ความเป็นมาของการศึกษาไทยและวิวัฒนาการการศึกษาปฐมวัยของตะวันตก


ความเป็นมาของการศึกษาไทยและวิวัฒนาการการศึกษาปฐมวัยของตะวันตก

" การพัฒนาคนให้เป็นกำลังชองชาติ ที่มีประสิทธิภาพก็เป็นเรื่องควรทำวิธีการสร้างคนให้ดีที่สุด คือการให้การศึกษา " พระราชดำริ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เกี่ยวกับการศึกษาระดับก่อนประถมของไทยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงมีโครงการในพระราชดำริการจัดตั้งศูนย์เด็กปฐมวัย มีความสำคัญ ๒ ประการ ๑) เพื่อช่วยอบรมเลี้ยงดูเด็กกำพร้าจากมูลนิธิต่างๆ ๒) เพื่อเป็นสวัสดิการแก่ข้าราชบริพาน และข้าราชการจากหน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ในบริเวณพระบรมราชวัง สำหรับในชนบทมีโครงการอาหารกลางวันการศึกษาระดับอนุบาลของไทยมี ๔ สมัย เริ่มจากสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา ธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์แบ่งเป็น ๕ ยุค
ยุคที่ ๑ การศึกษาก่อนมีโรงเรียนเกิดขึ้นที่วัด มีพระสงค์เป็นครู ไม่มีหลักสูตรการสอน ไม่มีกำหนดเวลาเรียน การศึกษาในยุคนี้จัดให้กับเด็กผู้ชายเท่านั้น เด็กผู้หญิง(เป็นผู้มีฐานะดีและเชื้อพระวงศ์)จะอยู่ในรั้วในวังเด็กนักเรียนจำแนกได้เป็น ๓ ประเภท ได้แก่ พระ สามเณร นักเรียนที่(เป็นผู้มีฐานะ)เป็นศิษย์วัดจะเดินทางไปกลับ อายุของนักเรียนรับตั้งแต่ ๗-๘ ปีเป็นต้นไป
วิธีการเรียน

- เรียนแบบท่องจำไม่มีตำราเรียน

- ไม่มีการบันทึกวิชาที่เรียนไว้เป็นหลักฐานหนังสือ (บอกเล่าปากต่อปาก)

การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนมีระบบโรงเรียน ดังนี้

- มีการจัดการศึกษาให้กับบุตรของเจ้านาน และเชื้อพระวงศ์

- จัดการศึกษาสำหรับผู้มีฐานะดี (ข้าราชบริพาน)

- สำหรับบุคคลธรรมทั่วไปที่มีฐานะเรียนที่วัดสำหรับเด็กผู้ชาย

ยุคที่ ๒ การปฐมวัยศึกษาในโรงเรียนเริ่มมีขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๓๖
จัดตั้งในรูปแบบของโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนราชกุมาร และโรงเรียนราชกุมารี
วิธีการสอน

- ส่งเสริมให้เด็กอยากเรียนรู้
- สอนแบบเรียนปนเล่น
- สนับสนุนให้เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเอง

วิชาที่สอน

- อ่าน
- เขียน
- คิดเลข

จัดตั้งในรูปแบบของสถานเลี้ยงเด็กโรงเลี้ยงเด็ก ซึ่งพระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์
กรมขุนสุทธาสินีนาฎ พระอัครชายาในรัชกาลที่ 5 เป็นผู้ให้กำเนิดโดยมีกรมหมื่นดำรงราชานุภาพเป็นผู้อำนวยการคนแรก

จุดประสงค์ในการจัดตั้ง
๑. เพื่อให้การดูแลเรื่องอาหาร การหลับนอนสุขภาพและการศึกษาสำหรับเด็กกำพร้า ยากจน เด็กจรจัด
๒.ฝึกอบรมมารยาท และการเรียนหนังสือ การเล่น การร้องรำทำเพลง

เกณฑ์การรับเด็ก
- รับเลี้ยงเด็กชายเด็กหญิงที่พ่อแม่ยากจน
- เด็กหญิงอายุไม่เกิน ๑๑ ปี
- เด็กชายอายุไม่เกิน ๑๓ ปี
- การอบรมเลี้ยงดูเกี่ยวกับเรื่องอาหารการกินการสอนสุขภาพ เรียนหนังสือฝึกอาชีพและหางานให้ทำ
- บิดามารดาต้องทำสัญญายกเด็กให้เป็นสิทธิของโรงเลี้ยงเด็กจนกว่าเด็กจะประกอบอาชีพได้ เว้นเสียแต่ผู้เลี้ยงจะเห็นสมควรอนุญาตให้กลับไปได้

ยุคที่ ๓ การปฐมวัยสมัยมีระบบโรงเรียน
มีโครงการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๔๑
ชั้นมูลศึกษาเป็นการศึกษาเบื้องต้นเทียบได้กับปฐมวัยศึกษา แบ่งออกเป็น
1. โรงเรียนบุรพบท (อายุ ๗ ปี) จุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้มีความรอบรู้เมื่อเข้าเรียนโรงเรียนประถม

2. โรงเรียน กข.นโม รับผู้เรียนไม่จำกัดอายุ ให้เรียนการเขียน

3. โรงเรียน Kindergaden วิชาที่เรียน อ่าน คัด คำนวณ ใช้วัด บ้านในการเรียนการสอน ไม่มีหลักสูตร (หลักการเหมือนร.ร.นโม)

โครงการศึกษาชาติ พศ. ๒๔๔๕-๒๔๕๐, ๒๔๕๒-๒๔๕๖
๒๔๔๕ ได้รับอิทธิพลทางการศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่นเทพหัสดิน ณ อยุธยา)พระญาอนุกิจวิธูณนำเอาหลักสูตรญี่ปุ่นมาดัดแปลง
- กำหนดให้มีการศึกษาเบื้องต้นเรียกว่าประโยคมูลศึกษา
- กำหนดให้มีการสอบไล่ประโยคมูลศึกษา
- กำหนดวิชาเรียน อ่าน เขียน เรียนเลข

พ.ศ.๒๔๕๐
- กำหนดให้โรงเรียนที่ไม่มีชั้นมูลศึกษากำหนดให้จัดชั้นเรียนเพิ่มอีก ๑ ชั้น พ.ศ. ๒๔๕๒
- ประกาศใช้หลักสูตรมูลศึกษา กำหนดเวลาเรียน๒-๓ ปี
- กำหนดอายุเด็กเข้าเรียน ๗-๙ ปี
- กำหนดวิชาเรียนภาษาไทย มารยาท ให้มีวิชาเลือก ได้แก่ ศิลปะ วาดเขียน ขับร้อง

ยุคที่ ๔ การปฐมวัยศึกษาสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการปฐมวัยศึกษา
- เปลี่ยนชั้นมูลศึกษาเป็นชั้นอนุบาล ตามแนวคิดของ Froebel Montessori (1964) ตรงกับสมัยของรัชการที่ ๕

การจัดการศึกษาในรูปของอนุบาล
- โรงเรียนราษฎร์ที่เปิดแผนกอนุบาล คือ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (๒๔๕๔) จัดการเรียนการสอนตามแนวคิดของ Froebel ดำเนินการสอน
โดย Miss Enna ssana cold
- โรงเรียนราชินี ๑ เมษายน ๒๔๖๖ เป็นโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกที่ดำเนินงานโดยคนไทย (หม่อมเจ้าพิจิตรจิรภา เทวกุล) สอนตามแนวคิดของ Froebel, Montessori
๓ โรงเรียนมาแตร์ เดอี ๒๔๗๐ สอนตามคิดของ Froebel,
พรบ. ฉบับแรกกับการศึกษาปฐมวัยศึกษา
๑. กำหนดพระราชบัญญัติโรงเรียนราฎร์ ประกาศใช้วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๖๑ (รัชการที่ ๖) มุ่งประสงค์การเลี้ยงดูเด็กอ่อนเป็นสำคัญ และสอนให้เด็กรู้อ่าน รู้เขียนได้
๒. ตั้งโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของรัฐ

- เตรียมการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ.๒๔๘๐-๒๔๘๒) ส่งครูไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น

- นางจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา - นางสาว สมถวิล สวยสำอาง

- นางสาวจรัสวดี วรรณโกวิท - นางสาวเอื้อนทิพย์ วินิจฉัยกุล

- นางสาวเบญจา ตุงคะสิริ (แสงมะลิ)

การเปิดโรงเรียนอนุบาล
โรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของรัฐ โรงเรียนละอออุทิศ (๒ กันยายน ๒๔๘๓) ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ -๒๔๘๔ กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้ง “โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ” ขึ้นด้วยเงินบริจาคของนางสาว ลออ หลิมเซ่งไถ่ วัตถุประสงค์ คือ ใช้เป็นโรงเรียนทดลอง เป็นโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของประเทศไทย ที่เปิดสอนมาแล้วกว่า 50 ปี และเป็นโรงเรียนที่รับเด็กการศึกษาพิเศษ (เด็กที่มีความพิการทางหู ตาและสมอง) ในระดับอนุบาล เพื่อให้ได้เรียนร่วมกับเด็กปกติทั่วไป (Leaning Disability หรือ L.D.) ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความสนใจ ความเข้าใจของประชาชนในชั้นอนุบาลศึกษา การเรียนการสอนแบบเรียนปนเล่น (Play Way Method)

การขยายโรงเรียนในในส่วนภูมิภาค

๒๔๘๕ จังหวัดนครราชสีมา

๒๔๘๖ จังหวัดชลบุรี ตาก อยุธยา ราชบุรี ลพบุรี สงขลา พิษณุโลก

๒๔๙๑ มีโรงเรียนอนุบาลทั้งหมด ๒๑ โรง

๑๕๒๑ - ปัจจุบันมีประมณทั้งสิ้น ๔๒๓๐ โรง

ยุคที่ ๕ การศึกษาปฐมวัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง๒๔๗๙
การจัดการศึกษามุ่งให้เด็กอ่านออกเขียนได้ ๒๔๙๔ การอนุบาลศึกษารับเด็กอายุ ๓-๗ ขวบ
๒๕๐๑ - ๑๕๒๑ ถึงการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน

อ่านเติม: http://buriram1.go.th/index.php?index_php?view=article&id=229&tmpl=component&print=1&task=printblog&option=com_myblog&Itemid=150

หมายเลขบันทึก: 619125เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2016 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2016 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท