การบริหารด้วยแนวความคิด Agile (2) - การตัดสินใจที่รวดเร็ว


เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานด้วยแนวความคิดแบบ Agile

การบริหารด้วยแนวความคิด Agile (2) - การตัดสินใจที่รวดเร็ว

Blog นี้ผมมาขยายความต่อเรื่องการบริหารด้วยแนวความคิด Agile ว่าคุณลักษณะ (Characteristics) ของการบริหารงานแบบ Agile มีอะไรเป็นหัวใจสำคัญๆบ้าง ในรายละเอียด

การตัดสินใจที่รวดเร็ว – ที่ผมเขียนในตอนที่แล้ว การตัดสินใจที่รวดเร็วและควรจะแม่นยำด้วยนั้น ต้องมีทั้งองค์ประกอบเรื่องคนและกระบวนการ ซึ่งหมายถึงต้องมีการกำหนดกระบวนการตัดสินใจ รวมถึงบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการตัดสินใจที่ชัดเจน ใครเป็นคนมีอำนาจตัดสินใจเรื่องไหน แค่ไหน และเมื่อไหร่ ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ตัดสินใจต้องมีทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญที่สามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ง่ายๆคือไม่ใช่เอาใครก็ได้มาตัดสินใจ (ถูกต้องไม๊ครับ)

ความยากคือ หลายครั้งมากที่คนที่มีข้อมูลรายละเอียดครบถ้วนขาดทักษะการตัดสินใจ ส่วนคนที่มีทักษะในการตัดสินใจกลับไม่มีข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้อง หลายๆคนคงคุ้นเคยกับสถานการณ์ที่น้องๆในระดับปฏิบัติการหรืออยู่หน้างาน ต้องรวบรวมข้อมูลต่างๆไปเสนอให้หัวหน้าหรือผู้บริหารระดับสูงขึ้นไปเพื่อการตัดสินใจ ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้า หรือผิดพลาดเนื่องจากข้อมูลตกหล่นหรือผ่านการตีความไปแล้ว ไม่ใช่ Facts

ที่เป็นแบบนี้ส่วนใหญ่เป็นเพราะ น้องๆระดับปฏิบัติการไม่ได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจ ผู้บริหารไม่ได้มอบความไว้วางใจ (Trust) และมอบอำนาจให้ตัดสินใจ (Empower) เลยเกิดวงจรแบบนี้ขึ้นและก็จะวนเวียนไปแบบนี้ และหลายๆครั้งที่ผมพบคือหัวหน้างานหรือแม้แต่ผู้บริหารก็ไม่มีทักษะการตัดสินใจ หรือไม่กล้าตัดสินใจ เลยยิ่งแย่เข้าไปกันใหญ่

ผมต้องคอยย้ำบ่อยๆให้ท่องไว้ 2 ข้อคือ

  • การ "ไม่" ตัดสินใจนั้น แย่ยิ่งกว่าการตัดสินใจผิด เหมือนเราขับรถแล้วเจอแยก เราไม่แน่ใจว่าต้องไปซ้ายหรือขวา ถ้าคุณไม่เลือกซักทาง คุณก็ไม่ต้องไปไหนกัน จอดรถอยู่เฉยๆ แต่ถ้าตัดสินใจเลือกถึงเลือกผิด ขับไปซักพักคุณก็จะได้รู้ว่าผิดและกลับรถได้
  • ข้อมูลไม่มีทางที่ครบถ้วน ไม่ทีทาง Perfect บางครั้งคุณก็ต้องใช้ประสบการณ์ “คาดคะเน” เอา ถ้าทำไม่ได้ ก็ให้ย้อนกลับไปข้อที่ 1

สรุปนะครับ ข้อแรกของการบริหารงานแบบ Agile คือต้องทำให้เกิดการตัดสินใจที่รวดเร็ว ซึ่งต้องมีการกำหนดกระบวนการและบทบาทในการตัดสินใจที่ชัดเจน และที่สำคัญที่สุดคือ คนที่ได้รับมอบหมายให้ตัดสินใจเป็นบุคคลที่เหมาะสมและมีความสามารถ และควรจะอยู่ใกล้ชิดกับประเด็นที่ต้องตัดสินใจมากที่สุดเพื่อให้มีข้อมูลที่เป็น Fact ที่ครบถ้วน

Blog หน้าผมจะมาขยายความเรื่อง การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ นะครับ

หมายเลขบันทึก: 620055เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 20:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท