กิจกรรมบำบัดกับคนใกล้ตัวเมื่อใช้มือไม่ได้ (Carpal tunnel syndrome)


ในวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา ผมได้เรียนวิชากิจวัตรประจำวันและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ในหัวข้อ Community survivors and Learning skills ได้มีการให้ไปสัมภาษณ์กรณีศึกษาจากคนใกล้ตัวที่เกิดการบาดเจ็บไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านร่างกาย หรือทางด้านจิตใจแล้วมานำเสนอ

ซึ่งในกรณีศึกษาของผมเป็นคุณป้า อายุ 48 ปี มีอาการ carpal tunnel syndrome ที่ข้างขวาซึ่งเป็นข้างที่ถนัด ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆได้สะดวกเหมือนเคย ขับรถไปทำงานเองไม่ได้ มีอาการปวด ชา บริเวณฝ่ามือและนิ้วมือ ซึ่งได้รับการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดแล้วฟื้นฟูเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ คุณป้าได้มีการใช้มืออีกข้างหนึ่งมาใช้งานแทนในการทำกิจกรรมต่างๆ(Compensation) แต่ก็มีการใช้มือข้างขวาบ้างแต่เมื่อปวดก็จะหยุดใช้งาน เอาน้ำอุ่นมาประคบก่อนนอน หลังจากนั้นอาการปวดก็หายไป แต่เวลาทำกิจกรรมต่างๆก็จะพยายามใช้มือข้างซ้ายมากกว่าข้างขวาเพราะกลัวว่าจะปวดอีกครั้งหนึ่ง

ซึ่งหากตอนนั้นผมที่เป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัด จะให้การรักษาทำกิจกรรมบำบัดก็จะให้คุณป้าทำกิจวัตรประจำวันที่สนใจโดยพยายามให้ใช้มือสองข้างแบบช่วยๆกันทำกิจกรรมไป(Bilateral activity) แต่ไม่ให้ใช้งานมากจนเกินไปจนเกิดอาการปวด แนะนำว่าระหว่างทำกิจกรรมให้การพักบ้างก่อนแล้วจึงทำกิจกรรมต่อ(Energy conservation) ไม่ยกของที่มีน้ำหนักมากจนเกินไปหรือหากสิ่งที่ต้องการจะยกมีน้ำหนักมากก็ให้ใช้อุปกรณ์ต่างๆมาช่วย เช่น การใช้รถเข็น เป็นต้น (Assistive technology) เพื่อไม่ให้เกิดการทำงานที่มากไปของมือซ้ายจนเกิดเป็นอาการที่มือข้างซ้ายอีกข้างและได้ใช้มือทั้งสองข้างในการทำกิจกรรมประจำวัน(Occupation)ได้อย่างมีประสิทธิภาพ(Performance)เหมือนเคย และเกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (Well-being)

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 620126เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2016 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2016 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท