แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการจัดการภาวะซึมเศร้า


เนื่องจากในรายวิชา กิจวัตรประจำวันและการฟื้นฟูสมรรถภาพ อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ไปสัมภาษณ์หรือหาข้อมูล บุคคลที่เคยประสบปัญหาหรือความบกพร่องไม่ว่าเป็นทางด้านร่างกายหรือจิตใจ ที่ส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวัน และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว เขามีวิธีการหรือมีการปรับตัว เพื่อให้ก้าวผ่านสิ่งต่างๆเหล่านั้นมาได้อย่างไร

ดิฉันจึงเลือกที่จะหาอ่านบทความจากกระทู้ต่างๆ ที่มีคนมาแชร์ประสบการณ์ และไปพบกับเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่ง ที่พบเจอปัญหาชีวิตในหลายๆเรื่อง จนทำให้สภาพจิตใจย่ำแย่ มีสภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย และไปกระทบกับดำเนินชีวิต รวมถึงกระทบกับความรู้สึกคนในครอบครัว แต่เมื่อเธอรู้ตัวว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น เริ่มไม่เป็นผลดี จึงตัดสินใจไปพบแพทย์ และได้คำตอบว่า เธอกำลังเผชิญอยู่กับภาวะซึมเศร้า

สาเหตุและอาการที่เป็น (Occupational performance)

สาเหตุของอาการ เนื่องมาจาก เธอได้แต่งงานใหม่ ทั้งๆที่ยังลืมแฟนเก่าไม่ได้ และยังคอยติดตามเรื่องราวของแฟนเก่าอยู่เสมอ ในตอนนั้นเธอกำลังตกงาน และกำลังศึกษาต่อปริญญาโท มีปัญหาเรื่อง ทำธีสิสไม่ผ่าน อีกสาเหตุหนึ่งที่เธอไม่แน่ใจ คือ อาจมาจากกรรมพันธุ์ ที่คุณแม่ของเธอมีอารมณ์ร้าย และมีอาการทางจิต

อาการที่เป็นก็คือ

-เธอนอนไม่หลับ เพราะคิดมาก และร้องไห้ทุกคืน

-เครียดเรื่องเรียนและเรื่องตกงาน และยังเก็บความเครียดนั้นไว้คนเดียว

-จากที่เคยชอบอ่านหนังสือ แต่ช่วงนั้นไม่มีสมาธิอ่านหนังสือ ชอบเหม่อลอย

-หงุดหงิดง่าย และตวาดสามี(ควบคุมตัวเองไม่ได้)

-รู้สึกเศร้า หดหู่ อยากตาย

-รู้สึกเหนื่อยง่าย ไม่อยากทำอะไร

-รับประทานน้อย ไม่หิว

-มองท้องฟ้าเป็นสีเทาๆมืดๆ

วิธีการจัดการ(Occupation adaptation)

-เมื่อรู้ตัวว่าตัวเองเริ่มมีอาการแปลกๆ จึงตัดสินใจไปพบแพทย์ และมีวินัยในการรับประทานยา (ยาลดอาการฟุ้งซ่าน ,ยานอนหลับ)

-นั่งสมาธิ ศึกษาธรรมะ เรื่องการปล่อยวางความทุกข์

-พิจารณาถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น นำไปปรึกษาพ่อแม่ ขอคำแนะนำ

-ปรึกษาอาจารย์ ขอคำแนะนำ และแก้ไขธีสิสตามที่อาจารย์บอก

-ไม่ติดตามข่าวของแฟนเก่า และให้ความสำคัญกับสามีคนปัจจุบันมากขึ้น

ปัจจุบันอาการต่างๆที่เคยเป็นได้หายไป กลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข และมีจุดมุ่งหมายในชีวิตอีกครั้ง(Occupation well-being) แต่อาการที่ยังไม่หายไปก็คือ เรื่องการนอนหลับ คือ จะฝันถึงเรื่องราวทั่วไป ตลอดทั้งคืน ทำให้ตื่นมาจะรู้สึกเพลีย เหมือนไม่ได้นอน มีวิธีการจัดการตัวเองคือ จะฝึกสมาธิ ปล่อยวางก่อนนอน หรือเตรียมสิ่งต่างๆ เตรียมงาน สำหรับวันพรุ่งนี้ให้เรียบร้อย เพื่อที่ตัวเองจะได้ลดและคลายความกังวล ก่อนจะเข้านอน

จากเรื่องราวที่ได้หามานี้ จึงรวบรวมนำมาทำเป็น Factsheet

ทั้งนี้ต้องขออนุญาตและขอขอบคุณ เจ้าของกระทู้ "โชคดี ที่เป็น "โรคซึมเศร้า" ..แชร์ประสบการณ์"

ที่ได้นำเรื่องราวเหล่านี้มาถ่ายทอด ให้เราได้ศึกษาและเรียนรู้ค่ะ

ที่มา :

http://pantip.com/topic/30891041



น.ส.อุมาพร โรจน์จินทะเวส 5723029

หมายเลขบันทึก: 620088เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2016 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2016 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท