กิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุตามความรู้สึกของฉัน


<p “=””> กิจกรรมบำบัดในความรู้สึกของฉัน ฉันคิดว่าเป็นการเข้าไปหาผู้สูงอายุเพื่อประเมินดูความสามารถ ดูกำลัง ดูการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ แล้วจึงหากิจกรรมที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุทำ ผู้สูงอายุเป็นวัยที่พ้นจากการทำงานหรือเกษียณแล้ว แต่บางคนก็ยังก็ยังทำกิจวัตรประจำวันมากมาย บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในการเข้าไปหาผู้สูงอายุจึงน่าจะเป็นการเข้าไปพูดคุย อาทิ สอบถามชื่อ อายุ การดำเนินชีวิตในแต่ละวัน กิจกรรมที่ทำในแต่ละวันตั้งแต่ตื่นนอน-เข้านอน ดูว่าผู้สูงอายุสามารถทำอะไรได้บ้าง ทำได้ด้วยตนเองหรือมีกำลังไม่มากพอต้องมีคนคอยดูแล รวมทั้งการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ทั้งวัดชีพจร วัดความสามารถในการรับรู้ การทำกิจกรรมต่างๆร่วมไปกับนักกิจกรรมบำบัด เพื่อประเมินสมรรถภาพในแต่ละบุคคล เพื่อทราบปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีแนวทางแก้ไข </p> <p “=””>
</p> <p “=””> ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะอยู่บ้านคนเดียวลูกหลานไปทำงาน อาจจะเหงาหรือไม่มีใครพูดคุยด้วย นักกิจกรรมบำบัดถือเป็นบุคคลสำคัญบุคคลหนึ่งที่จะเข้าไปมีบทบาท ไปคิดวิเคราะห์กิจกรรมที่จะให้ผู้สูงอายุได้ทำเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีแรงจูงใจในการใช้ชีวิต รู้สึกไม่เหงา ทำให้ผู้สูงอายุได้ใช้ความสามารถที่มีอยู่ และกิจกรรมที่นักกิจกรรมบำบัดทำให้ผู้ป่วยนั้นแน่นอนว่าจะต้องมีคุณค่า เมื่อผู้ป่วยทำแล้วต้องสามารถรับรู้ได้ว่ากำลังทำอะไร ทำไปทำไม ทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เค้ารู้จุดประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน จะเห็นได้ว่านักกิจกรรมบำบัดมีความสำคัญเป็นอย่างมาก และนอกจากกิจกรรมเหล่านี้แล้วนักกิจกรรมบำบัดก็อาจดูเรื่องสุขภาพ สอนให้ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพ วิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง กายหายใจ แนะนำสิ่งที่มีประโยชน์เพื่อให้ผู้สูงอายุแข็งแรง และดูแลตนเองได้อยู่เสมอ </p>

หมายเลขบันทึก: 622219เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2017 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2017 23:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท