การทอผ้าขิดไหมกุดแห่


วสันต์ บุญล้น และคณะ

ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูมีการทอผ้าทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้าย กระจายตัวอยู่ทุกอำเภอ แต่กลุ่มที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับจากทั้งภายในจังหวัดและระดับประเทศ คือ “กลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่” ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2525 เนื่องจากชาวบ้านตำบลกุดแห่ จำนวน 5 คน ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่เสด็จวัดถ้ำกลองเพล และมีโอกาสถวายชิ้นงานให้กับพระองค์ท่าน และพระองค์ท่านได้ทรงรับสั่งให้ทอผ้าถวายอีกในวโรกาสต่อไป

นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ให้กับชาวบ้านที่ถวายงานเพื่อปลูกหม่อน เลี้ยงไหม รายละ 6,000 บาท จำนวน 5 ราย และทรงรับไว้ในมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระองค์ท่าน

ชาวบ้านตำบลกุดแห่ รู้สึกปลื้มปีติในพระมหากรุณา จึงรวมตัวจัดตั้งกลุ่มขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2525 นางอำพร วงษ์สมศรี เป็นประธานกลุ่ม จำนวนสมาชิก 37 คน ในระยะแรกกลุ่มมีการทอผ้าหลายชนิด ได้แก่ ผ้ามัดหมี่ ผ้าหางกระรอก ผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง ผ้าพื้นเรียบ และทอผ้าพื้นเมืองให้กับมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ

ต่อมาเมื่อหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล มรณภาพ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ไม่ได้เสด็จวัดถ้ำกลองเพลเพื่อทรงงานอีก แต่ทรงมีรับสั่งให้ส่งชิ้นงาน ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ซึ่งชาวบ้านตำบลกุดแห่ได้ร่วมกันทอผ้าพื้นเมืองส่ง และยังคงทอผ้าพื้นเมืองให้กับมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ

ปี พ.ศ.2532 นางลำดวน นันทะสุธา เป็นประธานกลุ่ม สมาชิกทอผ้าพื้นเมืองตลอดทั้งปี เริ่มพัฒนาลวดลายผ้าที่มีอยู่ให้มีเอกลักษณ์มากขึ้น ได้แก่ ผ้าลายเกล็ดเต่า ผ้าลายลูกแก้ว โดยส่งสมาชิกไปจำหน่าย ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ทุกปี

ปี พ.ศ.2536 สมาชิกกลุ่มเริ่มตั้งข้อสังเกตว่า ผ้าที่ทอขาดลวดลายสร้างสรรค์ แปลกใหม่ กลุ่มจึงได้ไปศึกษาดูงานการทอผ้าขิดไหมที่บ้านหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

ปี พ.ศ.2539 กลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้เริ่มส่งผ้าเข้าประกวดที่กองทัพภาคที่ 2 ทุกปี

โดยในปีนั้น นางสมบัติ ฉิมนิล ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทผ้าไหมพื้นเรียบ และสร้อยคอทองคำ 50 สตางค์ พร้อมเหรียญตราสัญลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมเงินรางวัล 3 พันบาท

ปี พ.ศ.2540 นางอุบล วงศ์ละคร สมาชิกกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทผ้าขิดไหม เงินรางวัล 3 หมื่นบาท พร้อมโล่

ปี พ.ศ.2542 นางหลุน เลพล สมาชิกกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทผ้าขิดไหม เงินรางวัล 4 หมื่นบาท พร้อมโล่

ปี พ.ศ.2544 นางบังอร ต้นกัลยา สมาชิกกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทผ้าขิดไหม สร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท เงินรางวัล 6 หมื่นบาท พร้อมโล่

นางเอื้อมคำ แดนสวรรค์ สมาชิกกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ประเภทผ้าขิดไหม สร้อยคอทองคำหนัก 3 บาท เงินรางวัล 5 หมื่นบาท พร้อมโล่

นางประดุง สีมี สมาชิกกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทผ้าขิดไหม เงินรางวัล 4 หมื่นบาท พร้อมโล่

นางลำดวน นันทะสุธา ประธานกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทผ้าขิดไหม เงินรางวัล 4 หมื่นบาท พร้อมโล่

นางสมเภช ดอนมั่น สมาชิกกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทผ้าขิดไหม เงินรางวัล 4 หมื่นบาท พร้อมโล่

ปี พ.ศ.2545 นางรำพึง โคตรสุวรรณ สมาชิกกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทผ้าขิดไหม สร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท เงินรางวัล 6 หมื่นบาท พร้อมโล่

นางประดุง สีมี สมาชิกกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ประเภทผ้าขิดไหม สร้อยคอทองคำหนัก 3 บาท เงินรางวัล 5 หมื่นบาท พร้อมโล่

นางที ป้องสี สมาชิกกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทผ้าขิดไหม เงินรางวัล 4 หมื่นบาท พร้อมโล่

นายบุญแปง นันทะสุธา สมาชิกกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทผ้าขิดไหม เงินรางวัล 4 หมื่นบาท พร้อมโล่

ปี พ.ศ.2546 นายวีระ สีมี สมาชิกกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ประเภท ผ้าขิดไหม สร้อยคอทองคำหนัก 4 บาท เงินรางวัล 5 หมื่นบาท พร้อมโล่

นางลำดวน นันทะสุธา ประธานกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ประเภทผ้าขิดไหม สร้อยคอทองคำหนัก 4 บาท เงินรางวัล 5 หมื่นบาท พร้อมโล่

ปี พ.ศ.2547 นายยอดยิ่ง แดนสวรรค์ สมาชิกกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทผ้าขิดไหม สร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท เงินรางวัล 6 หมื่นบาท พร้อมโล่

นางแอม วาสิงหล สมาชิกกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทผ้าขิดไหม เงินรางวัล 4 หมื่นบาท พร้อมโล่

นายสงัด แดนสวรรค์ สมาชิกกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทผ้าขิดไหม เงินรางวัล 4 หมื่นบาท พร้อมโล่

นางนุจรินทร์ นันทะสุธา สมาชิกกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทผ้าขิดไหม เงินรางวัล 4 หมื่นบาท พร้อมโล่

ปี พ.ศ.2548 นางคำพันธ์ บุญทน สมาชิกกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทผ้าขิดไหม สร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท เงินรางวัล 6 หมื่นบาท พร้อมโล่

กล่าวได้ว่า การทอผ้าพื้นเมืองของชาวบ้านตำบลกุดแห่ ได้รับการยอมรับจากสังคมว่ามาจาก

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ลวดลายที่ให้ในผืนผ้ามาจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม โดยภายหลังจากได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ท่าน ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ โดยท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ ซึ่งได้ให้แนวคิดการพัฒนาผ้าพื้นเมือง ฝึกปฏิบัติให้กับชาวบ้านจนสามารถทอผ้าขิดฝ้ายที่มูลนิธิจัดส่งให้ เพื่อนำไปใช้เป็นผ้าม่านของวังสวนจิตรดา จนในปัจจุบันชาวบ้านมีความชำนาญมากขึ้น สามารถทอผ้าขิดไหมจนได้รับรางวัลจากการประกวดผ้าพื้นเมืองบ่อยครั้ง ทั้งรางวัลพระราชทาน รางวัลระดับภาค รางวัลระดับประเทศ

ปัจจุบันกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ ได้แยกกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม

1.กลุ่มทอผ้าขิดไหมบ้านโพธิ์ค้ำ ประธานกลุ่ม คือ นางลำดวน นันทะสุธา

2.กลุ่มทอผ้าขิดไหมบ้านศรีอุบล ประธานกลุ่ม คือ นางเอื้อมคำ แดนสวรรค์

3.กลุ่มทอผ้าขิดไหมบ้านฝายแดง ประธานกลุ่ม คือ นางประดุง สีมี

4.กลุ่มทอผ้าขิดไหมบ้านกุดแห่ ประธานกลุ่ม คือ นางสมเภช ดอนมั่น

การดำเนินงานของทั้ง 4 กลุ่ม มีการเชื่อมประสานกันเป็นอย่างดี ทั้งการออกแบบลวดลาย การทอ การส่งเสริมการขาย มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ปัญหาอุปสรรคในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ การแยกกลุ่มในครั้งนี้ทำให้เกิดการสร้างงานในชุมชนทั้ง 4 หมู่บ้านมากขึ้น

การดำเนินงานในปัจจุบัน

“กลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่” ได้พัฒนาลวดลายใหม่ๆ ที่มีความวิจิตรงดงามกว่า 40 ลาย เช่น ลายขจรคู่ ลายดาวล้อมเพชร ลายบัวบาน ลายเพชรพระอุมา ลายอินถวา ลายเพชรมณี ลายบัวสวรรค์ ลายกระทงทอง ลายสร้อยสังวาล ลายมรดกไทย และลายอื่นๆ โดยได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างลวดลายซึ่งเป็นภูมิปัญญาของกลุ่ม และเทคนิคการทอผ้าที่ได้รับจากกรมหม่อนไหม ดังนี้

หลักใหญ่ของการทอผ้า คือ การนำเส้นด้ายมาขัดกันให้เป็นลวดลาย เป็นการสานเช่นเดียวกับการจักสาน ใช้เส้นด้ายแทนเส้นตอก โดยขึงเส้นด้ายชุดหนึ่งเป็นเส้นหลัก เรียกว่า เส้นยืน(warp yarn) แล้วใช้เส้นอีกชุดหนึ่ง เรียกว่า เส้นพุ่ง(weft yarn) สอดตามแนวขวางของเส้นยืน ขัดกันไปอย่างต่อเนื่องในลักษณะให้เส้นยืนยกขึ้น และข่มลงสอดขัดด้วยเส้นพุ่งสลับขึ้นลงกันไปเรื่อยๆ เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้น อาจกล่าวได้ว่า เส้นยืนเป็นโครงสร้างหลัก ส่วนเส้นพุ่งเป็นเส้นที่มาเติมเป็นผืนผ้า

สำหรับลายขิดของกลุ่มทอผ้าตำบลกุดแห่ นอกจากจะใช้หลักการเช่นเดียวกับการทอผ้าลายขัดทั่วไปข้างต้นแล้ว จะต้องเก็บขิดโดยสะกิดขึ้นลงเป็นคู่ๆ ขึ้นอยู่กับลวดลาย

หมายเลขบันทึก: 621880เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2017 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มกราคม 2017 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท