ตัวอย่าง การพัฒนาคุณภาพงานรังสีวินิจฉัยด้วยการสร้างแรงจูงใจในผู้ป่วยเด็ก


คุณภาพ เกิดจากใจ ที่อยากพัฒนา เห็นผู้รับบริการมีความสุข สุขก็เกิดกับผู้ให้บริการ ให้เพื่อให้ สุขที่ได้พัฒนา

ในการถ่ายภาพรังสี จะพบปัญหาเกี่ยวกับผู้รับบริการเด็ก ที่มีอายุประมาณ 1-6 ขวบ

เมื่อเข้าห้องตรวจและเห็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสีแล้ว

มักจะเกิดความกลัว หรือร้องไห้ ไม่ยอมให้ความร่วมมือ

เจ้าหน้าที่และหรือผู้ปกครองต้องเกลี้ยกล่อม

ทำให้ใช้เวลาในการภาพถ่ายรังสีที่นานกว่าปกติ

ส่งผลต่อผู้รับบริการคนอื่นๆที่รอตรวจต้องล่าช้าออกไป



เพื่อเป้าหมายในการกระตุ้นความสนใจของผู้รับบริการที่เป็นเด็กให้ความร่วมมือ

ซึ่งช่วยทำใช้การบริการสะดวก รวมถึงช่วยลดล่าช้าในการให้บริการ



จะทำอย่างไร?

หน่วยรังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ใช้อยู่ คือ การสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้ยอมร่วมมือ ด้วยการแจกของที่ระลึก เช่น ของเล่น หรือ ตุ๊กตา ซึ่งเป็นของที่จัดหามาเอง มีผู้ใจบุญนำมาบริจาค เป็นต้น








ผลสำเร็จ

หากทำงานพัฒนา เมื่อต้องการแสดงผลสำเร็จการดำเนินการ แสดงให้เห็น เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์



ท่าน จะทำอย่างไร?

ลองคิดดู ครับ



สำหรับแนวทางการเก็บข้อมูล อาจทำได้ เช่น



1. เปรียบเทียบระยะเวลาการให้บริการ ก่อนและหลังการสร้างแรงจูงใจ (รางวัล)

โดยการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาดำเนินการ

1.1 เมื่อมีผู้ป่วยเด็กที่ไม่ยอมให้ความร่วมมือในการตรวจ มารับบริการ แบบเดิม คือ ร้องไห้ งอแง กว่าจะถ่ายภาพรังสี หรือ ตรวจวินิจฉัย เสร็จสิ้น ใช้ระยะเวลา เท่าไร?

1.2 เมื่อให้รางวัล เป็นตุ๊กตา เป็นการสร้างแรงจูงใจ ให้ความร่วมมือ ใช้ระยะเวลา เท่าไร?



2.เปรียบเทียบผลการประเมินความพึงพอใจผู้ปกครอง

2.1 โดยทำแบบสอบถาม ประเมินความพึงพอใจผู้ปกครองเด็ก ที่ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจ ที่ร้องไห้ งอแง

2.2 เปรียบเทียบผู้ปกครองเด็กที่ได้รับรางวัล การการสร้างแรงจูงใจ



3. ถ่ายรูป (อย่าลืม.... ขออนุญาต ก่อนถ่ายรูป นะครับ)

เปรียบเทียบพฤติกรรม หรือ หน้าตา เด็ก ที่ร้องไห้ กับ ยิ้มแย้ม



4. อื่นๆ



วันนี้ ต้องดีกว่า เมื่อวาน

คุณภาพ เกิดจากใจ ที่อยากพัฒนา

เห็นผู้รับบริการมีความสุข สุขก็เกิดกับผู้ให้บริการ

ให้เพื่อให้ สุขที่ได้พัฒนา

หมายเลขบันทึก: 622393เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2017 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2017 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท