​“แนวคิดของนักศึกษากิจกรรมบำบัดกับการขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยทั้งใน และนอกโรงพยาบาล” ตามความคิดของดิฉัน


สวัสดีค่ะเมื่อพุธวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดการโต้วาทีในคาบเรียนสัมนาวิชาการทางกิจกรรมบำบัดซึ่งจัดขึ้นทั้งหมด 2 รอบด้วยกันค่ะ

รอบแรกในหัวข้อที่ชื่อว่า “OT in community based VS OT in hospital based” เป็นการกล่าวถึงเรื่องของรูปแบบการทำงานของนักกิจกรรมบำบัดในโรงพยาบาล หรือในชุมชนว่าแบบใดที่สามารถทำให้เกิดประโยชน์ในการฟื้นฟูผู้รับบริการได้มากที่สุด ก่อนอื่นมารู้จักความหมายของแต่คำกันก่อนนะคะ

Hospital-based rehabilitation หรือ HBR คือ การฟื้นในโรงพยาบาลทั่วไป โดยมีทีมสหวิชาชีพ มีเครื่องมือ และอุปกรณ์ในการฟื้นฟูผู้รับบริการได้อย่างเต็มศักยภาพ

Community-based rehabilitation หรือ CBR คือ การฟื้นฟูในผู้รับบริการภายในชุมชน โดยมีทีมสหวิชาชีพลงไปตามบ้านของผู้รับบริการเลย เพื่อทำการบำบัด และฟื้นฟูผู้รับบริการ โดยอาจมีการหาอุปกรณ์ เครื่องมือที่หาได้ง่ายจากในชุมชนนำมาเพื่อใช้ในการบำบัด และฟื้นฟู

ซึ่งจากการที่ได้ฟังเพื่อนๆได้ออกมานำเสนอความคิดเกี่ยวกับรูปแบบการทำงานของนักกิจกรรมบำบัดดังกล่าว ก็จะทำให้ดิฉันได้ทราบเห็นถึงข้อดี และข้อเสียของแต่ละรูปแบบ ซึ่งการนำไปใช้นั้นก็ได้ข้อสรุปที่ว่าขึ้นอยู่กับตัวนักกิจกรรมบำบัดเอง ว่าท่านจะเลือกทำงาน และแผนการรักษาในบริบทหรือรูปแบบใด โดยส่วนตัวของดิฉันคิดว่าการที่ให้ผู้รับบริการเข้าถึงการบริการทั้ง 2 รูปแบบเลยถือเป็นการดี เพราะจากที่ดิฉันได้ไปฝึกงาน ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งได้เห็นถึงการทำงานทั้ง 2 รูปแบบ โดยในส่วนของโรงพยาบาล ดิฉันคิดว่าการเจ็บป่วยในระยะแรกนั้นสำคัญมากในการที่จะฟื้นฟูที่นี่ เนื่องจากมีอุปกรณ์ เครื่องมือ และทีมสหวิชาชีพที่ครบในการฟื้นฟูเต็มที่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะกลับบ้าน เพื่อไปสามารถดำเนินชีวิตได้ปกติหรือใกล้เคียงมากที่สุด และในส่วนของชุมชนทางโรงพยาบาลก็จะมีการติดตามผลการรักษา โดยจัดทีมสหวิชาชีพไปเยี่ยมบ้านผู้รับบริการ ทำให้ทราบถึงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่หลังออกจากโรงพยาบาลเช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่าเราสามารถที่จะใช้ทั้ง 2 รูปแบบนำมาบำบัดฟื้นฟูผู้รับบริการของเราได้ประโยชน์มากที่สุด

นอกจากนี้จากการได้อ่านบทความ Occupational identity, occupational competence and occupational settings (environment): Influences on return to work in men living with HIV/AIDS ที่เขียนโดย Braveman B กล่าวถึง การฟื้นฟูกิจกรรมบำบัดในผู้รับบริการ HIV/AIDs มีส่วนช่วยทำให้ผู้รับบริการสามารถเข้าใจในตนเอง และคำนึงถึงบทบาทของผู้รับบริการทั้งในอดีต และปัจจุบัน ให้เห็นถึงความสำคัญในการบำบัด และฟื้นฟู ซึ่งส่งผลผู้รับบริการเกิดความสามารถการรับรู้เข้าใจ และเห็นถึงคุณค่าของบทบาทของตนเอง นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมก็มีส่วนช่วยกระตุ้นความเข้าใจของผู้รับบริการด้วย ถ้าผู้รับบริการได้รับการฟื้นฟูในสภาพแวดล้อมจริงก็ทำให้เขาเกิดความมั่นใจ และกล้าที่จะกลับไปสู่บทบาทที่สำคัญในชีวิตของเขาได้อีกครั้ง

ต่อมารอบสองในหัวข้อที่ชื่อว่า “Blended classroom VS Traditional classroom” เป็นส่วนในรูปแบบการเรียนการสอนในปัจจุบันนี้ ก่อนอื่นมารู้จักกันก่อนว่า 2 แบบคืออะไร

Blended learning คือ การเรียนโดยมีการเน้นรูปแบบสื่อการเรียนออนไลน์ และการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองแทนการเรียนบรรยายทั่วไปเป็นหลัก โดยทั้งนี้มีการเพิ่มชั้นเรียนในเรื่องของการถกประเด็นระหว่างนักศึกษาด้วยกันเอง ซึ่งจะมีอาจารย์คอยกำกับดูแล และตอบคำถามข้อสงสัยของนักศึกษาเมื่อไม่เข้าใจในประเด็นนั้นๆ

Traditional learning คือ การเรียนโดยเน้นการเรียนบรรยายจากผู้สอนเป็นหลัก

จากการที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการถกในประเด็นนี้ โดยส่วนตัวดิฉันคิดว่าการเรียนทั้งสองรูปแบบสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ด้วยกันได้ได้บางรายวิชาจะทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากยิ่ง และยังเป็นแนวทางในการมาขับเคลื่อนสุขภาวะที่ดีขึ้นได้การเผยแพร่ความรู้ และบทบาทของนักกิจกรรมบำบัด โดยการซึ่งปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการศึกษาทางกิจกรรมบำบัด เช่น การศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวพยาธิสภาพของโรคหลอดเลือดสอง พัฒนาการของเด็ก การจัดการความเครียด เป็นต้น เราสามารถหาดูวิธีการจาก youtube โดยมีผู้เชี่ยวชาญต่างๆ มาเผยแพร่ความรู้ประสบการณ์ที่เจอกรณีศึกษาต่างๆ ซึ่งสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการมีส่วนช่วยบำบัด และฟื้นฟูผู้รับบริการ แต่บางเรื่องอาจจะไม่สามารถสอนผ่านรูปแบบออนไลน์ได้ เช่น วิธีการกระตุ้นการกลืน การวิเคราะห์กิจกรรมให้แก่ผู้รับบริการแต่ละคน เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการที่จะเลือกรูปแบบใดก็ขึ้นอยู่กับผู้รับบริการ บริบท และวิธีการบำบัด และฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัด เพื่อก่อให้เกิดสุขภาวะที่ดีต่อผู้รับบริการมากที่สุด

หมายเลขบันทึก: 623206เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท