กิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุ


" รับมือไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ "

นายสมคิด สมศรี อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า รัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี รวมทั้งรองนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และ นายไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวง พม. มีความเป็นห่วงที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราการเกิดที่ลดลง และความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ผู้สูงอายุ มีอายุยืนยาวขึ้น และแนวโน้มของโครงสร้างประชากรวัยสูงอายุในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา มีจำนวนและสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ในปี 2548 จากร้อยละ 10.3 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.8 ในปี 2553 และในปี 2559 มีผู้สูงอายุในประเทศไทย 10,783,380 คน คิดเป็นร้อยละ 16.5 โดยคาดว่าในปี 2564 จะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอีก 20 % และในอีก 10 ปีข้างหน้า ปี 2574 อัตราผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 27 % และในปี 2579 ประเทศไทยเราจะมีผู้สูงอายุสูงถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ และในปี 2583 องค์การสหประชาชาติ (UN) ประเมินไว้ไทยเราจะมีประชากรผู้สูงอายุสูงที่สุดในอาเซียนถึง 33 %

อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กล่าวว่า ต่อไปสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ ทั้งนี้ กลุ่มผู้สูงอายุ จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มติดสังคม มีสุขภาพดี และสามารถอยู่ตามลำพังได้ มีจำนวน 7,961,690 คน คิดเป็นร้อยละ 79.5 กลุ่มติดบ้าน ต้องการผู้ช่วยเหลือ ดูแลในชีวิตประจำวัน มีจำนวน 1,902,795 คน คิดเป็นร้อยละ 19 และ กลุ่มติดเตียง ต้องการการดูแลระยะยาวด้านการแพทย์ รักษาพยาบาล และสวัสดิการสังคม มีจำนวน 150,220 คน คิดเป็นร้อยละ 1.5


ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการดูแลผู้สูงอายุใน 4 มิติ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และ สภาพแวดล้อมและบริการสาธารณะ

1.ด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุต้องการมีงานทำ เพื่อตนเอง ให้เกิดมีรายได้ จากตัวเลขความต้องการผู้สูงอายุ 34.6 % ยังต้องการมีงานทำ มุ่งเน้น 2 ประเด็น คือ การสร้างหลักประกันรายได้สำหรับผู้สูงอายุและประชากรทั่วไป สร้างกลไกการออม ขยายโอกาสการทำงานสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งภาครัฐและเอกชน สนับสนุนให้มีการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเตรียมความพร้อมแรงงานรุ่นใหม่ การพัฒนาคุณภาพแรงงาน

2.ด้านสังคม ผู้สูงอายุต้องอยู่ในสังคมอย่างมีความมั่นคง โดยมีการรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรม ไม่อยู่โดดเดี่ยวอันเป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บป่วย และเศร้าซึม ได้รับการยอมรับจากสังคมเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ผู้สูงอายุต้องได้รับการคุ้มครองด้านสิทธิที่พึงได้จากกฎหมายและต้องมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชน ในการพัฒนาสังคมในด้านต่าง ๆ

3.ด้านสุขภาพ สุขภาพที่ดี ทั้งกาย จิต และปัญญา ทำให้ผู้สูงอายุเกิดสมดุลชีวิต

4. ด้านสิ่งแวดล้อมและบริการสาธารณะ เป็นอีกปัจจัย ที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนที่น่าอยู่ โดยซ่อม/สร้างบ้านให้ผู้สูงอายุ และเมื่อมีสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมดีแล้ว สามารถไปเยี่ยมให้กำลังใจผู้ติดเตียงที่บ้านได้ตลอดจนการบริการสาธารณะที่จะทำเป็นตัวอย่างในกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

จากทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ฉันคิดว่าอาชีพของนักกิจจกรรมบำบัดมีส่วนที่จะช่วยรับมือกับสังคมผู้สูงอายุในไทยได้ เนื่องจากกิจกรรมบำบัดของในปัจจุบันนี้มีการช่วยโปรแกรมก่อนหรือหลังการเกษียนอายุ เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุเตรียมความพร้อมการปรับตัวในการดำเนินชีวิต หรือการเข้าไปมีบทบาทในชมรมผู้สูงอายุ เพื่อไปให้ความรู้ คำแนะนำที่ช่วยให้ผู้สูงอายุรู้จักการป้องกันอันตรายจากกิจกกรรมที่ทำ การเข้าไปช่วยปรับสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมสุขภาพให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุในชุมชนนั้นๆ และยังมีบทบาทในผู้สูงอายุพิการที่อยู่ในชุมชนหรือผู้สูงอายุในสถาบัน รวมไปถึงการเตรียมตัวสู่วาระสุดท้ายแห่งชีวิตนักกิจกรรมบำบัดก็มีบทบาทในส่วนนี้เช่นกัน นอกจากนี้เรายังสามารถให้กิจจกรรมเพื่อพัฒนาความจำ ความเข้าใจหรือทักษะเพิ่มการรับรู้ที่เริ่มเสื่อม รวมไปถึงทักษะการดำรงชีวิตในชีวิตประจำวัน ให้ดูแลตัวเองได้ เข้าสังคมได้ ไม่เป็นภาระของผู้อื่น แต่ใน ณ ปัจจุบันนี้เรายังมีนักกิจกกรมบำบัดไม่เพียงพอต่อความต้องการ ถ้าเกิดเรามีนักกิจกรรมบำบัดมากพอที่จะกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ เข้าถึงชุมชนมากขึ้น เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำและการบริการได้อย่างทั่วถึงก็จะทำให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกมาก


อ้างอิงจาก

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมคุณภาพ

กรมกิจการผู้สูงอายุ

หมายเลขบันทึก: 622871เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2017 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2017 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท