ถ้าตอนนั้นฉันเรียนกิจกรรมบำบัด


ในคาบเรียนวิชากิจวัตรประจำวันและการฟื้นฟูสมรรถภาพ อาจารย์ได้ให้การบ้านในหัวข้อ Community survivors and Learning skills โดยให้ไปสัมภาษณ์บุคคลใกล้ชิด ผู้ปกครอง ผู้ป่วย ทุกช่วงวัย จำนวน 1 ท่าน สัมภาษณ์ถึงปัญหา หรือความบกพร่อง เช่น ด้านร่างกาย จิตใจ ที่เกิดขึ้นในอดีตหรือปัจจุบัน แล้วส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวันอย่างไร? แล้วสามารถที่จะเรียนรู้ พึ่งพาตนเองให้ผ่านปัญหานั้นมาได้อย่างไร? แล้วนำมาแลกเปลี่ยนความรู้กันในคาบเรียนครั้งหน้า

ดิฉัน จึงเลือกที่จะสัมภาษณ์คุณป้า อายุ 58 ปี ซึ่งเมื่อประมาณปี 2553 คุณป้าได้เกิดอุบัติเหตุลื่นล้มในห้องน้ำ ทำให้กระดูกข้อเท้าซ้ายร้าวและใส่เฝือกแข็งเป็นเวลา 1 เดือน ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานต่างๆมากมาย เช่น

  • -การอาบน้ำโดยไม่ให้โดนเฝือก มีความยากลำบากในการลุกยืนเพื่อหยิบอุปกรณ์อาบน้ำ
  • -การออกไปซื้ออาหารและทำอาหาร ซึ่งปกติคุณป้าชอบทำอาหาร จึงทำให้คุณป้าไม่ได้ทำอาหารในช่วงที่ใส่เฝือก เนื่องจากไม่สามารถยืนขาเดียวนานๆได้และมีอาการปวด
  • -การเดินทาง เคลื่อนย้ายตัวภายในบ้านโดย crutches (ไม้ค้ำยัน) เนื่องจากทางโรงพยาบาลให้ crutches มา แต่ไม่ได้วัดขนาดความสูงให้เหมาะสม ไม่ได้สอนวิธีการเดิน/การใช้ที่ถูกต้อง ทำให้ต้องมาขยับไม้ลงและใช้เดินแบบไม่ถูกวิธีเท่าที่ควร
  • -การเลี้ยงแมว เพราะ ที่บ้านเลี้ยงแมวจำนวนมาก ซึ่งปกติคุณป้าจะเป็นคนให้อาหารซะส่วนใหญ่ ทำให้ยากลำบากในการลุกนั่ง ดิฉันจึงเข้าไปช่วยอยู่เสมอๆ
  • -การทำงาน เนื่องจากคุณป้าเป็นข้าราชการ และที่ทำงานไกลต้องขับรถไปทำงานทุกวัน เมื่อเกิดอุบัติเหตุจึงต้องหยุดงาน 2 อาทิตย์แรกเนื่องจากปวดมาก แต่หลังจากนั้นก็พอที่จะขับไปทำงานเองได้

ทางด้านจิตใจ คุณป้ารู้สึกเป็นกังวลในหลายๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องการใช้ชีวิตในช่วงที่ต้องใส่เฝือก เรื่องสัตว์เลี้ยง กลัวว่าจะเป็นภาระให้ญาติๆต้องมาดูแล จึงอยากที่จะหายเร็วๆ อยากรีบถอดเฝือก เพื่อที่จะได้ไม่ต้องอยู่เฉยๆ

ในตอนนั้นดิฉันอยู่ชั้นมัธยมต้น ซึ่งยังช่วยอะไรคุณป้าไม่ได้มาก ทำได้แค่ให้กำลังใจ ไปซื้ออาหาร เลี้ยงสัตว์ และช่วยงานบ้านเล็กๆน้อยๆ ยังไม่ทราบวิธีที่จะทำให้คุณป้ามีสุขภาพที่ดีขึ้น ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันให้ดีที่สุด แต่ตอนนี้ที่ดิฉันได้มาเป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัด ทำให้ได้ทราบถึงเทคนิค วิธีการต่างๆที่เหมาะสม เช่น ใช้ commode chair (เก้าอี้อาบน้ำ) ในการนั่งอาบน้ำ ,วิธีการวัดขนาดและการเดินโดยใช้ crutches ของผู้รับบริการใส่เฝือก ,การลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้ ,มีการ weight bearing เพื่อเป็นการออกกำลังกายและลงน้ำหนักอย่างเหมาะสม รวมถึงควรติดแผ่นกันลื่นในห้องน้ำอีกด้วย

“ถ้าตอนนั้นดิฉันได้เป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัดแล้ว ดิฉันคงช่วยเหลือคุณป้าได้มากกว่านี้”


หมายเลขบันทึก: 620127เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2016 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2016 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท