แนวคิดของนักศึกษากิจกรรมบำบัดกับการขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยทั้งในและนอกโรงพยาบาล


ความหมายของ Well-being ตาม Oxford dictionary กล่าวไว้ดังนี้"The state of being comfortable, healthy, or happy."

ความหมายของ WHO ได้กล่าวถึงสุขภาพ ดังนี้ "Health is a state of complete physical, mental and social well-being and not merely the absence of disease or infirmity."

ซึ่งการจะมีสุขภาวะที่ดีนั้นจำเป็นต้องอาศัยทั้งปัจจัยทางสุขภาพกายและจิตใจอย่างไม่สามารถแยกส่วนพิจารณาได้ ดังนั้น

การขับเคลื่อนสุขภาวะที่ดีจำเป็นต้องพิจารณาแบบองค์รวมทั้งร่างกายและจิตใจจึงจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ในคาบสัมมนาของนักศึกษากิจกรรมบำบัดมหิดลทำให้ดิฉันมีโอกาสได้โต้วาทีหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมบำบัด

โดยมีหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการบำบัด ดังนี้ "Blended Learning Vs Traditional Learning" และ "Hospital Base

Intervention Vs Community Base Intervention"


การโต้วาทีครั้งนี้ดิฉันและเพื่อนของดิฉันต่างแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายตามคิดเห็นและตามแหล่งข้อมูลที่สืบค้นเพื่อ

นำมาเป็นหลักฐานยืนยันว่าหัวข้อของตนเองนั้นมีเหตุผลที่ดีกว่าในการนำไปปฏิบัติ ดิฉันจึงขออนุญาตยกตัวอย่างการโต้วาที

เล็กๆน้อยในคาบเรียนมาประกอบการเขียนบทความดังนี้


"Blended Learning คือการเรียนแบบผสมผสาน โดยพัฒนาการเรียนเลคเชอร์ในห้องเรียนเปลี่ยนไปเป็นการเรียนแบบ

ออนไลน์ และ พัฒนาผู้เรียนให้เป็น Active Learner มากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบการเรียนแบบดั้งเดิม (Traditional

Learning) จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า ผู้เรียนมีผลการเรียนที่ดีกว่าการเรียนแบบดั้งเดิม หรืออย่างน้อยๆก็มีผลการเรียนที่

เทียบเท่ากัน และยังพบว่ามีประโยชน์ เช่น ผู้เรียนสามารถเรียนได้หลายครั้ง เมื่อไม่เข้าใจสามารถกดพักวิดีโอเพื่ออ่านทบทวน

ก่อนเริ่มบทใหม่ได้ ผู้เรียนมีความยืดหยุ่นในการเรียนมาขึ้นทางด้านของเวลาสามารถจัดแจงเวลาของตนเองเพื่อทำบทบาทอื่นๆ

เพิ่มเติมได้การนำเอาประโยชน์ของเทคโนโลยีมาใฃ้ให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น"

"Traditional Learning เป็นการศึกษาแบบที่นักศึกษาไทยการเรียนแบบไทยคุ้นชิน มีประโยชน์คือ ผู้เรียนกับผู้สอนมีความใกล้

ชิดกัน ผู้สอนสามารถเข้าถึงผู้เรียนได้ง่ายและการที่ตารางเวลาเรียนที่แน่นอนทำให้ผู้เรียนจำเป็นต้องมาเข้าเรียน ทำให้แน่ใจได้ว่า

ผู้เรียนนั้นเข้ามาเรียนอย่างแท้จริง รวมถึงประเทศไทยยังมีเด็กที่ยังเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีซึ่งอาจทำให้เป็นข้อจำกัดในการเข้าถึง

บทเรียนออนไลน์ได้"


นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆในหัวข้อการศึกษาซึ่งเหตุผลที่ต้องนำประเด็นนี้มาพูดคุยคือความต้องการของนักศึกษาที่ต้องการ

พัฒนาคุณภาพทางการศึกษาคนไทยและกิจกรรมบำบัดไทยให้มีความทัดเทียมกับนานาชาติ ซึ่งนักศึกษากำลังจะกลายเป็นส่วน

หนึ่งที่ช่วยส่งเสริมสุขภาวะของคนไทยในอนาคต จึงอยากให้มีการพัฒนาบุคลากรตั้งแต่กระบวนการทางการศึกษาเพื่อก่อให้

เกิดเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่ดีได้ ในหัวข้อนี้การสรุปแนวคิดหลังจากที่แลกเปลี่ยนกันพบว่า การศึกษาไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้

ดีขึ้นแต่การเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องเป็นไปตามบริบทไทยและค่อนเป็นค่อยไป เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

อีกหัวข้อการโต้วาที"Hospital Base Intervention Vs Community Base Intervention" ขออนุญาตยกตัวอย่างดังนี้

"Hospital Base Intervention มีความพร้อมทั้งด้านอุปกรณ์ทางกิจกรรมบำบัดและทีมบุคลากรที่พร้อมจะดูแลรักษาผู้รับบริการ

มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่มากกว่าทั้งด้านการบำบัดและการประเมินทำให้ผลลัพธ์ทางการบำบัดมีผลที่ดีมากกว่า

เนื่องจากการใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐาน รวมถึงการทำงานที่ครอบคลุมผู้รับบริการสามารถได้รับการบำบัดที่หลากหลายด้วยเครื่อง

มือที่มีความพร้อมของสหวิชาชีพ"


"Community Base Intervention สามารถเข้าถึงผู้รับบริการมากกว่าตามสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง สามารถช่วยปรับ

อุปกรณ์ และสภาพบ้านให้ความปลอดภัยได้มากขึ้น รวมถึงการช่วยดัดแปลงประยุกต์สิ่งของภายในบ้านที่มีมาเป็นตัวช่วยในการ

ฝึก ซึ่งการผู้ฝึกรับรู้เห็นปัญหาและอุปสรรคที่แท้จริงของผู้รับบริการจะทำให้ออกแบบวางแผนการบำบัดรักษาได้เหมาะสมกับ

ผู้รับบริการรายบุคคลได้ดียิ่งขึ้น"


ในหัวข้อการบำบัด จะพบว่าแต่ละฝ่ายจะมีข้อดีของตน และการบำบัดของทั้งสองแบบมีข้อดีต่างกัน ในโรงพยาบาลตอบ

โจทย์ในส่วนของระยะที่ผู้รับบริการจำเป็นต้องพักรักษาตัวโรงพยาบาลมีความเสี่ยงทางสุขภาพที่มาก หรือผู้รับบริการที่จำเป็น

ต้องใช้อุปกรณ์ของโรงพยาบาลในการบำบัดเป็นต้น ส่วนการบำบัดในชุมชนนั้นเข้าถึงผู้รับบริการมากกว่า ทั้งในการดูบริบทสภาพ

แวดล้อม ความเป็นอยู่ ทำให้นักศึกษาที่ร่วมฟังได้คิดตามเพื่อเป็นประโยชน์ในการทำงานในอนาคตในการฃ่วยเหลือให้การบำบัด

ผู้รับบริการได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น


การโต้วาทีในห้องเรียนอาจเป็นส่วนเล็กๆที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมบำบัดในกับขับเคลื่อนสุขภาวะของคนไทยทั้งในและนอกโรง

พยาบาล ดิฉันจึงต้องการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีนี้ดังนี้ การขับเคลื่อนสุขภาวะของคนไทยแลดูจะเป็นงานที่ทั้งใหญ่และ

ทั้งยากหากดิฉันจำเป็นต้องทำคนเดียว แต่หากว่ามีการร่วมมือกันหลายๆฝ่ายทั้งผู้รับบริการและทีมบุคลากร เนื่องจากสุขภาวะของ

แต่ละบุคคลนั้นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงซึ่งการให้บำบัดทางกิจกรรมบำบัดในไทยยังเป็นแบบตั้งรับมากกว่านั่นก็คือการ

บำบัดแบบให้ผู้รับบริการเดินทางมาโรงพยาบาล ซึ่งอาจทำให้มีผู้รับบริการบางส่วนไม่ได้รับการบำบัดเท่าที่ควรจะเป็นซึ่งขึ้นกับ

ปัจจัยตามข้อจำกัดของสถานที่และเวลา ซึ่งการเดินทางมาโรงพยาบาลอาจจะไม่ได้สะดวกมากนัก โดยเฉพาะในพื้นที่ทุรกันดาน

หรือ ผู้รับบริการที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการรักษา แต่เนื่องด้วยวิชาชีพกิจกรรมบำบัดยังเป็นวิชาชีพที่ขาดแคลนในไทยการลงพื้น

ที่นั้นทำได้ยากลำบากเนื่องจากจำนวนผู้รับบริการในแต่ละวันในโรงพยาบาลทำให้เป็นโอกาสยากที่นักกิจกรรมบำบัดจะทำงาน

ลงพื้นที่ได้บ่อยครั้ง จะเห็นได้ว่าถ้ามองในมุมของการแก้ปัญหาในเรื่องการบำบัดรักษาจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก หากมองในมุมของ

การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกัน รวมถึงการเผยแพร่ความรู้ให้คนในพื้นที่ช่วยกันดูแลเพื่อลดจำนวนผู้รับบริการที่ต้องเดินทางมา

โรงพยาบาล และเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีได้ด้วยตนเองมากขึ้น นอกจากนี้ อ.ผศ.ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทอง มอบหมายให้อ่านงานวิจัยควบคู่กันคือ

1. "Occupational identity, occupational competence and occupational settings (environment): Influences

on return to work in men living with HIV/AIDS"

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการตรวจสอบและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความพยายามของผู้รับบริการ AIDS กับการสร้างบทบาท

การทำงานใหม่ของการ vocational rehabilitation program รวมถึงหาการเปลี่ยนแปลงของ occupational identity,

occupational competence and perception of occupational settings (environment) โดยสรุปได้ว่า การสร้าง occupational

identity, occupational competence and perception of occupational settings (environment)

มีประโยชน์ต่อการสร้างวิธีในการทำความเข้าใจประสบการณ์ของบุคคลในความพยายามที่จะกลับเข้าสู่บทบาทหลักของชีวิตอีกครั้ง

2."Occupational transformation: Parental influence and social cognition of young adults with autism"

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการสำรวจคุณค่าของความสัมพันธ์ของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลในกลุ่มของการสนับสนุน

occupational performanceในกลุ่มวัยหนุ่มสาวใน SCIT-A programซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับ high functioning autism

งานวิจัยนี้รวบรวมผู้เข้าร่วมเป็นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลและhigh functioning autismในวัยหนุ่มสาว และใช้ Focus group

ในการหาข้อมูล ซึ่งผลงานวิจัยได้ข้อสรุปดังนี้ ความสำคัญของการสนับสนุนของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลการกระตุ้นส่งเสริมการ

เปลี่ยนแปลงของบทบาท

จากที่กล่าวไปข้างต้นการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีจำเป็นต้องทำควบคู่กันทั้งกายและจิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้รับริการที่มีร่างกาย

แต่สภาพจิตใจหรือพฤติกรรมที่แตกต่างหรือผิกปกติจากบุคคลทั่วไปก็จำเป็นที่จะต้องรับการช่วยเหลือ เช่นการให้โอกาสในการทำ

บทบาทที่บุคคลทั่วไปพึงกระทำได้ การทำให้ผู้รับบริการสามารถกิจกรรมดำรงชีวิตให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปัจจุบัน

ผู้รับบริการฝ่ายจิตอาจจะยังได้รับโอกาสจากคนในสังคมมากนัก นักกิจกรรมบำบัดจึงมีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการช่วยค้นหา

สิ่งที่รับบริการสนใจ และพัฒนาศักยภาพให้บุคคลนั้นเป็นบุคคลที่มีความสามารถและพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงเป็นการลดอคติจาก

คนในสังคมที่ไม่ยอมรับผู้รับบริการให้น้อยลงเพื่อให้เกิดสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน


ผู้เขียน : พิมพ์ธิดา วุฒิกิตติ์กานต์กูร นักศึกษากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่ 4

ขอบคุณทุกท่านที่อ่านบทความหากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้

อ้างอิง

1. Loukas, Kathryn M."Occupational transformation: Parental influence and social cognition of young adults with autism". University of New England, Portland, ME, USA | Port Resources, Portland, ME, USA | Department of Occupational Therapy, University of New England, Portland, ME, USA. 2015

2. Braveman,Brent. "Occupational identity, occupational competence and occupational settings (environment): Influences on return to work in men living with HIV/AIDS". Department of Occupational Therapy, University of Illinois at Chicago, Chicago, IL, USA. 2006

หมายเลขบันทึก: 622954เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2017 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท