ดนตรีกับการพัฒนาเด็กทีมีความต้องการพิเศษ



ดนตรีกับการพัฒนาเด็กทีมีความต้องการพิเศษ

"เด็กที่มีความต้องการพิเศษ" คือ เด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ ดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งวิธีการดูแลเด็กแต่ละกลุ่มก็มีความแตกต่างกัน และจะได้ผลมากน้อยขึ้นอยู่กับว่าเด็กแต่ละคนได้รับการค้นพบเร็วหรือช้าด้วย ยิ่งเริ่มต้นดูแล เอาใจใส่ แก้ไขข้อบกพร่องตามวิถีทางที่ถูกต้อง เด็กก็จะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมากขึ้นโดยจะมีวิธีการช่วยเด็กหลายวิธีนั้นก็คือ การใช้เสียงดนตรี ซึ่งอยู่ใกล้ตัวเรามาก เป็นสิ่งที่นำมาช่วยแก้ไขและพัฒนาเด็กพิเศษกลุ่มอาการต่างๆ ได้ในระดับที่น่าพอใจ

เด็กพิเศษแต่ละคนแม้จะไม่สามารถฝึกทักษะการเล่น การร้องได้เท่ากับเด็กปกติ แต่ทุกคนก็สามารถทำกิจกรรมดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่งได้แน่นอน ไม่มีใครสักคนที่หมดหวังจนไม่เหลืออะไร หรือทำอะไรไม่ได้เลย เด็กพิเศษมีปัญหาทางสมอง หรือทางอารมณ์มากๆ บางคนอาจตีแทมเบอรีนเข้าจังหวะได้ ตีกลองในลีลาที่ครูกำหนดให้ได้ บางคนร้องเพลงได้ และยังมีอีกกลุ่มที่ถึงกับเล่นเครื่องที่ยากขึ้นไปอย่างเช่น เปียโน หรือ กลองชุด โดยดนตรีจะช่วยแก้ปัญหาให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้แก่ 1.ปัญหาการเรียนรู้ คือ การให้เด็กแอลดีได้ทำกิจกรรมดนตรี เช่น การให้เคลื่อนไหวตามจังหวะเพลง โดยการตบมือ กระโดด เดิน เต้น ตามจังหวะเพลง จะช่วยทำให้เด็กมีสมาธิจดจ่อในการฟังจังหวะดนตรีและพยายามเคลื่อนไหวให้ถูกตามจังหวะของดนตรี ซึ่งเป็นการช่วยพัฒนาในเรื่องของสมาธิให้กับเด็กโดยตรง นอกจากนี้ ควรสอนให้เด็กในกลุ่มแอลดีร้องเพลง เพราะเด็กในกลุ่มนี้มีปัญหาในเรื่องของภาษาและการสื่อความหมาย โดยควรเริ่มสอนจากเพลงที่มีคำซ้ำๆและง่ายๆ เพื่อที่เด็กจะพูดและร้องตามได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีในการช่วยพัฒนาในเรื่องของภาษาแก่เด็กในกลุ่มแอลดีที่ได้ผลดีมากเลยทีเดียว 2. เด็กสมาธิสั้น คือ ดนตรีเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยเหลือและพัฒนาเด็กสมาธิสั้นได้ดีและได้ผลมาก โดยให้เด็กในกลุ่มนี้ได้มีโอกาสเล่นเครื่องดนตรี เพราะการเล่นเครื่องดนตรี เช่น เปียโน ระนาด กีตาร์ จะช่วยฝึกให้เด็กสงบและมีสมาธิในขณะที่เล่นเครื่องดนตรี อีกทั้งการฝึกให้เด็กอ่านโน้ตดนตรีจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กพัฒนาในเรื่องของความจำและการเรียนรู้ที่เป็นระบบได้ดีขึ้นอีกด้วย3. เด็กออทิสติก คือกิจกรรมดนตรีในด้านการฟังเป็นวิธีที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็กออทิสติกที่ได้ผลดี โดยการเปิดเพลงบรรเลงที่มีทำนองและจังหวะเร็วให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะเพลงร่วมกับผู้อื่น เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้มีการปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น นอกจากนี้ การเปิดเพลงบรรเลงที่มีทำนองและจังหวะช้าจะช่วยทำให้เด็กมีสมาธิและมีอารมณ์สงบ

ดนตรีจะช่วยให้เด็กฟังเกิดการรับรู้ ในสมองเกิดการทำงาน เมื่อทำกิจกรรมดนตรี ก็เกิดการร่วมมือของประสาทส่วนต่างๆ ตากับมือ มือซ้ายกับมือขวา เมื่อเต้นรำ ก็มีการทำงานร่วมกันของขาขวา-ซ้าย-มือขวา- ซ้ายและร่างกายส่วนต่างๆ ดนตรีช่วยให้เด็กรอคอยเป็น และเป็นสิ่งที่สำเร็จได้เร็ว ไม่ต้องรอคอยนาน ถ้าเขาทำเพลง 1 นาทีได้สำเร็จ ก็เป็นความสำเร็จอย่างหนึ่งแล้ว เด็กพิเศษต่างมีประสบการณ์แห่งความล้มเหลว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถูกเปรียบเทียบกับคนอื่น ดนตรีจึงเป็นกิจกรรมที่จะช่วยสร้างความมั่นใจในตัวเองได้

ดังนั้นดนตรีจึงมีความสำคัญกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นอย่างมากเพราะดนตรีเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเกิดการพัฒนาหลายด้านดังนั้นดนตรีถ้าเราสอนให้เด็กรักในดนตรี ให้ชอบในดนตรี สอนให้เด็กเต้นรำ เต้นเข้าจังหวะและนำเด็กเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นเท่านี้ก็เป็นการพัฒนาเด็กได้แล้ว

นางสาวชูจิภา การะเกษ ปี4 รหัส56181860220 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

หมายเลขบันทึก: 619661เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2016 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2016 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท