป็นกรอบแนวคิดในการอธิบาย โดยลำดับมาตั้งแต่ Nagi’s model ซึ่งทุกคนคงคุ้นเคยดี Istitute of Medicine (IOM) model ที่ขยายความสำคัญของสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพของมนุษย์ และแนวคิดปัจจุบันที่เรากำลังใช้กันคือ ICF model

ใน ICF model เราจะเห็นขอบเขตการทำงานของนักกายภาพบำบัดว่าเน้นหนักอยู่ในแถวกลางของโมเดลโดยหากเรามองการทำงานของเราอยู่ในพื้นที่ระหว่างมุมมองทางการแพทย์(Health condition and structural impairment) กับมุมมองทางสังคม (Social participation) นักกายภาพบำบัดจึงทำงานในขอบเขตตั้งแต่ช่วงปลายๆของการรักษาพยาธิสภาพจนถึงช่วงต้นของการแก้ปัญหาการจำกัดการมีส่วนร่วมทางสังคม โดยมีสาขาความเชี่ยวชาญในระบบร่างกาย 4 ระบบคือ Cardiovascular/Pulmonary, Integumentary, musculoskeletal, และ Neuromuscular และแก้ปัญหาผู้ป่วยในด้าน กาย จิต และสังคม


ในการมองทำงานโดยใช้แนวคิดแบบนี้ จะเห็นว่านักกายภาพบำบัดต้องเห็นภาพตัวเองในการอธิบายการทำงานตั้งแต่เข้าใจโรคและภาวะผิดปกติต่างๆของร่างกาย จนถึงความผิดปกตินั้นมีผลต่อการทำงานต่างๆอย่างไร โดยอาจารย์ Guccione พูดถึงคำถามสำคัญที่นักกายภาพบำบัดต้องถามตัวเองเสมอเมื่อทำงานกับผู้ป่วย ว่า Impairment ที่เราตรวจวัดได้ในผู้ป่วยทุกคนนั้นมีผลต่อ activity limitation ของผู้ป่วยอย่างไร โดยเราต้องตีโจทย์ของทางเดินนี้ให้แตก และอาจารย์ได้จัดวางคำถามนี้ใหม่โดยแนะนำให้เรามองเป็นขั้นตอนย่อยละเอียดขึ้น โดยให้มองไปที่การเกิดความบกพร่องของ Task และ Action ที่นำไปสู่ปัญหา Activity limitation


เช่น ผู้ป่วยคนหนึ่งมี impairment อย่างหนึ่งซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาระดับ action ซึ่งคือการเคลื่อนไหวหลายๆอย่างประกอบกัน เช่น การพลิกตัว การนั่ง การเคลื่อนตัว การยืน การก้ม การเอื้อม การการยก การดึง การดัน และความบกพร่องของ action นั้นมีผลต่อการทำ tasks ซึ่งก็คืองานที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่มีเป้าหมายเฉพาะหรือไม่ เช่น การเคลื่อนตัวจากที่นั่งไปรถเข็น การใช้เท้าถีบของให้ห่างจากตัว ยกแก้วน้ำ ติดกระดุม วางของบนโต๊ะ และการประกอบกันของความบกพร่องในการทำ Tasks เหล่านี้จะทำให้เกิด Activity limitation ในผู้ป่วยทั้งการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน เช่น การทำอาหาร การการขับรถ การทำงานบ้าน

ตัวอย่างการวิเคราะห์เรื่องปัญหาการเดิน (walking Limitation) เช่น

1. ผู้ป่วยมี Impairment คือ Muscle weakness ของ Gluteus medius, quadriceps, tibialis anterior หรือ loss of of ROM เช่น limitation of knee flexion

2. ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำ Actions ได้แก่ standing, stepping, shifting COG

3. จึงทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการทำ Tasks ใน Gait cycle เช่น ไม่สามารถมี Push off. Weight shift, หรือ Heel strike ได้

4. สุดท้ายความบกพร่องที่ส่งผลต่อกันนี้จึงทำให้ผู้ป่วยเกิด Walking limitation

การได้เห็นวิธีมองการทำงานที่เราทำอยู่ทุกวันในมุมมองใหม่ๆ นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับฉัน ยังมีแนวคิดที่น่าสนใจในการเรียนวิชานี้อีกหลายประเด็น แล้วจะนำมาแบ่งปันตามเวลาและโอกาสที่เหมาะสมอีกนะคะ

หมายเลขบันทึก: 624544เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2017 07:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2017 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท