กิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุ






ในปัจจุบันประเทศไทยได้จ่อคิวรอเข้าสู่ช่วงของ”สังคมผู้สูงอายุ” กระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลว่าในปี 2568 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว มีผู้สูงอายุ 14 ล้านกว่าคน ผลสำรวจล่าสุด มีผู้สูงอายุกว่า 1 ล้านคนที่สุขภาพไม่ดี นอนติดเตียง ต้องพึ่งคนอื่น ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้จะช่วยทำให้การมีอายุยืนยาวมีความสุขทั้งทางกาย ใจ และอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม กล่าวคือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงอายุ



การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ

  • ด้านร่างกาย

ธรรมชาติของมนุษย์เมื่อมีอายุมากขึ้น ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงไป ผู้สูงอายุความเสื่อมของร่างกายจะมีมากกว่าความเจริญ ทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายทั่วไป อ่อนแอและเกิดโรคง่าย ปัญหาที่พบได้บ่อยๆ ในผู้สูงอายุ เช่น กระดูกหักง่าย สายตาไม่ดี หูตึง ฟันไม่ดี เป็นลมบ่อย เรอบ่อย ท้องผูก อาจเป็นเบาหวาน หูรูดเสื่อม หลงลืมบ่อย หัวใจและหลอดเลือด ปัญหาอารมณ์



  • ด้านสังคม

ไม่ได้รับการยกย่องจากสังคมเหมือนเดิม ไม่ได้รับความเอาใจใส่ และความอบอุ่นจากลูกหลานอย่างเพียงพอ ทำให้รู้สึกว้าเหว่ อ้างว้าง และอาจจะมีความวิตกกังวลต่างๆ ไม่มีโอกาสได้รับความรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง ให้เหมาะสมกับวัย และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อให้เข้ากันได้กับเยาวชนรุ่นใหม่




เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณค่า นักกิจกรรมบำบัดจึงมีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้ตัวผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี





กิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุ


นักกิจกรรมบำบัดมีหน้าที่ ป้องกัน สร้างเสริม และฟื้นฟูสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยการให้ความรู้และข้อแนะนำต่างๆ รวมถึงการฝึกกิจวัตรประจำวัน ออกแบบ ประดิษฐ์ ดัดแปลงอุปกรณ์เครื่องช่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน ให้กิจกรรมการรักษาเพื่อพัฒนาความจำ การพัฒนาความรู้ความเข้าใจ พัฒนาทักษะการรับรู้ที่เสื่อมถอยไป เสนอแนะการจัดโปรแกรมที่เหมาะสม เพื่อสมดุลในชีวิตประจำวัน ให้การรักษาเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ความแข็งแรงทนทานและสมดุลในการเคลื่อนไหว ดูแลทักษะการดำรงชีวิตอย่างเป็นอิสระ ไม่เป็นภาระต่อผู้อื่น ในเรื่องการจัดการดูแลตนเอง การเข้าสังคม การใช้พลังงานร่างกายอย่างประหยัดในการทำงาน ป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพที่ดี


ทั้งนี้วิธีการบำบัดรักษาต้องใช้วิธีการในการดูแลรักษาประเมินปัญหาของผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป ตามความเหมาะสม




ขอบเขตงานทางกิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุ


สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้


1. โปรแกรมก่อน/หลังการเกษียณอายุ

วัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมก่อน/หลังการเกษียณอายุ คือการช่วยให้ผู้สูงอายุปรับตัวให้มีการใช้เวลาอย่างมีจุดมุ่งหมายและเป็นการส่งเสริมสุขภาพ

มีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

- การค้นหาความจริง เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าใจรูปแบบการทำกิจกรรมของตนเอง

- การประเมิน เป็นการประเมินกิจกรรมแต่ละกิจกรรมโดยผู้สูงอายุ ว่ากิจกรรมแต่ละกิจกรรมนั้นๆมีคุณค่า ความหมายอย่างไรต่อผู้สูงอายุ และรูปแบบการทำกิจกรรมทั้งหมด

- การหาทางเลือกอื่นๆ เป็นการสำรวจกิจกรรมหลายๆรูปแบบที่อาจมาแทนกิจกรรมที่ต้องหยุดทำไป หรือเพิ่มเติมในช่วงเวลาที่มีมากขึ้น

- การเลือกกิจกรรมและวางกลยุทธ์ในการปรับรูปแบบการำดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ

- การส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีการใช้เวลา

อย่างมีจุดมุ่งหมายและเป็นการส่งเสริมสุขภาพตามที่ได้วางแผนไว้



2. ชมรมผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนมักจะมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือชมรมต่างๆเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันโดยเฉพาะกิจกรรมทางสังคม

นักกิจกรรมบำบัดจะมีบทบาทในการให้ความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์ในการป้องกันอันตรายในการทำกิจกรรม การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม และการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งบทบาทเหล่านี้จะมีการปรับเปลี่ยนไปให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนนั้น รวมถึงปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนด้วย


3. ผู้สูงอายุพิการที่อยู่ในชุมชน


4. ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถาบัน


5. การเตรียมตัวสู่วาระสุดท้ายแห่งชีวิต





อ้างอิง

ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ

ปัญหาด้านสังคมของผู้สูงอายุ

ข่าว

OTคือ

ขอบเขตงานOTในผู้สูงอายุ

หมายเลขบันทึก: 622799เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2017 03:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2017 04:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท