บทความการวิจัย เรื่อง... การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดพะเยา


บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคม ศึกษาการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา และวิเคราะห์และเสนอรูปแบบการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยจะกำหนดขอบเขตผู้ให้ข้อมูลสำคัญในเรื่อง การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดพะเยา ซึ่งแบ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม ได้แก่ ประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Indepth Interview)คือ พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 3 รูป ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น จำนวน 3 คน และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลจำนวน 12 คน รวมทั้งหมด 18 รูป/คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจงเฉพาะเทศบาลตำบลที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา และประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญการสนทนากลุ่ม(Focus Group Discussion) ผู้วิจัยได้กำหนดผู้เชี่ยวชาญโดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 18 รูป/คนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นจำนวน 3 คน กลุ่มพระภิกษุสงฆ์ จำนวน 3 รูป และกลุ่มสมาชิกสภาเทศบาลตำบล จำนวน 12 คน กำหนดเกณฑ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลตามชนิดเทคนิคการวิจัย 2 ชนิด ได้แก่ข้อมูลการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) ทั้งหมดโดยใช้ เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยหลักสังเคราะห์เนื้อหาโดยใช้เทคนิค 6 C[1] ได้แก่ Concept (ประเด็น) Classify (การจำแนกกลุ่ม) Category (จัดหมวดหมู่) Content (สาระสำคัญ) Communication (การอธิบาย) และ Conceptualize (การจัดกรอบแนวคิด) และเทคนิค ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเทคนิคกระบวนการวิภาษวิธี(Dialectic Process :DP) มี 4 ลักษณะ คือ ลักษณะยืนยัน ลักษณะปฏิเสธ ลักษณะยอมรับและปฏิเสธ และลักษณะหาข้อสรุปร่วม

ผลการวิจัย พบว่า

1. ความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา ได้ดำเนินกิจกรรม/โครงการที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมใน 7 ด้านได้แก่ ด้านชุมชน ด้านสุขภาพและสวัสดิการ ด้านการศึกษา ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ด้านสิทธิของผู้บริโภค และด้านวัฒนธรรม

2. การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา

1) ด้านชุมชน พบว่า การเสริมสร้างโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมในการดำเนินกิจกรรม/โครงการที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในด้านชุมชน โดยใช้หลักสังคหวัตถุ 4 และบุญกิริยาวัตถุ 10

2) ด้านสุขภาพและสวัสดิการ พบว่า การเสริมสร้างโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมในการดำเนินกิจกรรม/โครงการที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในด้านสุขภาพและสวัสดิการ โดยใช้หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 และหลักภาวนา 4

3) ด้านการศึกษา พบว่า การเสริมสร้างโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมในการดำเนินกิจกรรม/โครงการที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในด้านการศึกษา โดยใช้หลักไตรสิกขา 3 และหลักวุฑฒิธรรม 4

4) ด้านสิทธิมนุษยชน พบว่า การเสริมสร้างโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมในการดำเนินกิจกรรม/โครงการที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในด้านสิทธิมนุษยชน โดยใช้หลักทิศ 6 และหลักอคติ 4

5) ด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ พบว่า การเสริมสร้างโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมในการดำเนินกิจกรรม/โครงการที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยใช้หลักจักร 4

6) ด้านสิทธิของผู้บริโภค พบว่า การเสริมสร้างโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมในการดำเนินกิจกรรม/โครงการที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในด้านสิทธิของผู้บริโภค โดยใช้หลักอายุวัฒนธรรม 5

7) ด้านวัฒนธรรม พบว่า การเสริมสร้างโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมในการดำเนินกิจกรรม/โครงการที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในด้านวัฒนธรรม โดยใช้หลักทิศ 6 หลักพละ 5 และหลักอปริหานิยธรรม 7

3) วิเคราะห์และเสนอรูปแบบการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธของนักการเมืองท้องถิ่น

1) แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดพะเยา การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดพะเยา ที่มีผลต่อการพัฒนากับการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธของเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยการนำหลักธรรม 3 ประการ ได้แก่ หลักสุจริต 3 คือ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต มาบูรณาการเข้าด้วยเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนากับการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธ

2) แนวทางการแก้ไขปัญหาของการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดพะเยาแนวทางการแก้ไขปัญหา พบสิ่งที่น่าสนใจอย่างมากนั่นก็คือ การสร้างสถาบันเพื่อการกำหนดมาตรฐานกับการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธสำหรับนักการเมืองหรือข้าราชการ นักการเมืองท้องถิ่นในการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มได้เห็นประโยชน์ร่วมกันว่า หากงานวิจัยเล่มนี้สามารถสร้างรูปแบบหรือการวางระบบที่สามารถกำหนดพฤติกรรมกับการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธของบุคคลผู้ที่จะเข้าไปทำหน้าที่ในองค์กรเทศบาลจะมีผลต่อการรักษาคุณธรรมและจริยธรรมอย่างมาก เพราะพระพุทธศาสนาได้วางระดับและกำหนดพฤติกรรมของผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ทั้งหลายไว้อย่างชัดเจน ทั้งกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต หลักทศพิธราชธรรม หลักสังคหวัตถุ หลักไตรสิกขา หลักอปริหานิยธรรม หลักอคติ หลักทิศ 6 เป็นต้น

3) รูปแบบการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธของนักการเมืองท้องถิ่น

1) ขอบเขตและกระบวนการดำเนินกิจกรรมของความรับผิดชอบต่อสังคม มี 7 ด้าน

2) ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตามหลักวิถีพุทธของนักการเมืองท้องถิ่น หลักพุทธธรรมเพื่อสังคม วิถีแห่งพุทธะ และหลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความรับผิดชอบต่อสังคม

3) ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตามหลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของนักการเมืองท้องถิ่น การส่งเสริมและการดำเนินการ CSR ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของนักการเมืองท้องถิ่น มีการดำเนินการ CSR ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลใน 10 ประเด็น

Research Title : Strengthening of Buddhist Corporate Social Responsibility of Local Politicians in Phayao Province.

Researcher : Assistant Professor Kanong Wangfaikaew.

Department: Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Phayao Campus.

Year: 2558

Research Scholarship Sponsor:Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Abstract

Researchof Strengthening of Buddhist Corporate Social Responsibility of Local Politicians in Phayao Province.The purpose is to study social responsibility, strengthening social responsibility with Buddhism by way of a local politician in Phoyao Province.And analyze and propose ways to strengthen corporate social responsibility with the Buddhism concept of local politicians in Phayao province.This research studyThe scoping study will provide important information on the subject.Strengthening social responsibility by Buddhism of local politicians, Phayao Province, which breaks a major contributor to two groups of key informants interviews with experts (Indepth Interview) is a monk of 3 executive local number. 3 people and members of the municipal district of 12 total 18 person by selecting a specific municipality in the district of Phayao population and a major contributor to group (focus group discussion) researchers. Specialist designation by selecting specific (purposive sampling) number 18 person divided into three groups: administrators, local number three among the monks of the three figures and members of the municipal district of 12 defined criteria. Analysis of the data by type of research techniques, two types of data depth interviews were analyzed using content (content Analysis) all using.Technical analysis of the content of the synthetic material using techniques 6 C such as Concept (points) Classify (classification) Category (classification) Content (essence) Communication (describing) and Conceptualize(The framework) and technical content analysis technique dialectical process (Dialectic Process: DP) with four types characteristic manner refused to confirm acceptance and rejection characteristics.And the conclusions together.

The research found that

1. The social responsibility of local politicians in Phayao province.Local governments in the province.The activities / projects of social responsibility and environmental aspects in 7 such as the community, health and welfare, education, human rights,the natural environment,the consumer rights And culture

2. To strengthen the social responsibility of a local politician with Buddhism in Phayao province.

1) The community found that by applying the principles in the activities / projects of social responsibility and environmental in the communities.The principle object Sangahavatthu 4 and punnakiriya-vatthu 10.

2) Health and Welfare found that by applying the principles in the activities / projects of social responsibility and environmental, health and welfare.The principle object Sangahavatthu 4 and bhavana 4.

3) Education found that by applying the principles in the activities / projects of social responsibility and environmental in the education.The principle object Sikkha 3 and Vuddhi-dhamma 4.

4) Human Rights found that by applying the principles in the activities / projects of social responsibility and environmental in the human rights. The principle object Disa 6 and Agati 4.

5) The natural environment found that by applying the principles in the activities / projects of social responsibility and the environment in the natural environment. The principle object Cakka 4.

6) The consumer rights found that by applyong the principles in the activities / projects of social responsibility and environmental in the consumer rights. The principle object Ayuwatthana-Dhamma 5.

7) The culture found that by applying the principles in the activities / projects projects of social responsibility and environmental in the cultural. The principle object Disa 6, Bala 5 and Aparihaniyadhmma 7.

3. Analyze and propose ways to strengthen corporate social responsibility with the Buddhist concept of local politicians.

1) the strengthening of social responsibility with Buddhism of local politicians in Phayao province, strengthening corporate social responsibility with the Buddhist concept of local politicians in Phayao province affecting the development and strengthening social responsibility by Buddhism. the Municipality of the district Phayao Province by adopting the principles of Sucarita 3 (good conduct) , good conduct act, good conduct in word and good conduct in thought to integrate them for use as a guideline for the development and strengthening of social responsibility as well with Buddhism.

2) The issue solutions of strengthening the social responsibility of local politicians with Buddhism in Phayao province.Find something very interesting that isthe creation of the Institute for standardization to strengthen their social responsibility by Buddhist way of life for politicians and civil servants.Local politicians in interviews and focus groups were seen as mutually beneficial. MuchBecause Buddhism has put the level and behavior of managor and officor who clearly. With good conduct act, good conduct in word and good conduct in thought, principle of Rajadhamma, principle of Sangahavatthu, principle of Trisikkha, principle of Aparihaniyadhmma, principle of Agati. Principle of Disa 6 and so on.

3) Propose ways to strengthen corporate social responsibility with the Buddhism concept of local politicians in Phayao province.

(1) The scope and activities of social responsibility, with seven sides.

(2) Social responsibility and environmental principles of Buddhism local politicians.Buddhist SocialPath of Enlightened, Buddhism And principles relating to corporate social responsibility.

(3) Social responsibility and environmental principles, human resource management of local politicians.CSR promotion and implementation of human resource management of local politicians.The implementation of CSR in HR in 10 points.

บทนำ

ปัจจุบันแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม หลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส รวมถึงความเป็นธรรมในการบริหารองค์กรต่าง ๆ ได้รับการยอมรับและนำไปสู่การปฏิบัติทั้งในมิติของการดำเนินการตามกฎหมายและจริยธรรมที่องค์กรพึงมีต่อสังคม ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ปรับแนวคิด บทบาทการดำเนินกิจกรรมของตนเองให้มีความเป็นธรรมาภิบาลและร่วมรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ในบรรดาภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมนั้น องค์กรภาคธุรกิจเป็นภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจทั้ง การค้าขาย การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ การผลิตอุตสาหกรรม การให้บริการซึ่งเป็นภาคส่วนที่มีกระบวนการทางเศรษฐกิจที่สัมพันธ์การพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบ ฉะนั้น การเป็นบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมองค์กรธุรกิจ บริษัทเอกชน และกิจการธุรกิจ (G๐๐d Corporate Social Responsibility) ซึ่งมีความสำคัญมากขึ้นในแง่ของการเป็น “แนวคิด” “กลไก” และ”เครื่องมือ” ที่สำคัญของการพัฒนาองค์กรธุรกิจ การพัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อมของโลกอย่างยั่งยืนการดำเนินแนวคิดและกลักการความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSR ซึ่งมีหลักการที่สำคัญ เช่น การใช้หลักธรรมาภิบาล การใส่ใจต่อผู้บริโภค การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน แรงงาน การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการเสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคม เป็นต้น มาใช้เป็นการสร้าง “คุณค่า” ให้กับองค์กรธุรกิจ เพราะ “มูลค่า” ทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ และการสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาทางสังคมที่เต็มไปด้วย “ความเก่ง” และ “ความดี” ถือเป็นการเสริมดุลยภาพการพัฒนาในโลกสมัยใหม่ที่สำคัญ[2]

แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (Corporate Social Responsibility = CSR) มุ่งเน้นให้องค์กรธุรกิจดำเนินการทางธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมโดยส่วนรวมโดยมีลักษณะทั้งการมีการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทางการค้าและการลงทุนเพื่อชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่และการสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับชุมชน การสร้างเสริมรายได้ การเสริมสร้างกิจกรรมสุขภาพของคนในท้องถิ่น เป็นต้น โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจที่องค์กรดำเนินการและเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กรที่นอกเหนือจากการสนับสนุนกิจกรรมและงบประมาณไปสู่ชุมชนเพื่อภาพลักษณ์ขององค์กร จึงกล่าวได้ว่าแนวคิด CSR เป็นการดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกขององค์กรธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมต่าง ๆ ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรธุรกิจหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กรเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งและการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข

กระแสความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรต่าง ๆ นั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจและการดำเนินงานด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ความโปร่งใส และจริยธรรมในการประกอบธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเป็นการบริหารจัดการที่ใส่ใจผลกำไร การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคมไปพร้อม ๆ กันซึ่งกระแสเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคมเป็นประเด็นให้องค์กรธุรกิจต้องหันมาใส่ใจแต่ก็ยังคงต้องรักษาผลประโยชน์ขององค์กรไว้ การมีความรับผิดชอบต่อสังคมจึงเป็นทางที่จะประสานประโยชน์ขององค์กรธุรกิจและสังคมเข้าด้วยกันได้ ดังนั้น องค์กรธุรกิจที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล จังหันมาส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) กันอย่างแพร่หลาย

ความเป็นมาของ CSR จุดกำเนิดและปัจจัยผลักดันให้เกิด CSR อันที่จริงการทำ CSR นั้น มีมานานกว่า 200 ปีแล้ว แต่สมัยนั้นยังไม่มีบัญญัติคำว่า CSR ขึ้นใช้อย่างเป็นทางการ และการทำ CSR ขององค์กรในยุคนั้นโดยมากไม่ได้เกิดจากเจตนารมณ์ที่ดีขององค์กรที่จะทำสิ่งที่ดีตอบแทนสังคม แต่ทำเพราะเกิดปัญหาขึ้นในองค์กรทำ CSR เพื่อแก้ปัญหาและเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรให้ดีขึ้น

แนวคิดและขบวนการ CSR ในระดับโลกดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามีความเคลื่อนไหวทั้งในรูปแบบของความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมของบรรษัทขนาดใหญ่ องค์กรระหว่างประเทศ และกลุ่มธุรกิจ รวมไปถึงมูลนิธิต่าง ๆ ที่ร่วมช่วยกันผลักดันให้เกิดมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSR

สำหรับประเทศไทย[3] หลังจากมีการนำแนวคิดธรรมาภิบาลและการกำหนดมาตรฐาน ISO ในด้านต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในภาครัฐและภาคเอกชน แนวคิดที่มีอยู่ดั้งเดิมของสังคม คือ “การช่วยเหลือแบ่งปัน” และ “การให้เพื่อพัฒนาสังคม” รวมไปถึง “การทำบุญให้ทาน” ก็เป็นสิ่งที่ปรากฎอย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิดวัฒนธรรมชุมชนและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น ในช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา จึงได้มีกลุ่มธุรกิจและองค์กรต่างๆ ร่วมกันดำเนินการผลักดันแนวคิดและกระบวนการของ CSR ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรม มีการจัดตั้งเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม(Social Venture Network Asia = SVN (Thailand) เครือข่ายความรู้ (CSR) สถาบันไทยพัฒน์ (THai Corporate Social Responsibility)และสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม Corporate Social Responsibility Institute : CSRI) ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วยเห็นว่าแนวคิด CSR จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโตที่มีส่วนสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ภาคธุรกิจและการพัฒนาสังคม ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงกิจกรรมเพื่อสังคมของรัฐวิสาหกิจและกลุ่มบริษัทธุรกิจต่างๆ เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ปูนซีเมนต์ไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มูลนิธิไทยคมภายใต้กลุ่มชินคอร์ป กิจกรรม CSR ของกลุ่มทรูคอร์เปอร์เรชั่น องค์กรธุรกิจด้านธนาคารและการสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งได้ร่วมสร้างกระแสความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการจัดกิจกรรมการพัฒนาในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ รวมไปถึงการโฆษณาในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรด้านความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น

การเติบโตของกระแสแนวคิดและกระบวนการ CSR ดังกล่าว แสดงถึงความตั้งใจของกลุ่มธุรกิจและองค์กรต่างๆ ในการบริหารจัดการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีการพิจารณาถึงองค์ประกอบที่สำคัญของแนวคิด CSR เช่น การใช้หลักธรรมาภิบาล การผลิตสินค้า และบริการที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม การคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน แรงงานและความเท่าเทียมในสังคม การดำเนินการที่โปร่งใส มีความรับผิดชอบต่อการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทางการค้าและการลงทุนเพื่อชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ในพื้นที่ การพัฒนาสังคม การส่งเสริมการสร้างรายได้ การศึกษาและสุขภาพของคนในชุมชน เป็นต้น โดยได้ดำเนินการให้ความสอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจที่องค์กรดำเนินการและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร ถึงแม้ว่ากระบวนการนำแนวคิด CSR ไปใช้ยังมีข้อจำกัด อีกทั้งถูกมองว่าเป็นไปเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรก็ตาม แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมสร้างสรรค์สังคมไปสู่แห่งความดีงาม

               แม้ว่าจะมีการนำ CSR เข้ามาในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา แต่การทำ CSR ในพ..นี้ ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่ต่อคนไทย โดยองค์กรที่ทำส่วนใหญ่มักเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และธุรกิจส่งออก อย่างไรก็ตาม Michael E. Porter ศาสตราจารย์ด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจ ได้กล่าวไว้ในนิตยสาร Harvard Business Review ฉบับเดือนธันวาคม 2006 ว่า แนวโน้มธุรกิจในอนาคตข้างหน้าจะต้องให้ความสนใจ CSR เพราะต่อจากนี้ไป ประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจจะกลายเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่นำมาใช้เป็นเงื่อนไขในการทำการค้ากับหลายประเทศ     
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า CSR เป็นการบริหารจัดการที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งองค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกันความสำคัญของ CSR แนวคิดและทฤษฎีทางธุรกิจที่ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดสู่องค์กรโดยส่วนใหญ่ ล้วนมุ่งไปที่การพัฒนาให้เป็นองค์กรที่ เก่งตัวอย่างทฤษฎีที่รู้จักกันดี ได้แก่ SWOT Analysis (Ansoff 1965) สำหรับการกำหนดตำแหน่งและการสร้างความสำเร็จขององค์กร หรือ Boston Matrix (BCG 1970) สำหรับการกำหนดความสำคัญและการสร้างความสำเร็จในผลิตภัณฑ์ หรือ Five Forces (Porter 1980) และ Diamond Model (Porter 1990) สำหรับการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นต้น
สำหรับแนวคิดใน เรื่อง CSR จะมุ่งไปที่การสร้างให้องค์กรมีความ ดีที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนของกิจการ เป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจากหลักคุณธรรมดังนั้นในทางโลกธรรม มีต้นธรรมแห่งดอกผล CSR นั่นคือ สังคหะวัตถุ 4 หลักธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวบุคคล อันรวมถึงพลเมืองบรรษัท (Corporate Citizen) ให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปกติสุข สังคหะวัตถุ 4 ถือว่าเป็นต้นธรรมที่ผลิดอกผลเป็น CSR ขององค์กรธุรกิจ

ส่วนนักการเมืองท้องถิ่นในฐานะผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรต้องให้ความสำคัญกับการดำรงบทบาทการเป็นผู้นำกระบวนการ (Process Leadership) ที่มีความต่อเนื่องเป็นกิจจะลักษณะมากกว่าบทบาทการเป็นผู้นำกิจกรรม (EventLeadership) ที่จัดเป็นครั้งๆตามโอกาสในเชิงสัญลักษณ์สิ่งสำคัญถัดมาคือการให้ความสำคัญกับเรื่อง CSR โดยชี้ให้เห็นถึงคุณค่าหรือประโยชน์ที่จะได้รับอย่างเป็นรูปธรรมได้

การแสดงความรับผิดชอบของนักการเมืองท้องถิ่นด้วยวิถีพุทธ เป็นการนำแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเป็นกรรมในการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ ที่มีต่อประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ เช่น การดำเนินการโดยใช้หลักพละ 4 ราชสังคหะวัตถุ 4 หรือหลักทศพิธราชธรรม เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสงบสุขอย่างยั่งยืน

การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นการดำเนินที่เกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติการบริหารงานในองค์กรของรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น การบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต บริสุทธิ์ใจ เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีเมตตา การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใดๆ รวมทั้งการปฏิบัติราชการตามมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของหน่วยงานที่ตนเองสังกัดซึ่งมีสาระสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามกรอบรัฐธรรมนูญ การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมในการบริหารราชการของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และพฤติกรรมการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้นำ[4]

ดังนั้นในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาในการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธของนักการเมืองในจังหวัดพะเยา เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ ของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือประชาชนในเขตพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทสรุป

           จะเห็นได้ว่า CSR เป็นการบริหารจัดการที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งองค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกันความสำคัญของ CSR  แนวคิดและทฤษฎีทางธุรกิจที่ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดสู่องค์กรโดยส่วนใหญ่ ล้วนมุ่งไปที่การพัฒนาให้เป็นองค์กรที่ “เก่ง” ตัวอย่างทฤษฎีที่รู้จักกันดี ได้แก่ SWOT Analysis (Ansoff 1965) สำหรับการกำหนดตำแหน่งและการสร้างความสำเร็จขององค์กร หรือ Boston Matrix (BCG 1970) สำหรับการกำหนดความสำคัญและการสร้างความสำเร็จในผลิตภัณฑ์ หรือ Five Forces (Porter 1980) และ Diamond Model (Porter 1990) สำหรับการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นต้น    
สำหรับแนวคิดใน เรื่อง CSR จะมุ่งไปที่การสร้างให้องค์กรมีความ “ดี” ที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนของกิจการ เป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจากหลักคุณธรรม ดังนั้นในทางโลกธรรม มีต้นธรรมแห่งดอกผล CSR นั่นคือ สังคหะวัตถุ 4 หลักธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวบุคคล อันรวมถึงพลเมืองบรรษัท (Corporate Citizen) ให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปกติสุข สังคหะวัตถุ 4 ถือว่าเป็นต้นธรรมที่ผลิดอกผลเป็น CSR ขององค์กรธุรกิจ

ส่วนนักการเมืองท้องถิ่นในฐานะผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรต้องให้ความสำคัญกับการดำรงบทบาทการเป็นผู้นำกระบวนการ (Process Leadership) ที่มีความต่อเนื่องเป็นกิจจะลักษณะมากกว่าบทบาทการเป็นผู้นำกิจกรรม (EventLeadership) ที่จัดเป็นครั้งๆตามโอกาสในเชิงสัญลักษณ์สิ่งสำคัญถัดมาคือการให้ความสำคัญกับเรื่อง CSR โดยชี้ให้เห็นถึงคุณค่าหรือประโยชน์ที่จะได้รับอย่างเป็นรูปธรรมได้

บรรณานุกรม

โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 7.

กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2552.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : ส่วนท้องถิ่น, 2539.

ชูศักดิ์ เที่ยงตรง. การบริหารการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์, 2518.

บูฆอรี ยีหมะ. การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย, 2550.

ป.อ. ปยุตฺโต. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ :

เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์, 2543.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร,ดร. และคณะ. .CSR เชิงพุทธ. นนทบุรี : ดีไซน์ ดีไลท์, 2557.

พระสมพงษ์ สนฺตจิตฺโต. “กระบวนการสร้างความรับผิดชอบสากล (ยูอาร์) ขององค์กรภาคธุรกิจ

ที่รับผิดชอบต่อสังคม (ซีเอสอาร์) ด้วยการเปลี่ยนแปลงภายใน” รวมบทความสัมมนา

ทางวิชาการนานาชาติ (ภาษาไทย) เนื่องในงานประชุมวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 8.

อยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2554.

ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล, ความรู้สึกเชิงจริยธรรม ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบต่อ

สังคมของสมาชิกรัฐสภาไทย, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สังคมวิทยา),

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2547.

ลิขิต ธีรเวคิน. การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ :

ศูนย์วิจัยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2525.

ลิขิต ธีรเวคิน. การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น : อีกมิติหนึ่งของอารย

ธรรมโลก. (กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2528.

วิญญู อังคณารักษ์. แนวความคิดในการกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น. เอกสาร

ประกอบการบรรยาย, 2518.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, หลักรัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิดและกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 2,

กรุงเทพมหานคร : ธรรกมลการพิมพ์, 2551.

วีรวัฒน์ ปันนิตามัย. แนวทางการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social

Responsibility : CSR) ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัย

และพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ., 2553..

ศันสนีย์ ชุมพลบัญชร,พัฒนาการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในมุมมอง

ทางพระพุทธศาสนา, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย:

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555.

สุดารัตน์ แผลวมัจฉะ และจำลอง โพธิ์บุญ. “ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานความรับผิดชอบของ

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม : กรณีศึกษา กลุ่มบริษัทอูเบะ (ประเทศไทย)”

วารสารร่มพฤกษ์. (ปีที่ 28 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2553.) หน้า 74.

โสภณ พรโชคชัย. CSR ที่แท้. กรุงเทพฯ : มูลนิธิประเมินค่าทรัทพย์สินแห่งประเทศไทย, 2552.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.” แนวปฏิบัติ CSR : ในการดำเนินธุรกิจเอกสาร

ประกอบการสัมมนาความสอดคล้องมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO

26000) กับแนวคิด CSR. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยพัฒน์, 2553.

อนันตชัย ยูรประถม. CSR : พลังบริหารธุรกิจยุคใหม่หนทางสู่ความมั่งคั่งอย่างมี

คุณธรรม. กรุงเทพฯ : กองบรรณาธิการประชาชาติธุรกิจ สำนักพิมพ์มติชน, 2550.

อนันต์ อนันตกุล. การปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : พิฆเนศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์, 2521.

อุทัย หิรัญโต. การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บารมีการพิมพ์, 2523.

นภัทร์ แก้วนาค, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

( Qualitative Data Analysis Techic) , หน้า 6.

เว็ปไซต์

ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร. สืบค้นใน <govt101.blogspot.com/2008/08/blog-post_2237.html> 25 พฤษภาคม 2558.

บันได 3 ขั้น ในการสร้างธุรกิจแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม. สืบค้นใน

25 พฤษภาคม 2558.

CSR คือ ? สืบค้นใน < www.csrcom.com> 16 มกราคม 2558.





[1]นภัทร์ แก้วนาค, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ( Qualitative Data Analysis Techic) , หน้า 6.

[2] พระมหาสุทิตย์ อาภากโร,ดร. และคณะ. .CSR เชิงพุทธ. (นนทบุรี : ดีไซน์ ดีไลท์, 2557.) หน้า 2 - 4.

[3] เรื่องเดียวกัน. หน้า 10 – 11.

[4]วิรัช วิรัชนิภาวรรณ,หลักรัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิดและกระบวนการ, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร : ธรรกมลการพิมพ์, 2551), หน้า 192-198.

หมายเลขบันทึก: 620258เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2016 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2016 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท