ครูปฐมวัย


“ ครูปฐมวัย ” หรือที่รู้จักกันดีในฐานะ “ ครูอนุบาล ” หลายๆคนอาจจะมองว่าการเป็นครูปฐมวัยไม่เห็นจะยากตรงไหนเลย ใครๆก็สอนได้ แต่ทุกคนจะรู้หรือไม่ว่าเด็กปฐมวัยคือรากฐานที่สำคัญของสังคมและประเทศชาติในอนาคต หากเด็กปฐมวัยไม่ได้รับการสอนที่ถูกหลักตรงกับพัฒนาการอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาอีกมากมาย ดังนั้นบทบาทและหน้าที่ของครูจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กปฐมวัย

ครูปฐมวัยมีหน้าที่ 4 อย่างคือ การดูแล สนับสนุน แนะนำหรือชี้แนะและอำนวยความสะดวก บทบาทของการดูแลคล้ายกับแม่ ซึ่งหน้าที่ด้านการดูแลเด็กคือ การทำหน้าท่เพื่อตอบสนองความต้องการทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจของเด็ก เอาใจใส่ต่อความปลอดภัย โภชนาการ สุขภาพ ครูปฐมวัยต้องดูแลความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยอย่างปกติสุขประกอบด้วยการดูแลการเจริญเติบ โต สุขภาพ พัฒนาการและความปลอดภัย

หน้าที่ด้านการศึกษาคือ พัฒนาทักษะพื้นฐานและความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย ให้มีความพร้อมที่จำเป็นสำหรับเด็ก เช่น พัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานและภาษา การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน การควบคุมพฤติกรรมตนเองอย่างมีเหตุผล พัฒนาทักษะทางสังคม ประสบการณ์พื้นฐานความรู้ทางวิทยาศษสตร์ คณิตศาสตร์และสังคม การส่งเสริมดูแลสุขภาพกายและจิตใจ


บทบาทสำคัญของครูปฐมวัย

บทบาทของครูปฐมวัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กมีดังนี้

1.เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายครูต้องจัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใหญ่การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็กการปฏิบัติตนตามสุขอนามัยการรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นในกิจวัตรประจำวัน

2.เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจครูต้องจัดกิจกรรมให้เด็กได้ชื่นชมสร้างสรรค์สิ่งสวยงามให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระเล่นเป็นกลุ่มเล่นในห้องเรียนและนอกห้องเรียนร้องเพลงเล่นเครื่องดนตรีง่ายๆมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับเสียงดนตรีและมีคุณธรรมจริยธรรม

3.เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมครูต้องจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางสังคมการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนการเล่นการทำงานร่วมกับผู้อื่นการแก้ปัญหาในการเล่นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการเคารพความคิ ดเห็นของผู้อื่นการปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่และความเป็นไทย

4.เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาครูต้องจัดกิจกรรมให้เด็กรู้จักการคิดการสังเกตการจำแนกการเปรียบเทียบจำนวนมิติสัมพันธ์เวลาและการให้เด็กรู้จักใช้ภาษาแสดงความรู้สึกด้วยคำพูดการพูดกับผู้อื่นการอธิบายเรื่องราวการอ่านในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็กอ่านภาพหรือสัญลักษณ์จากหนังสือนิทาน/เรื่องราวที่สนใจ

5.เป็นผู้สร้างเสริมสมาธิครูต้องจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆเช่นกิจกรรมสร้างสรรค์การร้อยลูกปัดการวาดภาพสีน้ำสีเทียนกิจกรรมเล่นอิสระตามมุมต่าง ๆ

ขณะนี้ครูปฐมวัยพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมาเป็นลำดับการพัฒนาจำเป็นอย่างมากเพราะความรู้และนวัตกรรมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาครูปฐมวัยมีอิทธิพลต่อเด็กเป็นอย่างมากต่อจากพ่อแม่ซึ่งเป็นครูคนแรกมีวิจัยที่ยืนยันว่าสิ่งที่พ่อแม่ทำเพื่อช่วยการเรียนรู้ของเด็กมีความสำคัญต่อความสำเร็จทางวิชาการยิ่งกว่าฐานะความมั่งคั่งของครอบครัว ซึ่งแปลว่า การที่พ่อแม่คอยช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้สำคัญมากกว่าพ่อแม่ที่ทิ้งลูกให้คนอื่นเลี้ยงเพื่อไปหาเงินทองมาซื้อวัตถุต่าง ๆบำรุงความสุขสบายให้กับลูก ซึ่งบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองที่ควรส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กปฐมวัยมี ดังนี้

1. มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาสถานศึกษา และให้ความเห็นชอบกำหนดแผนการเรียนรู้ของเด็กร่วมกับผู้สอนและเด็ก

2. ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษา และกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กตามศักยภาพ

3. เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ จัดบรรยากาศภายในบ้านให้เอื้อต่อการเรียนรู้

4. สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาตามความเหมาะสมและจำเป็น

5. อบรมเลี้ยงดู เอาใจใส่ให้ความรักความอบอุ่น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก

6. ป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ตลอดจนส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยประสานความร่วมมือกับผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้อง

7. เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งในด้านการปฏิบัติตนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และมีคุณธรรม นำไปสู่การพัฒนาให้เป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้

8. มีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้ของเด็ก และในการประเมินการจัดการศึกษาของสถานศึกษา


จรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539

จรรยาบรรณครู พ.ศ.2539 เป็นระเบียบที่คุรุสภาได้กำหนดขึ้นเพื่อ หลักปฏิบัติ แนวปฏิบัติให้แก่ผู้ที่ประกอบวิชาชีพครู ดังต่อไปนี้

1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์โดยเอาใจใส่ช่วยเหลือหรือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

<p “=””> 2. ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ </p>

3. ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และใจ

<p “=””> 4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์ </p> <p “=””> 5. ครูต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ </p>

6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู

8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์

9. ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

<p “=””> จากข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมาทุกคนคงจะเห็นแล้วว่าการทำหน้าที่ “ครูปฐมวัย” ไม่ได้ทำกันง่ายๆเหมือนอย่างที่ทุกคนเข้าใจถึงครูปฐมวัยจะสอนเด็กเล็กแต่บทบาทและหน้าที่ไม่ได้ง่ายอย่างชื่อเลย ดังนั้นเด็กควรได้รับการพัฒนาที่ถูกต้องตรงกับพัฒนาการเพื่อประโยชน์ต่อตัวเด็ก สังคมและประเทศชาติต่อไปในอนาคต

</p>


<p “=””>แหล่งอ้างอิง
</p> <p “=””>http://krudee1234.blogspot.com/2013/12/blog-post.html </p> <p “=””> http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?pa ge=sub&category=33&id=20821 </p> <p “=””>
</p>

หมายเลขบันทึก: 619283เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2016 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2016 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท