ทำไมบางคนตั้งใจเรียนแต่สอบไม่ได้ เเต่ในขณะที่บางคนไม่ขยันเรียนเเต่สอบได้


ทุกคนอาจเคยสงสัยเหมือนกับผม ในวาทะกรรมที่ว่า “ทำไมบางคนตั้งใจเรียนแต่สอบไม่ได้ เเต่ในขณะที่บางคนไม่ขยันเรียนเเต่สอบได้” ผมมองว่า ประเด็นนี้น่าสนใจเเละน่าแลกเปลี่ยน เเน่นอนว่าคำตอบของคำถามนี้อาจมีจำนวนมาก หลายคนก็หลายมุมมอง หากเราจะมองในเเง่ดีก็ไม่ผิด เราจะมองในเเง่ลบก็ไม่ผิด หรือ เราจะมองในมุมกลางๆ ก็ยิ่งไม่ผิด เพราะที่เเท้นั้นโจทย์ไม่ได้มุ่งโทษไปที่คนไม่ขยันว่ากลับสอบได้ เเต่โจทย์นี้กำลังพยายามบอกเราในหลายๆมุม ดังนี้

  • คนที่ตั้งใจเรียนอาจ อาจอ่านไม่ตรงกับที่อาจารย์สอน หรือ มีทรรศนะไม่ตรงกับอาจารย์ผู้สอน
  • คนที่ไม่อ่านหนังสือเยอะ เขาอาจมีทักษะทางการคิดที่ถูกฝึกมาดีเเล้ว จนทำข้อสอบได้ หรือ ผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงมาทำให้สามารถเชื่อมโยงในความรู้ที่ฝังเเน่นสู่เนื้อหาได้
  • คนที่ไม่ค่อยอ่านหนังสือมีพื้นฐานความรู้เดิมมาก่อนผ่านกระบวนการซ้ำๆ จนตกตะกอนความรู้ ในขณะคนที่อ่านหนังสือมากยึดเพียงตำราเเต่ไม่ค่อยได้ฝึกคิด
  • คนที่อ่านหนังสือน้อยบังเอิญอ่านตรงอาจารย์ออกข้อสอบพอดีเลยสอบได้ มากกว่าคนที่อ่านหนังสือมากเเต่ไม่เจาะประเด็น

นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่นๆอีกมาก เเต่ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจว่า “ช่องว่างระหว่างคนตั้งใจเรียนได้คะเเนนน้อยเเละคนไม่ค่อยตั้งใจได้คะเเนนมาก มันคืออะไร” จึงจะขออธิบายว่า โดยพื้นฐานเเล้วเราทุกคนมีความรู้อยู่ ๓ ชั้น ได้แก่

  • ความรู้แบบความจำ(Explicit Knowledge) เราจะใช้เมื่อต้องการหลักวิชาการ
  • ความรู้จากทักษะการคิด เราจะใช้เมื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์ ฯ
  • ความรู้ในการอธิบายสรรพสิ่ง(Propositional Knowledge) เราจะใช้เมื่อสื่อสารกับคนอื่นให้รู้เรื่อง

ใช่เเล้วล่ะ ผมกำลังสื่อสารกับทุกท่านว่า บางคนมีความรู้เเบบความจำมากเเต่ฝึกคิดน้อย หรือที่บางคนฝึกคิดมากๆเเต่สื่อสารไม่ค่อยรู้เรื่อง หรือ ในขณะที่บางคนความรู้ในการอธิบายสรรพสิ่งมากเเต่ไม่ค่อยรู้จริง ผมมองว่าช่องว่างจากวาทะกรรมดังกล่าว คือ การที่คนเรามีความจำ ทักษะการคิด และความรู้ในการอธิบาย "ไม่เท่ากัน" คนที่ไม่ค่อยอ่านหนังสือเเต่สอบได้นั่นอาจเป็นเพราะความรู้ในระบบความจำน้อย เเต่ทว่าทักษะทางการคิดเเละความรู้ในการอธิบายนั้นมีมาก ก็อาจเป็นคำตอบของคำถามนี้ก็ได้

สุดท้ายนี้ผมอยากบอกกับทุกท่านว่า เราจำเป็นต้องพัฒนาความรู้ทั้ง ๓ ชั้นนี้ในสมดุลกันเเละกัน คุณค่าเเท้มิใช่คะเเนนสอบหรือเกรด เเต่เป็นทักษะ ความรู้ เเละประสบการณ์ใหม่ๆ ที่เราได้พัฒนาตนเองขึ้นต่างหากเล่า

หมายเลขบันทึก: 620776เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2016 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ธันวาคม 2016 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท