7.โมอาย 8. จิงโจ้ 9. สามเหลี่ยมทองคำ 10.แม่น้ำไนล์


โมอายแห่งเกาะอีสเตอร์ ( Moai Easter Island ) รูปปั้นลี้ลับมาได้ยังไง

โมอายแห่งเกาะอีสเตอร์ ( Moai Easter Island )

โมอายแห่ง ราโน ราราคู

เกาะอีสเตอร์ เป็นชื่อของเกาะที่คนจำนวนมากน่าจะเคยได้ยินเรื่องราวของมันผ่านหูมาบ้าง และก็คาดว่าคนเหล่านี้คงจะยังคงสงสัยถึงความลึกลับของชื่อประหลาดๆแห่งนี้กันบ้างละ ว่ามันคืออะไรกันแน่ นอกเหนือจากนี้ยังมีรูปสลักหน้าใหญ่อันแสนลึกลับที่วางเรียงรายกันเป็นแถวบนแถบชายหาด ที่คนส่วนใหญ่ขนานนามกันว่า ” โมอาย ” อีกด้วย

แผนที่บนเกาะอีสเตอร์

สถานที่ตั้งของเกาะอีสเตอร์ อยู่ห่างจากแหล่งชุมชนตาฮิติและชิลีราว 2,000 ไมล์ หากพิจารณาในแผนที่โลกก็จะพบว่า เกาะอีสเตอร์เป็นเพียงเกาะเล็กๆที่ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางมหาสมุทร ส่วนสิ่งปลูกสร้างที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ก็คือ แท่งหินขนาดยักษ์ที่แกะสลักเป็นรูปหน้าคน หรือที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อว่า ‘โมอาย’ แต่เมื่อย้อนความไปในอดีต กลับพบว่าเดิมทีเกาะนี้ไม่ได้ชื่ออีสเตอร์หรอก แต่มีชื่อพื้นเมืองว่า ” Te Pito O Te Henua ” ที่หมายถึง สะดือของโลก (Navel of The World) ต่างหาก แต่หลังจากที่เกาะแห่งนี้ถูกค้นพบโดยชาวตะวันตกที่มาขึ้นฝั่งด้วยเรือที่นี่เมื่อปี 1722 ซึ่งวันนั้นตรงกับวันอีสเตอร์พอดี เกาะแห่งนี้จึงเปลี่ยนชื่อเป็น เกาะอีสเตอร์ นั่นเอง

โมอาย (Moai) เป็นหินรูปปั้นที่มีรูปร่างคล้ายคน โดยรูปปั้นนี้จะมีส่วนศีรษะที่ใหญ่ชัดเจน โมอายที่พบบนเกาะนี้มีมากกว่า 600 ตัว และกระจัดกระจายอยู่ทั่วเกาะอีสเตอร์ ภายในอุทยานแห่งชาติลาปานุย ประเทศชิลี จากการสำรวจ พบว่าโมอายเกือบทั้งหมดถูกแกะสลักมาจากหินก้อนเดียวกัน แต่อาจมีบางตัวจะมีลักษณะที่ต่างออกไปเล็กน้อย กล่าวคือมี Pukau หรือหมวกวางอยู่บนศีรษะ โมอายเกือบทุกก้อนผลิตมาจากเหมืองหินที่ราโน ราราคู (Rano Raraku) ซึ่งที่นั่นเป็นสถานที่แกะสลักโมอาย และพบว่ายังมีโมอายกว่า 400 ตัว ทั้ยังอยู่ในกระบวนการแกะสลัก

การค้นพบรูปปั้นที่ยังอยู่ในระหว่างการแกะสลักนี้ ทำให้มีข้อสันนิษฐานว่า เหมืองหินที่สร้างโมอายขึ้นมาน่าจะถูกทิ้งร้างไปแบบกระทันหัน และพบว่าโมอายเกือบทั้งหมดอยู่ในสภาพล้มนอน ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นฝีมือชาวพื้นเมืองบนเกาะที่จับให้มันล้มลง

เมื่อพิจารณาลักษณะโดยละเอียดของโมอาย จะพบว่า โมอายจะประกอบไปด้วยส่วนหัวขนาดใหญ่ แต่ก็มีโมอายบางตัวที่มีส่วนประกอบของหัวไหล่ แขน และลำตัว ด้วย อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบถึงความหมายและวัตถุประสงค์ของการสร้างโมอายอย่างชัดเจน ทุกอย่างยังคงมีเพียงข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกันไปต่างๆนานา แต่พบว่าข้อสันนิษฐานที่นิยมมากที่สุด ก็คือ รูปปั้นโมอายเหล่านี้ถูกสร้างโดยพวกโพลิเนเชียน (Polynesian) ที่อาศัยอยู่บนเกาะนี้มานานกว่า 1,000 ปีมาแล้ว ทั้งนี้ ที่เชื่อว่าพวกโพลิเนเชียนสร้างโมอายนี้ขึ้นเพื่อ ก็น่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวแทนถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือเป็นบุคคลผู้มีความสำคัญ ณ ยุคสมัยนั้น หรือบางครั้งก็เชื่อกันว่าอาจจะเป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะของแต่ละครอบครัว

จะพบได้ว่าการสร้างโมอาย ที่มีขนาดสูงประมาณ 3.5 เมตร และหนักถึง 20 ตัน นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ต้องลงทุนลงแรง และใช้เวลานานหลายปีจึงจะสร้างสำเร็จ อีกทั้ง ยังต้องเคลื่อนย้ายรูปปั้นที่สร้างเสร็จแล้วไปยังบริเวณที่ต้องการอีกด้วย ปัจจุบัน การขนย้ายโมอายที่หนักและใหญ่เช่นนี้ ยังคงเป็นความลับที่ยังไม่ทราบที่มาอย่างแน่ชัด แม้ว่าจะมีนักวิชาการหลายคนพยายามขุดค้นเพื่อตำนานของชาวเกาะเพื่อสืบหาความเป็นมาเป็นไปของโมอาย แต่ก็ไม่พบความคืบหน้าสักเท่าไรนัก เมื่อนำคำถามนี้ไปถามชาวเกาะวัชราที่ยังคงมีความทรงจำเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเกาะ ก็กลับได้รับคำตอบอย่างน่าแปลกใจว่า “มันเดินกันลงมาเอง” !? เพราะคงไม่มีใครเชื่อว่ารูปสลักขนาดใหญ่มหึมาขนาดนี้ จะถูกชาวบ้านใช้แรงงานลากขนย้ายลงมาด้วยตนเอง และไม่เพียงแต่วิธีการขนย้ายเท่านั้นที่ยังเป็นปริศนา แต่การแกะสลักของชาวโพลิเนเชี่ยนที่สร้างโมอายขึ้นมานี้ ก็ยังไม่ได้รับคำตอบชัดเจนว่าพวกเขาใช้เครื่องมืออะไรในการสรรค์สร้างมันขึ้นมา

โมอายผู้พิทักษ์หมู่เกาะ

มีตำนานของเกาะอีสเตอร์บอกเล่ากันมาว่า หัวหน้าเผ่าหมู่หนึ่งได้พยายามซึ่งสืบเสาะหาทำเลที่ตั้งบ้านหลังใหม่ และในที่สุดเขาก็ได้เลือกหมู่เกาะอีสเตอร์เป็นแหล่งพักพิง หลังจากที่หัวหน้าเผ่าสิ้นใจตายไปแล้ว เกาะแห่งนี้ก็ได้ถูกแบ่งสมบัติให้แก่บรรดาเหล่าลูกชายของเขา และมีการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าเผ่าใหม่ และเมื่อหัวหน้าเผ่าคนใดเสียชีวิตลง ก็จะมีการนำโมอายไปตั้งเป็นสัญลักษณ์ไว้ประจำ ณ สุสาน ด้วยเหตุนี้ ชาวเกาะทั้งหลายจึงเชื่อว่า รูปปั้นโมอายจะคอยพิทักษ์รักษาจิตวิญญาณของหัวหน้าเผ่าที่เสียชีวิตไปแล้วเอาไว้ และจะช่วยนำเอาสิ่งดีๆ เช่น ฝนตกตามฤดูกาล พืชพรรณธัญญาหารสมบูรณ์ เป็นต้น กลับมาสู่เกาะอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ตำนานที่เล่ากันมานี้อาจมีการบิดเบือนไปจากความจริงได้บ้าง เนื่องจากเป็นการเล่าที่สืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานมากแล้ว

การไขปริศนาของโมอายที่แท้จริงจาก UBC ช่อง History

เป็นที่สรุปออกมาแล้วว่า โมอายกว่า 900 ตัว ที่ถูกค้นพบบนเกาะอีสเตอร์ เป็นฝีมือการประดิษฐ์ของมนุษย์ชาวโพลิเนเชียนนั่นเองเอง เนื่องจากหลักฐานระบุว่า ที่บนเกาะแห่งนั้นมีเหมืองหินขนาดใหญ่อยู่แล้ว การแกะสลักโมอายทั้งหมดจึงใช้วัตถุดิบจากหินภูเขาไฟซึ่งมีความแข็งและคมกว่าหินภายในเหมืองหิน มาเป็นเครื่องมือในการแกะสลันั่นเอง

เหตุใดอารยธรรมของพวกเขาเหล่านี้จึงสาปสูญไป ??

เหตุผลที่อารยธรรมของพวกเขาเหล่านี้สาปสูญไป ก็เป็นเพราะพวกเขาได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่บนเกาะจนหมดสิ้นไปแล้ว จากเดิมเป็นเกาะแห่งนี้เคยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ที่คอยกำบังแดดร้อนให้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เมื่อมรัพยากรสิ้นสุดลง ทำให้พวกเขาจำเป็นต้องไปหลบแดดอยู่ภายในถ้ำ นอกจากนี้ นักประวัติศาสตร์ยังพบอีกด้วยว่า บนเกาะแห่งนี้ได้เกิดสงครามเพื่อแย่งชิงอำนาจการปกครองบนเกาะกัน รวมไปถึงมีการใช้สิทธิขาดในการใช้ทรัพยากร ย่างไรก็ตาม พวกเขาก็พยายามหาทางแก้ไขความขัดแย้งครั้งนี้ โดยการจัดการแข่งขัน ‘มนุษย์นกขึ้น’ (Birdman) ซึ่งการแข่งขันแบบสุดหฤโหดนี้จะคัดเลือกตัวแทนของแต่ละเผ่าที่เก่งที่สุดออกมา และจะมาวิ่งแข่งลงจากหน้าผาที่สูงชันถึง 1000 ฟุต ต่อด้วยการว่ายน้ำฝ่าฝูงฉลามไปยังเกาะนกนางนวล จากนั้น ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกหยิบไข่นกนางนวลกลับมา ก่อนจะว่ายน้ำกลับมาเพื่อนำไข่ไปให้แก่ผู้นำของตนเอง หากเผ่าใดสามารถชนะการแข่งขันครั้งนี้ได้ หัวหน้าเผ่าเหล่านั้นก็จะเป็นผู้นำที่สามารถใช้สิทธิอันเด็ดขาด และมีอำนาจสูงสุดในการปกครองเกาะแห่งนี้ไปอีก 1 ปี พอครบปี ก็จะมีการคัดเลือกผู้นำเกาะคนใหม่ขึ้นมาแทน

เหตุผลที่โมอายได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก

เมื่อปี พ.ศ. 2533 โมอายได้ถูกรับเลือกให้เป็นมรดกโลก ด้วยเหตุผลสำคัญดังนี้ ได้แก่

1. โมอายถือเป็นตัวแทนผลงานชิ้นเอกที่ถูกสร้างขึ้นจากการสร้างสรรค์อันแสนชาญฉลาด
2. โมอายเป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ยังคงปรากฏให้คนทั่วโลกได้เห็นและสัมผัสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
3. โมอายเป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ รวมไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม อันบ่งบอกถึงกรรมวิธีการก่อสร้าง หรือการลงหลักปักฐานของมนุษย์ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่เสื่อมสลายได้ง่ายจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมตามช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ถือเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ใช้เรียนรู้เพื่ออนาคตได้เป็นอย่างดี


จิงโจ้

หากถามหาว่าเจ้าสัตว์น้อยน่ารักที่ชอบกระโดดเพราะไปได้เร็วและไกลกว่าการเดิน แน่นอนทุก คนรู้ว่าคือ “จิงโจ้” และหากถามต่อว่า “เราจะไปหาเจ้าจิงโจ้นี้แบบตัวเป็น ๆ ได้ที่ไหน? “ คำตอบคือ “ประเทศออสเตรเลีย”แต่ใครจะทราบบ้างว่าเจ้าจิงโจ้นี้นอกจากน่าตาจะน่ารักน่าเอ็นดูชวนให้เราหัวเราะ ขบขันในหลาย ๆ อริยาบถนั้น แท้จริงซ่อนความน่ารู้มากมายทำไมจิงโจ้จึง เป็นทั้ง ตราสัญลักลักษณ์ของ ชาวออสซ่ี ประเทศออสเตรเลีย และเป็นสัตว์เศรษฐกิจสร้างมูลค่ามหาศาลทีเดียว



“จิงโจ้” โดดเด่นยังไงบ้างหนอ ??
เจ้าจิงโจ้ สัตว์น้อยน่ารักเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกระเป๋าหน้าท้องที่ใหญ่ที่สุดในโลก ( พันธุ์ที่ ใหญ่ที่สุดคือ Red Kangaroo สูงกว่า 2 เมตร หนักเกือบ 100 กิโล ) การเดินของจิงโจ้ถือเป็นเรื่องที่ลำบาก แต่การกระโดดกลับเป็นการเคลื่อนที่โดยปกติและธรรมดาสุด ๆ จิงโจ้เดินถอยหลังไม่ได้และมันยังกระโดด ได้สูง ถึง 3 เมตร เร็วและไกลเฉลี่ยประมาณ 20 — 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีหางที่ยาวและแข็งแรงมีวิธี ป้องกันตัวโดยการเตะต่อย

“แล้วทำไมจิงโจ้ถึงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศออสเตรเลีย?”
“จิงโจ้” เป็นสัตว์พื้นถิ่นของประเทศออสเตรเลีย อาศัยอยู่มาก่อนที่จะค้นพบทวีปนี้เสียอีก มันจะ กระจัดกระจายอยู่ในแทบทุกพื้นที่ของประเทศตั้งแต่ป่าฝนที่มีอากาศหนาวเย็นไปจนถึงทุ่งหญ้าแบบทะเลทรายและในพื้นที่เขตร้อน ตามตำนานเล่าต่อกันมาว่า กัปตันเจมส์ คุก ได้เดินทางมาสำรวจยุโรปและพบ เจ้าสัตว์นี้กระโดดย๋องแย๋งอยู่จึงถาม Guugu Yimidhirr ชาวพื้นเมือง( Aborrigine ) ว่าคืออะไร แต่ด้วยไม่ เข้าใจภาษาอังกฤษก็ตอบไปว่า “ gunggurru” ซึ่งแปลว่า ฉันไม่เข้าใจคุณกัปตันคุกก็เข้าใจว่าเจ้าตัวนี้มีชื่อ ว่าเช่นนั้นจิงโจ้จึงถูกเรียกว่า “ Kangaroo” แต่นั้นมา

จริง ๆ แล้วจิงโจ้ในออสเตรเลียมีประมาณ 60 สายพันธุ์ รวมแล้วราว ๆ เกือบร้อยล้านตัว ซึ่งเป็นที่ มาว่าทำไมถึงหาดูจิงโจ้ในออสเตรเลียได้ง่ายดาย ทำให้กลายเป็นตราสัญลักษณ์ของออสเตรเลียที่เป็น ที่รู้จักทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นตราประจำตระกูล บนหน้าธนบัตร แม้แต่สายการบินอันโด่งดัง Qantas จึงไม่ แปลกที่แทบจะทุกอย่างในออสเตรเลียจะมีจิงโจ้ร่วมอยู่เสมอ

นอกจากภาพความน่ารักที่มีลูกน้อยอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องของแม่แล้ว โดยแท้จริง“จิงโจ้”จัด ได้ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สามารถสร้างมูลค่าได้มหาศาลตั้งแต่การรับประทานเนื้อไปกระทั่งการแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

“อาชีพนักล่าจิงโจ”้เป็นอีกอาชีพหนึ่งของชาวออสเตรเลีย แต่!! ไม่ใช่ใครก็เป็นได้ต้องเป็นผู้ที่ผ่าน การทดสอบต่าง ๆ ทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการล่ามากว่า 30 อย่าง อาทิ กฎหมายข้อบังคับในการล่า โรค ที่อาจเกิดจากจิงโจ้ แม้กระทั่งความสะอาดของรถที่ใช้ใน การล่า เป็นต้น และต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาต จากรัฐบาลเท่านั้น เพราะการล่าจิงโจ้จะถูกกำหนดเป็นจำนวนโควต้าพื้นฐานจากจำนวนประชากรจิงโจ้ ทั้งหมดที่สำรวจเป็นประจำทุกปี เพื่อรักษาสมดุลของจำนวนจิงโจ้ในธรรมชาติไว้ ซึ่งโดยเฉลี่ยนแล้วในแต่ ละปีจะมีการล่าจิงโจ้เพื่อการค้าประมาณ 10 -15 %

สำหรับคนที่เลือกกินเนื้อจิงโจ้นั้น แม้แต่พ่อครัวก็บอกว่าจัดเป็นเนื้อชั้นเลิศในบรรดาเนื้อสัตว์ป่าทั้ง หมด นอกจากเรื่องของรสชาติแล้วเนื้อจิงโจ้ยังมีความบางเป็นพิเศษ มีไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่น้อยมาก คือน้อยกว่า 2% จึงเหมาะกับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพหรือผู้ที่ควบคุมน้ำหนักและอุดมไปด้วยโปรตีน สังกะสีและ เหล็ก

นอกจากนี้ หนังและขนของจิงโจ้ยังถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย แถมยังมี คุณสมบัติเฉพาะที่สร้างความโดดเด่นและเพิ่มมูลค่ามากอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแรงทนทานน้ำ หนักเบาซึ่งถือเป็นที่สุดของหนังที่ดี ดังนั้นหนังจิงโจ้จึงถูกนำไปผลิต เป็นรองเท้าใส่สบาย ๆ ทั่วไป หรือผลิต เป็นรองเท้าคอมแบตสำหรับทหารและผู้ชื่นชอบการเดินป่า ไม่เว้นแม้แต่กระเป๋า ถุงมือ อุปกรณ์กีฬา แต่ที่ นิยมทำมากที่สุด คือ รองท้าเตะฟุตบอล

จะเห็นได้ว่า “จิงโจ้” สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับออสเตรเลียได้เป็นจำนวนมาก แต่่ไม่ว่าจิงโจ้ใน ออสเตรเลียจะมีมากมายแค่ไหนก็ตามรัฐบาลออสเตรเลียยังได้ออกมาตราการหรือกฎหมายควบคุม เพื่อ ความเป็นระเบียบและอนุรักษณ์ให้ “จิงโจ้” ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของชาวออสซี่ ประเทศออสเตรเลีย ไปอีก นานหรือตลอดไป


สามเหลี่ยมทองคำ ความทรงจำจากแดนฝิ่นสู่ถิ่นฝันริมฝั่งโขง



ภาพจำที่มีต่อ สามเหลี่ยมทองคำ เมื่อหลายสิบปีก่อนคงยากจะปฏิเสธว่า พื้นที่รอยต่อชายแดนระหว่างสามประเทศซึ่งได้แก่ ไทย ลาว และพม่า เคยขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองหลวงแห่งการปลูกฝิ่นเพื่อใช้ในการผลิตยาเสพติดหลาก หลายประเภท และยังเป็นต้นทางสำคัญในการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ประดุจปีศาจไปยังซอกมุมต่างๆ ของโลกอีกด้วย แต่ถึงแม้ว่าชื่อเรียกจะฟังดูมีความหมายไปในทางที่ดีก็จริงอยู่ ทว่าทราบหรือไม่ว่าที่มาของชื่อ“สามเหลี่ยมทองคำ” นั้น มาจากความมั่งคั่งของทองคำที่ใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนกับฝิ่นดิบที่มีลักษณะเป็นยางเหนียวข้นหรืออีกชื่อเรียกคือ ทองดำ ในปริมาณน้ำหนักเท่าๆ กัน หลายครั้งทองคำที่นำมาใช้แลกฝิ่นนั้นกลับถูกยัดไส้ด้วยของปลอม จึงต้องผ่าพิสูจน์เพื่อความแน่ใจกันก่อนที่จะสามารถตกลงกันได้ และแน่นอนว่าเรื่องราวด้านลบที่เคยเกิดขึ้นนั้น ปัจจุบันได้เลือนหายไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงและถูกแทนที่ด้วยสิ่งใหม่ กระทั่งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันมากเรื่องราวและชวนค้นหาไปในที่สุด
ทั้งนี้ด้วยลักษณะภูมิประเทศในบริเวณดังกล่าวนั้น มีแม่น้ำโขงซึ่งไหลมาบรรจบกับแม่น้ำรวกที่ไหลมาจากพม่าจึงทำให้ทั้ง 3 ประเทศมีเส้นอาณาเขตธรรมชาติที่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลากั้นอยู่ เมื่อนักท่องเที่ยวได้มายืนอยู่ตรงจุดนี้ก็สามารถมองข้ามไปยังประเทศเพื่อน บ้าน ทั้งพม่าซึ่งตั้งอยู่ฝั่งซ้ายและประเทศลาวทางขวามือได้ค่อนข้างชัดเจน แต่ก่อนอื่นเลยเราน่าจะไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่าง พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน หรือพระพุทธนวล้านตื้อ ลือโลก ซึ่งทำด้วยทองสัมฤทธิ์ขนาดหน้าตักกว้าง 10 เมตร ความสูงถึง 15 เมตร ประดิษฐานกลางแจ้งบนเรือแก้วกุศลธรรม สร้างขึ้นเพื่อทดแทนพระองค์เดิมที่จมแม่น้ำโขงลงไป จากนั้นจะพาไปบริจาคเงินทำบุญที่มีรูปแบบสนุกๆ ด้วยการปล่อยเหรียญให้วิ่งตามท่อเหล็กลงไปยังสะดือพระสังกัจจายน์หยกสีขาว ที่ประดิษฐานอยู่เบื้องล่าง นี่ก็ถือเป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถดึงความสนใจของนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่าง ดี เรียกว่าได้ทั้งบุญพร้อมกับได้ลุ้นไปในตัว แล้วอย่าได้เผลอหย่อนธนบัตรลงไปล่ะ เพราะมันไม่สามารถกลิ้งตัวไปข้างล่างได้ หนำซ้ำยังจะทำให้ท่อเหล็กเกิดตันขึ้นมาจะพาลให้คนข้างหลังอารมณ์เสียขึ้นมา ได้
ส่วนใครที่ยังไม่จุใจกับการขอพรแล้วละก็ ใกล้ๆ กันนั้นยังมี อนุสาวรีย์พระเจ้าแสนภู ให้ได้สักการะพร้อมกับการเดินลอดรูปปั้นช้างที่เชื่อกันว่าจะเป็นการปัดเป่าเคราะห์โศกต่างๆ จากนั้นก็อย่าได้เสียเวลาเชิญขึ้นไปยัง วัดพระธาตุภูเข้า ซึ่งด้านบนนี้สามารถชื่นชมความงามของภูมิประเทศที่เห็นเป็นทิวทัศน์ของขุน เขาวางตัวสลับซับซ้อน ทั้งฝั่งพม่าและลาวพร้อมกับสายน้ำโขงที่ไหลพาดผ่านและคอยหล่อเลี้ยงวิถี ชีวิตผู้คนสองฝั่งมาอย่างช้านาน รวมถึงยังเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่แตกต่างเข้า ไว้ด้วยกันอีกด้วย
ถึงตอนนี้เริ่มมีบางคนอยากจะลองทักทายทำความรู้จักแม่น้ำสายนี้ให้มาก ขึ้น นั่นก็คงไม่มีวิธีใดจะดีไปกว่าการลงเรือล่องชมบรรยากาศริมสายน้ำ นั่งละเลียดสายลมที่พัดมาพร้อมความสุขกันให้อิ่มอกอิ่มใจ ทั้งนี้ก่อนกลับก็ไม่ควรพลาดที่จะแวะไปเยือน หอฝิ่นอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ หรืออีกแห่งก็คือ พิพิธภัณฑ์บ้านหอฝิ่น ที่ดูแลรับผิดชอบโดยเอกชน ซึ่งทั้งสองแห้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลและเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพืชรูปงามแต่แผลงฤทธิ์ร้ายกาจชนิดนี้ไว้อย่างครบถ้วน และเวลาที่เราหมดไปกับบริเวณชายขอบประเทศไทย ณ สามเหลี่ยมทองคำ แห่งนี้บอกได้เลยว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีไม่น้อย ก็ลองนึกดูว่าจากจุดนี้เราสามารถมองเห็นเพื่อนบ้านได้ทีเดียว 2 ประเทศ ถ้าคิดแค่นี้ก็ถือว่าคุ้มแล้ว


- บริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำนักท่องเที่ยวสามารถพักค้างคืนได้ ซึ่งมีโรงแรมหลากหลายขนาดให้เลือกใช้บริการ
- อัตราค่าบริการเรือหางยาวล่องแม่น้ำโขงอยู่ที่ 400 บาท / ลำ และโดยสารได้ไม่เกิน 5 คน
- นอกจากนี้ หากใครสนใจข้ามไปเที่ยวยังตลาดชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งลาวและพม่า ก็สามารถว่าจ้างเรือให้พาไปได้

ที่อยู่ : สามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
GPS : 20.352870, 100.082910
เวลาทำการ : หอฝิ่นอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ
เปิดให้เข้าชม ทุกวันอังคาร-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.30 น.-16.00 น.
สอบถามโทร 053-784-444-6

พิพิธภัณฑ์บ้านฝิ่น
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00 น.-17.00 น. ค่าเข้าชม 20 บาท
สอบถามโทร 053-784-060-2 , 081-724-5294
ช่วงเวลาแนะนำ : ช่วงเช้าตอนพระอาทิตย์ขึ้น หรือช่วงบ่ายแก่ๆ เพราะอากาศไม่ร้อนเกินไป
ไฮไลท์ : สักการะพระพุทธนวตื้อ
พิพิธภัณฑ์ฝิ่น
ล่องเรือแม่น้ำโขง
กิจกรรม : ท่องเที่ยวสำหรับวันพักผ่อน
ถ่ายรูปคู่ซุ้มประตูสามเหลี่ยมทองคำ
ช็อปปิ้ง
นมัสการพระพุทธนวตื้อ
แวะเที่ยวต่างจุดสำคัญต่างๆ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง


รถยนต์ส่วนตัว
จากตัวเมืองเชียงราย สามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 1 หรือ ถนนพหลโยธิน มุ่งหน้าไปทางอำเภอแม่จัน จนเมื่อผ่านอำเภอแม่จันแล้วให้เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1016 (แม่จัน-เชียงแสน) วิ่งไปประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่งก่อนถึงกำแพงเมืองเก่าเชียงแสนจะพบสี่แยกสามารถเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทาง หลวงหมายเลข 1290 และวิ่งต่อไปประมาณ 10 กว่ากิโลเมตร

รถประจำทาง
จากเชียงรายนั่งรถบัสสีเขียวสายเชียงรายเชียงแสนจากสถานีขนส่งเชียงใหม่ จากนั้นต่อรถสองแถวสาย เชียงราย-สบรวก ที่หน้าตลาดเชียงแสน


แม่น้ำไนล์

1. ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์หรืออารยธรรมอียิปต์โบราณก่อกำเนิดบริเวณดินแดนสองฝั่ง แม่น้ำไนล์ ตั้งแต่ปากแม่น้ำไนล์จนไปถึงตอนเหนือของประเทศซูดานในปัจจุบัน

ทิศเหนือ ติดกับ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและคาบสมุทรไซนายอียิป

ทิศตะวันตก ติดกับ ทะเลทรายลิเบียและทะเลทรายซาฮารา

ทิศตะวันออกและทิศใต้ ติดกับทะเลทรายนูเบียและทะเลแดง

จากสภาพภูมิอากาศดังกล่าวจะเห็นว่า บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์เปรียบเสมือนโอเอซิสท่ามกลางทะเลทราย จึงเป็นปราการธรรมชาติป้องกันการรุกรานจากภายนอกได้

สภาพภูมิประเทศของลุ่มแม่น้ำไนล์ก่อนที่จะรวมเป็นปึกแผ่น ได้แบ่งออกเป็นบริเวณลุ่มน้ำออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นบริเวณอียิปต์ล่าง (Lower Egypt) อยู่บริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำไนล์ ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำไนล์แยกเป็นแม่น้ำสาขาที่มีลักษณะเป็นรูปพัด แล้วไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชาวกรีกโบราณเรียก บริเวณนี้ว่า เดลตา และบริเวณอียิปต์บน (Upper Egypt) ได้แก่ บริเวณที่แม่น้ำไนล์ไหลผ่าน หุบเขา เป็นที่ราบแคบๆ ขนาบด้วยหน้าผาที่ลาดกว้างใหญ่ ถัดจากหน้าผา คือ ทะเลทราย ต่อมาเมเนส (Menes) ประมุขแห่งอียิปต์ล่างจึงได้รวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกัน

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอารยธรรมลุ่มน้ำไนล์

2.1 ที่ตั้ง

2.1.1 เนื่องจากหิมะละลายในเขตที่ราบสูงเอธิโอเปีย ทำให้บริเวณแม่น้ำไนล์มีดินตะกอนมาทับถมจึงเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์

2.1.2 มีความได้เปรียบทางธรรมชาติ เนื่องจากประเทศอียิปต์เป็นดินแดนที่ล้อมรอบด้วยทะเลทรายทำให้มีปราการธรรมชาติในการป้องกันศัตรูภายนอก

2.2 ทรัพยากรธรรมชาติ

แม้อียิปต์จะแห้งแล้ง แต่สองฝั่งแม่น้ำไนล์ก็ประกอบด้วยหินแกรนิตและหินทราย ซึ่งใช้ก่อสร้างและพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองด้านสถาปัตยกรรม วัสดุเหล่านี้มีความแข็งแรงคงทนแข็งแรงและช่วยรักษามรดกทางด้านอารยธรรมของอียิปต์ให้ปรากฏแก่ชาวโลกมาจนกระทั่งปัจจุบัน

2.3 ระบบการปกครอง

ชาวอียิปต์ยอมรับอำนาจและเคารพนับถือกษัตริย์ฟาโรห์ดุจเทพเจ้าองค์หนึ่ง จึงมีอำนาจในการปกครองและบริหารอย่างเต็มที่ทั้งด้านการเมืองและศาสนา โดยมีขุนนางเป็นผู้ช่วยในการปกครอง และพระเป็นผู้ช่วยด้านศาสนา ซึ่งการที่พาโรห์มีอำนาจเด็ดขาดทำให้อียิปต์สามารถพัฒนาอารยธรรมของตนได้อย่างเต็มที่

2.4 ภูมิปัญญาของชาวอียิปต์

ชาวอียิปต์สามารถคิดค้นเทคโนโลยีและวิทยาการความเจริญด้านต่างๆเพื่อตอบสนองการดำเนินชีวิต ความเชื่อทางศาสนาและการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่อียิปต์ เช่น ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และฟิสิกส์ ได้ส่งเสริมความเจริญในด้านการก่อสร้างและสถาปัตยกรรม เป็นต้น

3. สมัยอาณาจักรอียิปต์

3.1 สมัยอาณาจักรเก่า มีความเจริญในช่วงประมาณปี 2,700 – 2,200 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นสมัยที่อียิปต์มีความเจริญก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และศิลปกรรม มีการก่อสร้างพีระมิดซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของอารยธรรมอียิปต์

3.2 สมัยอาณาจักรกลาง ฟาโรห์มีอำนาจปกครองอยู่ในช่วงราวปี 2050 – 1652 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยนี้อียิปต์มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านทางวิทยาการและภูมิปัญญามากโดยเฉพาะด้านการชลประทาน จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองของอียิปต์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยเกิดความวุ่นวายภายในประเทศ จนต่างชาติเข้ามารุกรานและปกครองอียิปต์

3.3 สมัยอาณาจักรใหม่ ชาวอียิปต์สามารถขับไล่ชาวต่างชาติ และกลับมาปกครองดินแดนของตนอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงประมาณปี 1567 – 1085 ก่อนคริสต์ศักราช สมัยนี้ฟาโรห์มีอำนาจเด็ดขาดในการปกครองและขยายอาณาเขตเหนือดินแดนใกล้เคียงจนเป็นจักรวรรดิ

3.4 สมัยเสื่อมอำนาจ จักรวรรดิอียิปต์เริ่มเสื่อมอำนาจตั้งแต่ประมาณปี 1,100 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยนี้ชาวต่างชาติ เช่น พวกอัสซีเรียนและพวกเปอร์เซียจากเอเชีย รวมทั้งชนชาติในแอฟริกาได้เข้ามายึดครอง จนกระทั่งเสื่อมสลายในที่สุด

4. ด้านการเมืองการปกครอง

4.1 สมัยอาณาจักรเก่า กษัตริย์หรือฟาโรห์ (Pharaoh) มีอำนาจสูงสุด โดยมีผู้ช่วยในการปกครองคือ ขุนนาง หัวหน้าขุนนางเรียกว่า “วิเซียร์” และมีหน่วยงานย่อย ๆ ในการบริหารประเทศ แต่ละเมืองแต่ละหมู่บ้านมีผู้ปกครองระดับต่าง ๆ ดูแลเป็นลำดับขั้น แต่ละชุมชนถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานให้แก่ทางการซึ่งส่วนใหญ่คือ การสร้างพีระมิดแต่ละอาณาจักรมีอำนาจปกครองเหนือมณฑลต่าง ๆหรือเรียกว่าโนเมส ซึ่งแต่ละโนเมสมีสัญลักษณ์แตกต่างกัน ต่อมามีการรวมกันเป็นอาณาจักรใหญ่ 2 แห่ง คืออียิปต์บนและอียิปต์ล่าง ต่อมาทั้ง 2 อาณาจักรได้ถูกรวมเข้าด้วยกันเกิดราชวงศ์อียิปต์โดยประมุขแห่งอียิปต์ (เมเนสหรือนาร์เมอร์) ความเสื่อมของอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ การสร้างพีระมิดขนาดใหญ่ เป็นการบั่นทอนเศรษฐกิจและแรงงานของอียิปต์ ซึ่งนำความเสื่อมมาสู่ราชวงศ์อียิปต์

4.2 สมัยอาณาจักรกลาง ฟาโรห์เปลี่ยนภาพลักษณ์จากผู้ปกครองที่อยู่ห่างไกลประชาชนมาเป็นผู้ปกป้องประชาชน ลดการสร้างพีระมิด แต่ประชาชนต้องตอบแทนด้วยการทำงานสาธารณะต่าง ๆ เช่น การระบายน้ำในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพื่อช่วยการเกษตร การขุดคลองเชื่อมแม่น้ำไนล์กับทะเลแดงเพื่อการสะดวกในการค้าและขนส่ง

4.3 สมัยอาณาจักรใหม่ฟาโรห์อเมนโฮเตปที่ 4 ทรงเปลี่ยนแปลงความเชื่อในเรื่องการนับถือเทพเจ้าหลายองค์มาเป็นการนับถือเทพเจ้าองค์เดียว คือ เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ขุนนางและประชาชน รัชกาลนี้จึงตกต่ำ แต่เมื่อฟาโรห์ตุตันคาเมนขึ้นครองราชย์จึงเปลี่ยนกลับไปนับถือเทพเจ้าหลายองค์เช่นเดิม ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสต์ศักราช อียิปต์สูญเสียความเข้มแข็ง ชนเผ่าต่าง ๆ สลับกันมีอำนาจปกครองอียิปต์ เช่น อัสซีเรีย ลิเบีย เปอร์เซีย สุดท้ายอียิปต์กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน

อ

ภาพแสดงลักษณะการปกครองและสภาพชนชั้นของอียิปต์

5. ด้านเศรษฐกิจ

อาชีพหลักของชาวอียิปต์ คือ เกษตรกรรม เพราะว่าดินอุดมสมบูรณ์ ทำให้ผลิตอาหารเกินความต้องการ การผลิตทางการเกษตรที่เป็นหลักของอียิปต์ คือ ข้าวสาลี บาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ถั่วฝักยาว ถั่ว ผักและผลไม้ และต่อมาชีวิตที่มั่งคั่งและฟุ่มเฟือยของบางคนนำไปสู่การพัฒนางานหัตถกรรมและอุตสาหกรรม บางส่วนทอผ้า บางส่วนผลิตเครื่องตกแต่ง หม้อ ลินิน และอัญมณี เหล็กและทองแดงมีการถลุง นำมาใช้ในการทำเครื่องมือ แก้ว และเครื่องปั้นดินเผา มีการผลิตทั้งแบบเรียบ ๆ และวาด ทั้งยังมีวิศวกร จิตรกร ประติมากร และสถาปนิกอีกด้วย

อี

ภาพการประกอบอาชีพของชาวอียิปต์

3

ภาพแสดงการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ (สังเกตจากลักษณะสีผิวและการแต่งกาย)

6. ด้านสังคม

เป็นสังคมแบบลำดับชั้น ผู้ปกครองสูงสุด คือ ฟาโรห์ และชนชั้นปกครองอื่น ๆ คือ ขุนนางและนักบวช ชนชั้นรองลงมาคือ พ่อค้าและช่างฝีมือ ชนชั้นล่าง คือ ชาวนา และทาส ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ที่ดินทั้งหมดเป็นของฟาโรห์ สำหรับขุนนางและนักบวชก็ได้ครอบครองที่ดินจำนวนมาก ชาวนาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหรือเมืองเล็กๆ และเสียภาษีเป็นผลผลิตให้ฟาโรห์ ขุนนาง และพระ รวมทั้งต้องถูกเกณฑ์แรงงานไปทำงานให้รัฐ และเป็นทหารสตรีมีบทบาทสูงไม่น้อยกว่าผู้ชาย คือ ให้สถานภาพแก่สตรีสูง ยอมให้สตรีขึ้นครองราชบัลลังก์ได้ มีสิทธิในการมีทรัพย์สินและมรดก ราชินีที่มีชื่อเสียงของอียิปต์ คือ แฮตเชพซุต (Hatchepsut) ซึ่งปกครองในศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราช และทำความงดงามให้กับเมืองคาร์นัก

ชาวอียิปต์ไม่ยอมให้ชายแต่งงานกับสตรีเป็นภรรยามากกว่า 1 คน แม้ว่าการมีเมียน้อยเป็นเรื่อง ปกติและยอมรับทั่วไป ลักษณะที่แปลกของระเบียบสังคมนี้ คือ ชอบให้พี่ชาย-น้องสาวแต่งงานกัน หรือแต่งงานภายในตระกูล ฟาโรห์แต่งงานกับตระกูลของตน เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของสายเลือด ประเพณีนี้ได้มีผู้อื่นนำไปใช้ต่อมา

7. ด้านศาสนา

ชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าหลายองค์ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจธรรมชาติโดยเทพเจ้าที่ได้รับการเคารพสูงสุด คือ เร หรือ รา (Re or Ra) เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ และเป็นหัวหน้าแห่งเทพเจ้าทั้งปวง ซึ่งปรากฏในหลายชื่อและหลายรูปลักษณ์ เช่น ผู้มีร่างกายเป็นมนุษย์ มีหัวเป็นเหยี่ยว และในรูปของมนุษย์คือ ฟาโรห์ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบุตรของเร และมีเทพเจ้าสำคัญองค์อื่น ๆ อีก เช่น เทพเจ้าแห่งแม่น้ำไนล์หรือโอซิริส และยังเป็นผู้พิทักษ์ดวงวิญญาณหลังความตาย เทพเจ้าแห่งพื้นดินหรือไอซิส เป็นผู้สร้างและชุบชีวิตคนตาย เป็นต้น การยกย่องกษัตริย์ให้เทียบเท่าเทพเจ้า ทำให้สถาบันกษัตริย์มีความศักดิ์สิทธิ์ประดุจเป็นเทพเจ้า ความเชื่อนี้มีผลต่อการสร้างอารยธรรมดังเช่น การสร้างพีระมิด

8. ด้านภาษาและวรรณกรรม

ชาวอียิปต์ได้พัฒนาระบบการเขียนที่เรียกว่า เฮียโรกริฟิค (Hieroglyphic) เป็นคำภาษากรีก มี ความหมายว่า การจารึกอันศักดิ์สิทธิ์ เริ่มต้นด้วยการเขียนอักษรภาพแสดงสัญลักษณ์ต่างๆ แล้วค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นรูปแบบพยัญชนะ ในระยะแรก ชาวอียิปต์จารึกเรื่องราวด้วยการแกะสลักอักษรไว้ตามกำแพงและผนังของสิ่งก่อสร้าง เช่น วิหารและพีระมิด ต่อมาจึงค้นพบวิธีการทำกระดาษจากต้นปาปิรุส ทำให้มีการบันทึกแพร่หลายมากขึ้น

7

ตัวอย่างอักษรภาพเฮียโรกริฟิค (Hieroglyphic)

9. ด้านศิลปวิทยาการ

9.1 ด้านดาราศาสตร์

ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์จากการเกิดน้ำท่วมของแม่น้ำไนล์ ซึ่งได้นำความรู้นี้มาคำนวณเป็นปฏิทินแบบสุริยคติที่แบ่งวันออกเป็น 365 วันใน 1 ปี ซึ่งมี 12 เดือน และในรอบ 1 ปี ยังแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล ที่กำหนดตามวิถีการประกอบอาชีพ คือ ฤดูน้ำท่วม ฤดูไถหว่าน และฤดูเก็บเกี่ยว

9.2 ด้านคณิตศาสตร์

ความรู้ทางคณิตศาสตร์และเรขาคณิตที่อียิปต์ให้แก่ชาวโลก เช่น การบวก ลบ และหาร และการคำนวณพื้นที่วงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยม ความรู้ดังกล่าวเป็นฐานของวิชาฟิสิกส์ที่ใช้คำนวณในการก่อสร้างพีระมิด วิหาร และเสาหินขนาดใหญ่

9.3 ด้านการแพทย์

ชาวอียิปต์โบราณมีความรู้ทางการแพทย์สาขาทันตกรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา เช่น กระเพาะอาหาร และศัลยกรรม ซึ่งมีหลักฐานการบันทึก และต่อมาถูกนำไปใช้แพร่หลายในทวีปยุโรป ตลอดจนวิธีเสริมความงามต่าง ๆ เช่น การรักษาริ้วรอยเหี่ยวย่น การใช้ผมมนุษย์ทำวิกผม เป็นต้น

9.4 ด้านสถาปัตยกรรม

เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมอียิปต์ คือ พีระมิดที่บรรจุศพของฟาโรห์ ซึ่งสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ทางศาสนาและอำนาจทางการปกครอง นอกจากพีระมิดแล้ว ยังมีการสร้างวิหารจำนวนมาก เพื่อบูชาเทพเจ้าในแต่ละองค์ และเป็นสุสานของกษัตริย์ เช่น วิหารแห่งเมืองคาร์นัก เป็นต้น

9 10

ภาพสุสานกษัตริย์ของอียิปต์

9.5 ด้านประติมากรรม

ชาวอียิปต์สร้างประติมากรรมไว้จำนวนมากทั้งที่เป็นรูปปั้นและภาพสลักที่ปรากฏในพีระมิดและวิหาร ภาพสลักส่วนใหญ่จะประดับอยู่ในพีระมิดและวิหาร ในพีระมิดมักพบรูปปั้นของฟาโรห์และพระมเหสี รวมทั้งเรื่องราววิถีชีวิตของอียิปต์ ส่วนภายในวิหารมักจะเป็นรูปปั้นสัญลักษณ์ของเทพและสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เช่น สุนัข แมว เหยี่ยว เป็นต้น และภาพสลักที่แสดงเรื่องราวและเหตุการณ์

9.6 ด้านจิตรกรรม

ผลงานด้านจิตรกรรมมีเป็นจำนวนมาก มักพบในพีระมิดและสุสานต่างๆ ภาพวาดของชาวอียิปต์ส่วนใหญ่มีสีสันสดใส มีทั้งภาพสัญลักษณ์ของเทพเจ้าที่ชาวอียิปต์นับถือ พระราชกรณียกิจของฟาโรห์และสมาชิกในราชวงศ์ ภาพบุคคลทั่วไปและภาพที่สะท้อนวิถีชีวิตของชาวอียิปต์ เช่น ภาพการประกอบอาชีพ เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 624064เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2017 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2017 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท