ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก:กรณีศึกษาแนวทางการศึกษาเกษตรอินทรีย์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน(ครั้งที่1)


ศูนย์การเรียนรู้ไร่นาส่วนผสม

จากการที่ได้ลงพื้นที่การศึกษาทำให้ทราบเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์และการปลูกไร่นาส่วนผสมซึ่งศูนย์นี้มีตัวอย่างการเพาะกล้า เลี้ยงสัตว์ต่างๆ ปลูกพืชผักปลอดสารต่างๆ ทำไร่ข้าวโพดฝักอ่อน ทำไร่อ้อย ทำสวนผลไม้ บ่อปลา สวนดอกไม้ นาข้าว และผักสวนครัวลัษณะที่ชาวชุมชนตำบลสวนป่าน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมมีลักษณะความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพคล้ายคลึงกันมาตั้งแต่ในอดีต คือประชากรทำการเกษตรแบบพึ่งตนเอง มีความเรียบง่าย ใช้แรงงานคนและสัตว์เป็นหลักใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์และอินทรียวัตถุจากธรรมชาติมีความรักในผืนป่าของตัวเอง อาหารการกินก็สามารถเก็บหาได้จากดิน น้ำ ป่า ธรรมชาติหามาก็ได้แบ่งกันกิน

คณะผู้วิจัยสัมภาษณ์ประวัติของพื้นที่ : ภาพโดยปราโมทย์

ประวัติความเป็นมาและที่ตั้ง

ศูนย์การเรียนรู้ไร่นาส่วนผสม ตั้งอยู่ที่หัวหน้า บ้านเลขที่ 42/1 หมู่5 ตำบลสวนป่าน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐมตำบล มีผู้เฒ่าเก่าแก่เล่าว่า เมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ ชาวตำบลสวนป่านมีอาชีพด้านการทำนา เลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลัก ต่อมาประสบปัญหาแห้งแล้งหลายปีติดต่อกันไม่สามารถทำนาได้จึงปล่อยทิ้ง ทำให้มีต้นป่านขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงไปเก็บมาทำเชือกสำหรับล่ามสัตว์ประเภท โค กระบือ ม้า ฯลฯ จนชาวบ้านตั้งชื่อว่าตำบลสวนป่านมาจนทุกวันนี้


เดินสำรวจการเลี้ยงสัตว์ : ภาพโดยรภัทภร

อาณาเขต

สวนป่านเป็นตำบลหนึ่งในจำนวน ๒๔ ตำบล ของอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนครปฐมไปตามถนนเพชรเกษม สายนครปฐม – ราชบุรี ประมาณ ๑๗ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๕,๑๔๐ ไร่ หรือ ๘.๒๕ ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ดินและน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ไม่มีภูเขา ป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลหนองอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบางแพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลสระกะเทียม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

สถิติประชากร

ตำบลสวนป่านมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น ๓,๓๖๘ คน

ชาย ๑,๖๑๐ คน

หญิง ๑,๗๕๘ คน

มีความหนาแน่นเฉลี่ย ๔๐๘ คน


ประวัติของกลุ่ม

เริ่มต้นโดยครอบครัวเราทำการเกษตรมาก่อนและช่วงหลังๆระยะ10ปีที่ผ่านมาเราก็เริ่มก่อตัวทำกลุ่มกันเพื่อว่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ใครมีประสบปัญหาก็มาพูดคุยกันว่าใครปลูกข้าวโพดเป็นโรคอะไรบ้าง ก็ไปได้ดี ก็ทำกลุ่มเกษตรกรตลอด แล้วหาตลาดพอดีไปติดต่อโรงงานของ UFCได้แล้วเราก็รวบรวมผลผลิตส่งUFC ทำกันเป็นกลุ่มต่อมาเราก็เลี้ยงวัว ปลุกข้าวโพดฝักอ่อนเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ก็คือ ปลูกข้าวโพด ขายเนื้อ เอาเปลือกวัวกินได้เพื่อลดต้นทุนลง


ป้ายศูนย์การเรียนรู้ : ภาพโดยรภัทภร


ป้าสุนีย์กล่าวถึงปลาที่อยู่ในบ่อปลา : ภาพโดยรภัทภร

เราก็จะส่งเสริมให้สมาชิกปลูกผักทุกอย่างที่เรากินได้ ในครอบครัวมาบริโภคเพื่อลดการใช้จ่าย และปลูกผักปลอดสาร ผักที่ไม่ฉีดยาเราก็มากินกันเอง เพื่อว่าร่างกายสุขภาพจะได้ไม่มีโรคมีภัย อีกอย่างหนึ่ถ้าเหลือเราก็จำหน่าย ผู้บริโภคเขาก็มีความเต็มใจที่จะกินเพราะว่ามันปลอดสารพิษแล้วต่อมาเราก็มีหน่วยงานเกษตรเขาก็เข้ามาดูแล ดูแลให้กับคนในชุมชนของเรา เช่นว่าเราขาดอุปกรณ์เครื่องมือในการผลิตเช่น เครื่องดูดน้ำและท่อดูดน้ำ เขามาช่วยเหลือก็นับว่าดีเพื่อที่ชุมชนได้ลดต้นทุนลง เริ่มตั้งในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2548 ปรึกษากันว่าเราทำตรงนี้ขึ้นมาแล้วโดยที่ไม่เป็นหน่วยงานราชการเป็นภาคประชาชนการเกษตรแล้วมาลงขันลงหุ้นกัน

1ทำเป็นปุ๋ยใส่กันเองในสวน

2.ชักชวนทำสวัสดิการในกลุ่มของเราสมาชิกคนไหนของเราเจ็บไข้ได้ป่วย เราก็จะดูแลกันแรกๆเราก็เก็บเดือนละ 5บาท เพื่อว่าเยี่ยมไข้กัน

ถ้าสมาชิกเจ็บไข้ได้ป่วย ตอนหลังมาเราก็มาปรับเพราะว่ามันน้อยไป น่าจะทำเป็นวันละบาทเพื่อว่าเวลาเข้าโรงพยาบาลไปนอนโรงบาลก็ยังได้ดูแลรักษา รักษากันคืนละ 200 บาท แต่ปีหนึ่งเราจะดูแลไม่เกิน10 คืน ทำกันปีหนึ่งเราจะเก็บอยู่375 บาท ดูแลคนเจ็บไข้ได้ป่วย คนคลอดลูก เพื่อหัดให้คนในชุมชนของเราได้อดออม เริ่มจากออม50บาท เพราะคิดว่าไปออมธนาคาร เดือนละ50บาทคงจะไม่คุ้ม เพราะฉะนั้นเราให้คำพูดของเราเนี่ยต้องซื่อสัตย์ ก็คือไม่โกงกันแหละใช้ความซื่อสัตย์ดูแลกัน อย่างเช่นออมกันเดือนละ50บาทถ้าสมาชิกครอบครัวไหนเดือดร้อนในทุน ที่จะลงสวนก็สามารถหยิบยืนกู้เงินที่เราออมก็ได้เหมือนกัน ได้ดอกเบี่ยที่ถูกมากเท่ากับธนาคารร้อยละ10 ต่อปีแล้วก็ให้ผ่อนส่ง แล้วจะถามสมาชิกในกลุ่มว่าถ้ากู้ไปหมื่นหนึ่งจะสามารถผ่อนจ่ายเดือนละเท่าไหร่ได้ตามกำลังจนกระทั่งตอนนี้กลุ่มของเราเติบโตมาได้ช่วงระยะ10ปีมีเงินอดออมมีเงินหมุนเวียนในกลุ่มเป็นหลักล้าน ส่วนเงินสวัสดิการคนที่มาออม เราก็จะดูแลรักษาในเรื่องของอุบัติเหตุ



ตอนนี้เราก็ได้จากภาครัฐมาสนับสนุนช่วยเสริมเติมทุนให้เราและดูแลผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ มีสมาชิกคือคนในตำบลสวนป่าน อยู่ที่ประมาน3 ร้อยกว่าคนก็ทำกันแบบครบวงจร รายได้ที่ได้จากการเกษตรก็มาออมแล้วก็มาส่งสวัสดิการเราก็จะดูแลกันเรื่องปุ๋ยเช่นการทำปุ๋ยหมักแล้วก็มีโรงสีชุมชนเล็กๆ เราเอาไว้สีข้าวให้คนในชุมชน คนในชุมชนจะไม่เสียค่าใช้จ่ายและยังได้ข้าวไปกินเฉพาะคนที่ทำนาคนที่ไม่ทำก็เลี้ยงวัวปลูกข้าวโพด ก็ใช้ขี้วัวมาทำปุ๋ยอย่างคนทำนาเมื่อสีข้าวเสร็จก็จะได้แกลบลำเอาพวกนี้ไปเลี้ยงไก่เพื่อที่จะลดต้นทุนในส่วนของเรามีการเลี้ยงไก่ปลูกผัก เลี้ยงปลา ทำเกษตรผสมผสานให้เป็นที่เรียนรู้กับคนในชุมชน ถ้ามีปัญหาคนในชุมชนอยากทำอะไรดี เพื่อเป็นสันค้าให้กับชุมชนบางอย่างทำออกมามีตลาดรองรับบางอย่างทำออกมาไม่มีตลาดรองรับ และมีปัญหาขายไม่ได้กินไม่หมดเพราะฉะนั้นเรากำลังหาทางช่วยเหลือทางการตลาดแต่ตอนนี้ตลาดบางส่วนของเราในตลาดมีการผลิตผลการเกษตรอย่างเช่นข้าวโพดเราก็มีตลาดให้อยู่แล้ว ส่วนผักสวนครัวก็มีบริษัทมารับซื้อเป็นบางส่วนส่วนที่เหลือเราอาจจะทำเป็นตลาดจำหน่ายของชุมชนในอนาคตก็จะทำต่อเนื่องชาวบ้านคนไหนที่อยากจะเรียนรู้เพาะกล้าเพาะผัก ปักชำสามารถมาเรียนรู้ที่ศูนย์นี้ ที่ศูนย์จะสอนว่าทำอย่างไรเพื่อที่จะลดต้นทุนมีป้าเป็นคนให้ความรู้เอง เพราะป้ามีประสบการณ์ที่ศูนย์แห่งนี้มีประมาณ11 ไร่ 2งาน


รายชื่อสมาชิกที่มีส่วนร่วม

1.นางสุนีย์ นิโกรธา ประธาน

2.นายวิเชียร ป้อมโอชา รองปะธาน

3.นางพเยาว์ จันดิบ เลขานุการ

4.นางสาวลักษณา พุ่มนิล เหรัญญิก

5.นายสมบัติ ป้อมโอชา ประชาสัมพันธ์

6.นายจันทร์ดี นิโกรธา กรรมการ

7.นางเรียม เครือวัลย์ กรรมการ

8.นายศักดิ์ดา เครือพลับ กรรมการ

9.นางสาวศันสนีย์ เสลาฤทธิ์ กรรมการ

10.นางวันเพ็ญ เดือนฉาย กรรมการ


หมายเลขบันทึก: 622715เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2017 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2017 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท