สรุปบทความการจัดการความรู้สู่การสร้างองค์กรที่ประสบความสำเร็จ


สรุปบทความการจัดการความรู้สู่การสร้างองค์กรที่ประสบความสำเร็จ

Knowledge Management for Creating Organizational Success (นลวัชธ์ ขุนลา, เกษราภรณ์ สุตตาพงค์)

ความรู้และการจัดการความรู้

ราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 (2546) ระบุไว้ว่า ความรู้ คือ สิ่งที่สะสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติ ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นเป็นตามลำดับของความรู้ ดังภาพ

1.ข้อมูล(Data) 2. สารสนเทศ (Information) 3. ความรู้ในระดับสำนึกรู้ (Realization) 4. ความรู้ในระดับปฏิบัติการ(Action/Reflection)

5. ปัญญา(Wisdom)

ลำดับของความรู้ แสดงให้เห็นถึงการไหลของการเกิดความรู้ตั้งแต่ระดับข้อมูลจนถึงความรู้ในระดับปัญญา เนื่องจากในองค์กรล้วนมีข้อมูลมากมายทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้องค์กรจัดเก็บข้อมูลข่าวสารที่เป็นองค์ความรู้ เพื่อใช้บริหารจัดการและแก้ไขปัญหาต่างๆขององค์กร องค์กรจะต้องเปลี่ยนรูปข้อมูลและข่าวสารให้อยู่ในรูปขององค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติการหรือแก้ไขปัญหาได้ และต้องสามารถใช้ได้ผลกับหน่วยงานต่างๆ และกับพนักงานทุกคนภายในองค์กร

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการของการใช้ความรู้อย่างเหมาะสมและเป็นระบบ(Sallis & Jones, 2002) โดยบรูณาการความรู้ภายในองค์กรจากการรวบรวมความรู้ในตัวบุคคล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดเป็นความรู้ใหม่ที่ส่งผลให้บุคลากรในองค์กรสามารถนำไปเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (World Bank, 2002, อ้างถึงใน กัตติกา ศรีมหาวโร,2555) นอกจากนี้กระบวนการจัดการความรู้ขององค์กรยังช่วยสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Tiwana, 2001) แต่การจัดการความรู้นั้นต้องเหมาะสมถูกต้องกับบุคคลและเวลา (Allison, 2002) ดังนั้นการจัดการความรู้กลายเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญขององค์กรธุรกิจและก่อให้เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization:LO)


การนำความรู้ไปใช้ในการจัดการความรู้

การที่จะนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในองค์กรนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยคลังความรู้ (Knowledge Assets) การใช้ประโยชน์จากความรู้จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีการเผยแพร่ความรู้ และเกิดการแบ่งปันความรู้ รวมถึงการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านการถ่ายทอดความรู้(Knowledge Transfer) จากแหล่งทรัพยากรที่เหมาะสม

ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคล(tacit/Individual) หรือความรู้ที่ฝังอยู่ในกลุ่มบุคคลในองค์กร(Tacit/Group) เป็นความรู้จากการทำงานหรือประสบการณ์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลภายในองค์กร ซึ่งเป็นความรู้ที่ยากต่อการถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือคำพูด โดยผลการถ่ายทอดความรู้ฝังอยู่ในตัวบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในองค์กร ก่อให้เกิดความรู้ที่ชัดแจ้งของตัวบุคคล(Explicit/ Individual) หรือความรู้ที่ชัดแจ้งของกลุ่มบุคคลในองค์กร(Explicit/ Group) ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้จากการรวบรวมและการถ่ายทอดด้วยวิธีการต่างๆ ในการถ่ายทอดความรู้นั้น Jeremy และ Jonathan (2005,อ้างถึงใน พรพิมล หรรษาภิรมย์โชค, 2550) กล่าวว่ามีอยู่ด้วยกัน 4 ลักษณะ ได้แก่

1. การถ่ายทอดเป็นเรื่องๆภายในทีมเดียวกัน

2. การถ่ายทอดระยะใกล้กับทีมในสถานที่แตกต่างกัน

3. การถ่ายทอดระยะไกลกับงานที่ไม่ได้ทำประจำ

4. กลยุทธ์การถ่ายทอดของความรู้ที่ซับซ้อนและการถ่ายทอดที่มีความเชี่ยวชาญ

กระบวนการถ่ายทอดความรู้ที่กล่าวมา ต้องอาศัยวิธีการสื่อสารและเครื่องมือเพื่อจัดเก็บความรู้


การจัดการความรู้เพื่อสร้างความสำเร็จแก่องค์กร

หากองค์กรต้องการสร้างความสำเร็จ องค์กรนั้นต้องเน้นการปรับปรุงผกระบวนการหรือเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร รวมทั้งสร้างระบบการจัดการและการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้มีเครื่องมือและทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับการสร้างและเพิ่มสมรรถนะในการบริหารองค์กรเพื่อสร้างความสำเร็จ หนึ่งในนั้นคือ การจัดการความรู้เพื่อสร้างขีดความสามารถให้เกิดความเป็นเลิศในองค์กร

ดังนั้นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการความรู้สู่ความสำเร็จขององค์กร คือ

1. ผู้บริหารต้องทราบว่าความรู้ที่คนในองค์กรต้องการและเผยแพร่ ตลอดจนวิธีการสื่อสารความรู้เหล่านั้น ในขั้นตอนนี้สามารถใช้เครื่องมือ เช่น แผนที่ความรู้(Knowledge Mapping) เพื่อเห็นภาพของคลังความรู้ รวมถึงวิธีการดึงดูดความรู้จาดแหล่งต่างๆ และรวบรวมไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาให้เหมาะสมเพื่อสร้างความรู้ใหม่

2.องค์กรต้องจัดความรู้ที่มีอยู่ให้เป็นระบบ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหา และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้และเข้าถึงได้ง่าย

3. การเข้าถึงและการแบ่งปันความรู้ เพื่อให้บุคลากรในองค์กรทุกคนและทุกระดับสามารถติดตามข้อมูล ข่าวสาร การดำเนินการจัดการความรู้ในหน่วยงานได้อย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นต้องอยู่บนพื้นฐานของการสร้างบรรยากาศกิจกรรมการจัดการความรู้ ลการยอมรับความคิดเห็นของบุคลากร อีกทั้งองค์กรต้องส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อสกัดขุมความรู้ออกมาจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบันทึกไว้ใช้งานต่อไป


สืบค้นจาก : การจัดการความรู้สู่การสร้างองค์กรที่ประสบความสำเร็จ. (มกราคม-มิถุนายน 2558). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี, ปีที่35(ฉบับที่ 1), น. 133-141.

นางสาวพัชรินทร์ โลหา

คณะครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน

คำสำคัญ (Tags): #tacit/Individual#Explicit/ Individual
หมายเลขบันทึก: 620023เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2016 23:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 00:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท