กิจกรรมบำบัดกับผู้สุงอายุในสถาบัน


จากการจัดกิจกรรมกับผู้สูงอายุที่บ้านพักผู้สูงอายุ คามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ สามพราน

ในการประเมินผู้สูงอายุที่ผมได้รับผิดชอบ

จากการประเมินพบว่า

คุณยายมีอาการข้อไหล่ข้างซ้ายติด กางออกได้เพียงครึ่งหนึ่งของช่วยการเคลื่อนไหว

การรับรู้ความเข้าใจอยู่ในเกณฑ์ปกติ( ระดับ 6) การรับความรู้สึกปกติ

การทำกิจวัตรประจำวันส่วนใหญ่ต้องอาศัยผู้ดูแล สามารถเคลื่อนที่ไปยังที่ต่างๆได้โดยใช้รถเข็น

เคี้ยวอาหารอาหารลำบากเนื่องจากฟันหักหลายซี่ แต่ไม่มีปัญหาด้านการกลืน

กิจกรรมที่ชอบคือ การไปโบสถ์ ออกกำลังกาย และทำอาหาร

แนวทางการจัดการทางกิจกรรมบำบัด

ผมได้แนะนำกิจกรรมเพื่อออกกำลังกำลังข้อต่อ โดยให้มีการคลื่อนไหวจนสุดพิสัย (อยู่ในช่วงที่ไม่มีอาการเจ็บ)

รวมถึงให้ทำกิจกรรมที่ผู้รับบริการชอบ เช่น Brain gym, การทำกิจกรรมกลุ่มแกงบวดฟักทอง

เพื่อให้ผู้สูงอายุได้แสดงออกวึ่งทักษะความสามารถ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้เลือก ตัดสินใจ และแก้ปัญหา

โดยผู้บำบัดคอยช่วยเหลือ ประคับประคองให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมจนสำเร็จได้ออกมาเป็นผลงาน

ผู้บำบัดต้องยอมรับผู้สูงอายุอย่างไม่มีเงื่อนไข สร้างและทำให้เกิดการไว้วางใจที่ดี

จากการสังเกตผ่านการทำกิจกรรมผู้สูงอายุทมีอาการกลัวมีด ไม่กล้าใช้มีดในการหั่นอาหารและไม่กล้าใช้ทัพพีคนอาหารร้อน

สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้สูงอายุโดยเข้าใจผู้สูงอายุหยั่งรู้ รับรู้อารมณ์ เห็นอกเห็นใจ

กลุ่มกิจกรรมบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ

กิจกรรมกลุ่ม (Group activity) คือ การที่บุคคลหลายๆ คน ที่มีจุดมุ่งหมาย ที่คล้ายคลึงกัน มาร่วมปรึกษา ทำกิจกรรมร่วมกัน ขนาดของกลุ่มอาจจะเริ่มตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จนถึงจำนวนประมาณไม่เกิน 12 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่สามารถบำบัดรักษาและดูแลได้ทั่วถึง

วัตถุประสงค์ของการเข้ากลุ่ม

1. เพื่อให้ผู้สูงอายุหาวิธีในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง
2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ๆ ที่ดีกว่าเก่า
3. เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้จักแบบแผนและรูปแบบของการทำงาน หรือกิจกรรม
4. ได้รู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง และมั่นใจตนเอง
5. ส่งเสริมให้มีการแสดงความรู้สึก กล้าแสดงออก
6. ส่งเสริมให้มีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่มสมาชิก

ประโยชน์ของกลุ่มกิจกรรมในแง่ของการรักษา

1. เกิดความหวัง เห็นความสามารถและภาคภูมิใจในตนเอง

2. ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมกับสมาชิกอื่นในกลุ่ม

3. เกิดการพัฒนาทักษะต่างๆ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม และสังคม

ตัวอย่างโปรแกรมการจัดกิจกรรมบำบัดเพื่อผู้สูงอายุ

cognitive stimulation and function group

กิจกรรมการรับรู้รสชาติและการทำอาหารง่ายๆ

เช่น กิจกรรมการทำแซนวิสต์

เป้าหมายในการฝึกคือ

-เพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการ (executive function)

-เพิ่มการทำงานประสานกันระหว่างการรู้คิดและกล้ามเนื้อ (psychomotor)

-เพิ่มการรับรู้ประสาทสัมผัส (sensory)

โดยปรับมีดที่ใช้หั่นส่วนประกอบต่างๆ เป็นมีดพลาสติกเพื่อให้ผู้สูงอายุ(ที่ high self awareness) สามารถทำกิจกรรมได้

ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุรับรู้ความสามารถของตนเอง เกิดทักษะการใช้และจัดการอุปกรณ์


ร่วมกับการออกกำลังกาย เช่น ไทชิ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการรับรู้การมองเห็น การได้ยิน การปฏิบัติตามคำสั่ง และทักษะสังคมได้

โดยจัดกิจกรรมออกกำลังกายเป็นกิจกรรม warm up เพื่อให้ผู้สูงอายุตื่นตัว มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น

ให้กิจกรรมทำแซนวิชเป็นกิจกรรมหลัก

และปิดกลุ่มด้วยการรับประทาน สงบผ่อนคลาย ฝึกหายใจ ฟังเเสียงสะท้อนความรู้สึก และขอบคุณ

ซึ่งเมื่อผู้สูงอายุเกิดกระบวนการเรียนรู้ (relearn) เป็นเวลาอย่างน้อย 21 วันจะช่วยทำให้ผู้สูงอายุเกิดการปรับตัว และสามารถทำกิจกรรม

ที่ต้องใช้ทักษะดังที่กล่าวข้างต้นได้ดีขึ้น ทั้งนี้ต้องมีการฝึกอย่างสม่ำๆเสมอ ผ่านกิจกรรมอื่นๆที่ช่วยในการจัดการกับself awareness ขึ้นอยู่กับ

คาวมสนใจของผู้สูงอายุ และการวิเคราะห์กิจกรรมของผู้บำบัด

หมายเลขบันทึก: 622972เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2017 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2017 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท