กิจกรรมบำบัดไม่ได้อยากว่ายน้ำ


ที่จะเล่าบันทึกต่อไปนี้ เป็นเรื่องของกรณีศึกษาของนักศึกษาชาย คณะวิศวกรรมศาสตร์ และเคยเป็นนักกีฬาว่ายน้ำของจังหวัด ซึ่งปัจจุบันได้เลิกว่ายน้ำแล้ว

ย้อนกลับมาที่เหตุการณ์ก่อนหน้านี้ นักศึกษาผู้นี้ก็เหมือนนักศึกษาชายทั่วๆไป ชอบเล่นกีฬา ชอบทำกิจกรรม มีเพื่อนฝูงมากมาย และการที่สนุกกับการเล่นกีฬานั้นก็ไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะนำมาสู่อุบัติเหตุที่เมื่อนั่งข้างนอกสนามเราจะเห็นว่าเป็นการล้มที่กีฬาทุกๆกีฬามีกันหมดไม่น่าจะร้ายแรง แต่การเล่นบาสเกตบอลกับเพื่อนๆของนักศึกษาชายคนนี้ส่งผลให้เขามีอาการเอ็นเข่าคู่หน้าของขาซ้ายฉีกขาด (Anterior cruciate ligament) และการเข้ารับการรักษาคือการผ่าตัด

แต่นักศึกษาชายผู้นี้ถ้าถามว่าเจ็บไหม ก็ตอบได้ว่าเจ็บ แต่ถึงขั้นเดินไม่ได้หรือไม่? ก็ไม่ใช่เขายังสามารถเดินแต่ไม่สามารถวิ่งได้กับอาการบาดเจ็บระยะแรกนั้น ซึ่งตัวนักศึกษาเองนั้นยังไม่ได้เข้ารับการผ่าตัดเพราะคิดว่ามันยังไม่เป็นอะไรมากรอที่ตัวเองว่างก่อนน่าจะดีที่สุด ทำให้ไม่ได้รับการรักษาอยู่นาน

และวันผ่าตัดก็มาถึง ทุกอย่างเรียบร้อยดี ออกจากห้องผ่าตัดพร้อมกับเฝือกทั้งขา เดินไม่ได้ มีอาการเจ็บ แน่นอนว่าเป็นเรื่องปกติเมื่ออกมาจากห้องผ่าตัดช่วงแรก

และเวลาก็ผ่านไป การรักษาขั้นต่อมาก็คือการดูแลรักษาแผลผ่าตัด รวมทั้งการฝึกเดินทางกายภาพบำบัด แน่นอนนักศึกษาชายผู้นี้มีเป้าหมายที่ต้องทำหลังผ่าตัดนี้มากมายจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าการรักษาค่อนข้างที่เร็วจากการให้ความร่วมมือ ทั้งการทำกายภาพบำบัดและข้อปฏิบัติตามแพทย์แนะนำ กิจวัตรประจำวันต่างๆยังสามารถทำได้แต่ต้องทำในท่านั่งเท่านั้นไม่สามารถยืนได้เพราะจะมีอาการเจ็บที่เข่า อีกทั้งคนในครอบครัวเพื่อนที่มีมากมายต่างก็ช่วยดูแล ทำให้ช่วงการรักษานี้ผ่านไปได้ด้วยดี

แต่อย่างที่กล่าาไปก่อนหน้านี้นักศึกษาชายได้ปล่อยให้อาการของตัวเองเรื้อรังจนกลายเป็นว่าเอ็นเข่าคู่หลังของขาซ้ายมีอาการฉีกแต่ยังไม่ขาดร่วมด้วย(Posterior cruciate ligament)

ปัจจุบันนี้นักศึกษาชายกลับมาเดินได้ปกติทำกิจกรรมต่างและกิจวัตรประจำวันได้ปกติ แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เหมือนเดิมคือ เขาไม่สามารถเล่นกีฬาที่ต้องวิ่งอย่างนักได้ รวมถึงการว่ายน้ำของเขาด้วย เมื่อเขาลงไปว่ายน้ำความรู้สึกของการว่ายน้ำได้ต่างออกไปจากก่อนหน้านี้ที่เคยรู้สึก จากการที่ฟังเขาเล่านั้นรับรู้ได้ว่าไม่ใช่เขาว่ายไม่ได้แค่ว่ายได้ไม่ดีเหมือนเดิม แล้วจะว่ายน้ำต่อไปเพื่ออะไร

ในการรักษาทางกิจกรรมบำบัดเราจะเน้นถึงความต้องการของผู้รับบริการ (Client's need) ถามว่าเขาอยากทำอะไร แต่ในส่วนนี้ความต้องการของเขาไม่ได้มีว่าอยากจะกลับไปว่ายน้ำอีก ถ้าให้พูดง่ายๆทั่วไปว่าถ้าเรามีสิ่งหนึ่งที่ชอบและรักที่จะทำมันมากๆแต่แล้ววันหนึ่งเราก็ไม่สามารถที่จะทำมันได้ ร้อยทั้งร้อยเป็นใครก็รู้สึกว่าไม่โอเค รู้สึกเศร้า เสียใจ ต้องมีความรู้สึกสักอย่าง

จากการที่นำเรื่องราวของกรณีศึกษานี้ไปพูดคุยกับเพื่อนๆและอาจารย์ในห้อง สิ่งหนึ่งที่ได้เห็นและฟังมานั้นคือเรื่องของสภาพจิตใจที่ส่งผลต่อการทำกิจกรรมหรืออะไรก็ตามของเรา สภาพจิตใจมันสามารถควบคุมร่างกายเราทั้งได้ขนาดนั้นหรือ? ถ้าให้คิดเอาเองก็ร่างกายเรามีทั้งการทำงานที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจและนอกอำนาจจิตใจ ถ้าจะสรุปแบบง่ายๆไม่มีหลักฐาน มีแค่เรื่องราวของคนมากมายก็คงจะเห็นได้ว่าจิตใจของเราสามารถส่งผลต่อร่างกายเราได้

ถ้าคิดว่าจะใช้กิจกรรมบำบัดเข้ามาช่วยให้นักศึกษาชายคนนี้กลับไปว่ายน้ำเหมือนเดิม อาจจะยากหน่อยเพราะมันอยู่นอกเหนือความต้องการของเขาแล้ว แต่เราสามารถค่อยๆเยียวยาสภาพจิตใจที่เขามีต่อการว่ายน้ำได้ จากการที่ไม่สนใจมันแล้วในตอนนี้ อาจจะให้เขารู้สึกได้ลองกลับไปฝึกทำอีกครั้งก็ได้

แล้วทำไมต้องใส่ใจกับเรื่องนี้ด้วยในเมื่อไม่ใช่เรื่องของกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวัน ถ้าคุณไม่ได้ทำสิ่งที่ชอบไปตลอด คุณก็จะขาดสิ่งที่ทำให้คุณมีความสุขได้

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 620040เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท