ความสำคัญของครูปฐมวัยและบทบาทหน้าที่ต้องทำเพื่อเด็ก


ความสำคัญของการศึกษาปฐมวัยคือการที่ครูจะสอนได้ดีนั้นจำเป็นต้องศึกษาเด็ก ยิ่งกว่านั้นงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการทางสมองมนุษย์ยั้งเน้นความสำคัญของการศึกษาปฐมวัยโดยเฉพาะในช่วงของ 5 ของปีแรกของชีวิตว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนรู้ และเด็กจำเป็นต้องได้รับการดูแล เอาใจใส่จากพ่อแม่หรือผู้ดูแลตั้งแต่แรกเกิดโดยการให้ความรัก การโอบกอด สัมผัส พูดคุย และเล่นกับเด็กเพื่อให้สมองของเด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ตามศักยภาพ

“ การจัดการศึกษาปฐมวัย ” หมายถึง การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี (5 ปี 11 เดือน 29 วัน ) ซึ่งการจัดการศึกษาดังกล่าวจะมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากระดับอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่สำคัญต่อการวางรากฐานบุคลิกภาพและการพัฒนาทางสมอง

ครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ต้องมีความรู้ในวิชาต่างๆ ร่วมมือกับเพื่อนร่วมวิชาชีพ (Colleague) สอนเด็กให้เรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิชาชีพ ครูปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ต้องมีคุณสมบัติหลากหลาย และบทบาทของครูปฐมวัยก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงในวิชาชีพ

ครูปฐมวัยมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติดังนี้

1. จัดการเรียนรู้และดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของเด็ก

2. จัดสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

3. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจของเด็ก

4. ฝึกทักษะกระบวนการคิด

5. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง

6. จัดการเรียนรู้โดยผสมผสานสาระการเรียนรู้ด้านต่างๆอย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน

บทบาทครูปฐมวัย คือ การกระทำ หรือพฤติกรรมการแสดงออกของคนตามสิทธิและหน้าที่ ภายใต้สถานการณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ครูเป็นบุคคลที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเด็ก ดังนั้น ครูจึงควรมีบทบาท ดังต่อไปนี้ เบญจา แสงมะลิ (อ้างใน เยี่ยมลักษณ์ อุดาการณ์, 2542) ได้กล่าวถึงบทบาทของครูผู้ดูแลเด็กไว้ว่าครูจะต้องมีบทบาทเป็น 9 นัก คือ

1. นักรัก ครูผู้ดูแลเด็กจะต้องเป็นคนที่รักเด็กและทำตัวให้เด็กรัก

2. นักเล่น ครูผู้ดูแลเด็กจะต้องเป็นคนที่สามารถเล่นกับเด็กได้

3. นักร้อง ครูผู้ดูแลเด็กจะต้องเป็นคนที่สามารถร้องเพลงเด็กได้ และสามารถเลือก เพลงที่เหมาะสมกับเด็ก

4. นักรำ ครูผู้ดูแลเด็กต้องมีความสามารถในการเคลื่อนไหวและการทำท่าทาง ประกอบจังหวะต่างๆ

5. นักเล่า ครูผู้ดูแลเด็กต้องเป็นนักเล่านิทาน หรือเรื่องราวต่างๆ

6. นักคิด ครูผู้ดูแลเด็กต้องเป็นคนที่คิดเก่ง ในเรื่องของการคิดกิจกรรม คิดประดิษฐ์ สื่อของเล่น คิดหาทางส่งเสริม กระตุ้นพัฒนาการเด็ก เป็นต้น

7. นักทำ ครูที่ดีต้องเป็นผู้ที่ขยันในการทำงาน ทำสื่ออุปกรณ์ต่างๆ

8. นักฝัน เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ช่างเพ้อฝันจินตนาการ ดังนั้นครูจะต้องเป็นคนที่ช่าง ฝันจินตนาการร่วมกับเด็กด้วย

9. นักแต่ง ครูปฐมวัยจะต้องเป็นผู้ที่สามารถแต่งนิทาน เรื่องราวต่างๆที่เหมาะสมกับ เด็ก ตกแต่งห้องเรียนสถานที่ แต่งเพลง และการรู้จักแต่งตัว


ที่มา

http://taamkru.com/th/ครูปฐมวัย-พันธุ์ใหม่มืออาชีพ -ตอนที่28/

http://www.e-child-edu.com

http://pratumwai53.blogspot.com/2012/12/blog-post_28.html?m=1

หมายเลขบันทึก: 619371เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016 23:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2016 11:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท