รายงานการใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การรู้ค่าจำนวน 1-5 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1


ประวัติผู้รายงาน

นางสันทัศน์ ภู่สงค์

โรงเรียนประชาสันติภาพ (วงศ์สุดใจอุปถัมภ์) อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง รายงานการใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การรู้ค่าจำนวน 1-5 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1

ผู้รายงาน นางสันทัศน์ ภู่สงค์

ปีที่รายงาน ปี 2559

การรายงานครั้งนี้ เป็นการรายงานการใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การรู้ค่าจำนวน 1-5 สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1ก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การรู้ค่าจำนวน1-5 สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนประชาสันติภาพ (วงศ์สุดใจอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 35 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การรู้ค่าจำนวน 1-5 สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 12 แผน 2.หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การรู้ค่าจำนวน 1-5 สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 12 เล่ม 3. แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การรู้ค่าจำนวน1-5 สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (Percentage) และทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การู้ค่าจำนวน 1-5 สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ (X = 8.80, S.D = 2.71) สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์ (X= 17.31, S.D.= 2.76) ค่าร้อยละหลังจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์ (P = 86.57, P = 44.00) ร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 42.57 2. การเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การรู้ค่าจำนวน 1-5 สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ (Tags): #คณิตศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 621278เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2017 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มกราคม 2017 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท