" 2540 " วิกฤตเดือดตลาดหุ้น


"วิกฤตการ์ณ" ในพจนานุกรมได้ให้ความหมายว่า มันคือเหตุการณ์ที่อยู่ในขั้นอันตราย เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อถึงขั้นแตกหัก เช่า การปฎิวัติรัฐประหารก็ถือเป็นวิกฤติการณ์ทางการเมือง เป็นต้น แต่วันนี้เราจะมารับรู้ถึงวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นของเรากันดีกว่าว่าวิกฤตการณ์ไหนที่ร้ายยแรงซึ่งเราควรจะรู้ถึงสาเหตุ และหาวิธีรับมือหากเกิดขึ้นในอนาคตอีก

วิกฤตการ์ณเงินปี 40 หรือ วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ถือเป็นวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ส่งผลกระทบขั้นรุงแรงอย่างมากของประเทศไทย ธุรกิจหลายธุรกิจในช่วงนั้นปิดตัวลงหลายแห่ง ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ต่างต้องทิ้งเป็นโครงการล้างมากมาย เรามารู้ถึงสาเหตุการเกิดวิกฤตการ์ณนี้กันดีกว่าว่ามันมีความเป็นมายังไงและทำไมมันถึงส่งผลกับตลาดหุ้นไทยได้รุนแรงมากมายขนาดนี้ สาเหตุที่สำคัญในการเกิดวิกฤตการ์ณต้มยำกุ้งกันเลยดีกว่า

สาเหตุหลักสำคัญที่ สรุปการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 มีดังนี้

1.การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ในช่วงที่เศรษฐกิจของไทยเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยก็มีการขาดดุลตั้งแต่ปี 2530 และเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี 2539 ประเทศไทยต้องประสบปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดถึง 14,350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกที่หดตัวลง 1.9% จากที่เคยขยายตัวสูงในปีก่อนหน้าถึง 24.82% สะท้อนให้เห็นสถานะรายได้ของประเทศที่พึ่งพาการส่งออกในระดับสูงอันเป็นผลสืบเนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่เนินการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ

2.ปัญหาหนี้ต่างประเทศ การเปิดเสรีทางการเงินเมื่อปี 2532-37 ทำให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศได้สะดวก โดยไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากค่าเงินที่กำหนดไว้ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ผู้กู้ยืมสามารถยืมเงินและคืนเงินกู้ในสกุลเงินตราต่างประเทศได้ใน อัตราดังกล่าว ซึ่งเป็นผลจากการที่ไทยประกาศรับพันธะสัญญาข้อที่ 8 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2533 เพื่อเปิดระบบการเงินของไทยสู่สากล และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2534 ประกาศผ่อนคลายการปริวรรตเงินตราต่างประเทศ เดือนกันยายน 2535 รัฐบาลอนุมัติให้ธนาคารพาณิชย์สามารถจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจไทย(Bangkok International Banking Facilities : BIBF) มีธนาคารพาณิชย์ 46 แห่งได้รับมอบใบอนุญาตให้ดำเนินการได้เมื่อเดือนมีนาคม 2536 ณ ปลายปี 2540 หนี้ต่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นในระดับสูงถึง 109,276 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะหนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่มีสัดส่วนถึง 65% ของหนี้ต่างประเทศรวม และสัดส่วนเงินสำรองต่อหนี้ระยะสั้นอยู่ในระดับต่ำเพียง 70.40%

3.การลงทุนเกินตัว และฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้เติบโตอย่างมากในช่วงปี 2530-2539 ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน สนามกอล์ฟ สวนเกษตร เนื่องจากผู้ประกอบการมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศและระดมทุนในตลาดหลัก ทรัพย์ของประเทศที่กำลังร้อนแรงได้ง่าย เพื่อมาลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ นอกจากนั้นแล้ว ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทำให้เกิดความต้องการเก็งกำไร ซึ่งได้ดึงดูดให้มีผู้เข้ามาลงทุนในธุรกิจอย่างมากจนกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่

4.ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสถาบันการเงิน ปลายปี 2539 เกิดปัญหาความไม่เชื่อมั่นอย่างรุนแรงต่อสถาบันการเงินในประเทศ ทั้งที่เป็นธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนธนกิจทั้งหลาย รัฐบาลสั่งปิดสถาบันการเงินที่เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 18 แห่ง ปิดธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง และกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้สถาบันการเงินเพิ่มทุนอีก 10 แห่ง ในเดือนมีนาคม 2540 รัฐบาลใช้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินซึ่งเป็นหน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าสนับสนุนให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ต่าง ๆ สิ้นเงินไปมากกว่า 6 แสนล้านบาท แต่สุดท้ายต้องสั่งปิด 16 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2540 และปิดอีก 42 บริษัท เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 รวมเป็น 58 สถาบันการเงิน ในช่วงก่อนวิกฤติ กระบวนการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงินเป็นไปอย่างหละหลวม โดยไม่พิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ หรือความสามารถในการชำระเงินคืนอย่างถ่องแท้ การปล่อยสินเชื่อให้แก่พวกพ้องหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง นักการเมืองเป็นไปอย่างกว้างขวาง เมื่อลูกหนี้เริ่มไม่สามารถชำระหนี้ได้ โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีการลงทุนเกินกว่าความต้องการซื้อ ทำให้ธนาคารมีปัญหาสภาพคล่อง หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอลพุ่งขึ้นสูง โดยเอ็นพีแอลสูงสุดที่ 52.3% ของสินเชื่อรวม เมื่อเดือนพฤษภาคม 2542

5.ความไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบาย นโยบายการเปิดให้มีการจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจเมื่อปี 2536 ที่อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี โดยไม่มีการเตรียมความพร้อมหรือการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ยังคงใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อยู่ ทำให้ระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศไม่มีเสถียรภาพปริมาณเงินในระบบได้สูงขึ้นจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ เมื่อแบงก์ชาติพยายามดูดซับสภาพคล่องโดยการขายพันธบัตร ยิ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงอยู่แล้วไม่ลดลง ยิ่งทำให้เกิดมีเงินทุนไหลเข้ามามากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้วมาตรฐานการกำกับดูแลสถาบันการเงินของไทยก็ไม่มีประสิทธิภาพ เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบความหละหลวมของการปล่อยกู้ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว กฎเกณฑ์การกำกับดูแลก็ไม่เข้มงวดเพียงพอที่จะทำให้สถาบันการเงินมีฐานะทาง การเงินที่เข้มแข็ง

6.การโจมตีค่าเงินบาท ปัญหาเศรษฐกิจที่สั่งสมมานานดังกล่าว ทำให้นักลงทุนต่างชาติถือโอกาสโจมตีค่าเงินบาทของไทย ซึ่งเป็นนักลงทุนขนาดใหญ่และนักลงทุนสถาบันที่ระดมทุนมาเก็งกำไรค่าเงินหรือ โจมตีค่าเงินโดยตั้งเป็นกองทุนมีชื่อเรียกว่า Hedge Funds เช่น Quantum Fund ซึ่งดูแลโดย จอร์จ โซรอส และนักเก็งกำไรที่คอยผสมโรงรายอื่นๆ นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศก็เป็นอีกกลุ่มที่แสวงหากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเช่นกัน ในการเก็งกำไรค่าเงินบาทนั้น นักเก็งกำไรอาศัยข้ออ้างจากปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ จากการที่ประเทศขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก และหนี้ระยะสั้นสูงเมื่อเทียบกับเงินสำรองทางการ เพื่อใช้ปล่อยข่าวลือว่าจะมีการลดค่าเงินบาท

โดยจากสาเหตุที่ความไม่มั่นคงและไม่หน้าเชื่อถือของธนาคารแห่งประเทศไทยและค่าเงินบาททำให้เกิดผลกระทบตามมาดังนี้

1. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เข้ามารักษาเสถียรภาพสกุลเงินของ ประเทศอินโดนีเซีย ไทย และเกาหลีใต้ โดยการลงทุน 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะ 3 ประเทศดังกล่าวได้รับผลกระทบมากที่สุด

2. ธุรกิจของเอกชน ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการเงิน บ้านจัดสรร ปิดกิจการ พนักงานถูกปลด มีหนี้เกิดขึ้นมหาศาล จนมีการประท้วงโดยประชาชนส่งผลทำให้พลเอกชวลิตต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2540 และ ประธานาธิบดีซูฮาร์โตของอินโดนีเซียถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 หลังจากครองอำนาจมายาวนานกว่า 30 ปี

3. ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามพยุงค่าเงินบาท โดยใช้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศจนหมด และต้องกู้จาก ไอเอ็มเอฟ จำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐ

และผลกระทบทางงการเงินครั้งใหญ่นี้ก็ยังส่งผลต่อตลาดหุ้นไทยเป็นอย่างมาก

ก่อนที่จะประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ตลาดหุ้นตกต่ำอย่างไม่โงหัวขึ้นเลย เป็นการตีตั๋ว "ขาลง" ขาเดียว มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2539 จากระดับ 1,410.33 จุด ดิ่งลงมาตลอดต่ำสุดที่ระดับ 457.97 จุด ในเดือนมิถุนายน 2540 ลดลง 953 จุด หรือ 67% ภายในระยะเวลา 17 เดือน นับเป็นช่วงที่เลวร้ายที่สุดของตลาดหุ้นไทย เพราะเป็นการตกต่ำที่หนักหน่วงยาวนาน ต่างจากวิกฤตการณ์ทุกครั้งที่ตกต่ำเพียงไม่กี่เดือนก็มักจะฟื้นตัว และเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของไทย เริ่มจากปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงิน จนผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ขาดความเชื่อมั่น ค่าเงินบาทถูกโจมตีอย่างหนัก แบงก์ชาติสู้จนเงินหมดหน้าตัก ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 จึงตัดสินใจปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวแบบ Managed Float รวมทั้งต้องประกาศปิดสถาบันการเงิน 56 แห่งอย่างถาวร ตลาดหุ้นตกต่ำเป็นประวัติการณ์ ดัชนีดิ่งลงไปสู่จุดต่ำสุดที่ระดับ 207 จุดในเดือนกัยยายน 2541 เป็นช่วงขาลงยาวนานที่สุดถึง 33 เดือน นับแต่ต้นปี 2539 ดัชนีปรับตัวลดลง 1,203 จุด คิดการปรับตัวลดลง 85% มูลค่าตลาดรวม (Market Capitalization) ลดลงจาก 3,969,804 ล้านบาท ลดลงเหลือเพียง 759,451 ล้านบาท ความมั่งคั่งของคนไทยหายวับไปต่อหน้าต่อตา 3,210,353 ล้านบาท

และนั้นก็เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นไทยหลังจากเกิดวิกฤตการ์ณต้มยำกุ้ง ที่เป็นผลทำให้เกิดวิกฤตกการณ์ในตลาดหุ้นตามมา

ในปัจจุบันถึงแม้เหตุการณ์นี้จะยังไม่เกิดขึ้นมาอีกแต่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้มีการกำหนดข้อบังคับต่างเพื่อป้องกันการจะเกิดหนี้เสียหรือการเกิดการแกว่งตัวของค่าเงินบาทขั้นรุนแรงอีกนอกจากนี้ทางตัวองค์กรหรือบริษัทเองก็ต้องมีมาตราการการป้องกันความเสียที่เหมาะสมด้วย เช่นการกู้เงินทุนให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ของเงินทุนรวมถึงไม่ควรที่จะเกร็งกำไรในสินทรัพย์จนมากเกินไป นั้นก็เพื่อความปลอดภัยของตัวธุรกิจและองค์กรของคุณเอง

แหล่งที่มา

http://inform-invest.blogspot.com/2014/04/2522.htm...

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E...

http://www.kroobannok.com/24814

หมายเลขบันทึก: 624166เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2017 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2017 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท