“ชั่วโมงหรรษา”


ประสบการณ์ที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน

“ชั่วโมงหรรษา”

1. ชื่อเรื่อง “ชั่วโมงหรรษา

ความภาคภูมิใจในการเล่าเรื่องนี้คือเป็นประสบการณ์ที่ดีในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้น ม.6 ให้ชื่อเรื่องนี้ว่า “ชั่วโมงหรรษา” จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้นี้คือ

1. พัฒนากระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์

2. มีทักษะในการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

3. มีความรู้ความเข้าใจในการในการทำจรวดขวดน้ำ และอาศัยหลักการทางวิชาฟิสิกส์ในเรื่องแรง การเคลื่อนที่ในสองมิติและแรงโน้มถ่วงของโลกได้

4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

2. โครงเรื่อง

เนื่องจากการเรียนการสอนในรายวิชาฟิสิกส์มีแต่เรื่องที่เกี่ยวกับทฤษฎี หลักการ การคำนวณทำให้นักเรียนที่เรียนวิชานี้เกิดความเครียดในการทำความเข้าใจเนื้อหาและทฤษฎี ซึ่งก่อให้เกิดทัศคติที่ไม่ดีต่อวิชานี้ และเนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ชุมนุมจรวดขวดขวดน้ำได้มีการซ้อมทำจรวดและพานักเรียนไปแข่งจรวดขวดน้ำและได้มีการซ้อมยิงจรวดที่สนามบอลบ่อยๆ ทำให้นักเรียนที่พบเห็นทั่วไปเกิดความสนใจและอยากมีส่วนร่วมกับกิจกรรมนั้นในการเรียนรายวิชาฟิสิกส์นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความสนใจในกิจกรรมดังกล่าวมาก ครูจึงจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยการทำจรวดขวดน้ำในคาบหน้า

3. การเดินเรื่องและขั้นตอนในการจัดกิจกรรม

1. ขั้นเตรียมการโดยให้นักเรียนทำการแบ่งกลุ่ม 4-5 คนและเตรียมอุปกรณ์ในการทำจรวดเองและกำหนดเงื่อนไขคือ ยิงไกลที่สุด โดยกำหนดกติกายิงที่แรงดันลม 40 ปอนด์

2. การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือและการแข่งขันเป็นทีม

เมื่อถึงวันที่นัดหมายคาบที่สอน เหตุการณ์ที่น่าประทับใจคือนักเรียนได้เดินมาตามครูผู้สอนและมาเอาฐานยิงจรวดไปที่สนามโดยบอกว่าเพื่อนรอที่สนามบอลแล้วซึ่งตอนนั้นเป็นช่วงพักย่อยของนักเรียน

เมื่อไปถึงสนามเหตุการณที่ประทับใจสุดๆ คือนักเรียนนั่งกันเป็นกลุ่มทำจรวดขวดขวดน้ำอย่างตั้งใจและจริงจัง โดยบางคนได้ค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ท บางคนสอบถามเพื่อน จากภาพที่ปรากกฎบางคนมีคำถามว่าทำไมจรวดถึงลอยบนอากาศได้? และทำอย่างไรจึงจะยิงจะจรวดไปได้ไกล? ซึ่งบางกลุ่มได้ทำตัวจรวดเพิ่มอีกถึง 2 ตัวโดยปรับเปลี่ยนทั้งปีกจรวด จำนวนดินน้ำมัน บางกลุ่มที่ทำแล้วขอทดลองยิงเมื่อพบปัญหาก็ทำการแก้ไขจนกว่าจะยิงได้ดีที่สุด

3. ขั้นแข่งขัน เมื่อถึงกำหนดเวลาก็ให้ทำการแข่งขันกันโดยตั้งกติกายิงด้วยแรงดันลม 40 ปอนด์โดยทำการยิงทีละทีมและทำการวัดระยะและจดบันทึกสถิติโดยให้ยิงทีมละ 2 ครั้ง นักเรียนต่างก็ลุ้นจรวดของตนเองปรากฏว่าก็ได้ทีมที่ชนะ ทีมที่ 1 ,2และ 3 เป็นเอกฉันท์ โดยทีมที่ 1 จะได้คะแนน 10 คะแนน ทีมที่ 2 จะได้คะแนน 9 คะแนน ทีมที่ 3 จะได้คะแนน 8 คะแนนและทีมอื่นๆได้ 7 คะแนนเท่ากัน

4. ขั้นสรุปผล จากนั้นครูก็ตอบคำถามทุกคำถามที่นักเรียนสงสัยและสรุปเนื้อเกี่ยวกับเรื่องแรงและกฎของนิวตัน การเคลื่อนที่ในสองมิติการเคลื่อนที่แบบโปรเจ็คไทล์ เช่นจรวดลอยบนท้องฟ้าได้อย่างไร อะไรมีผลต่อการที่ทำให้จรวดยิงได้ไกล การลอยบนท้องฟ้าของจรวดเรียกเป็นการเคลื่อนที่ 2 มิติหรือมิติเดียวเป็นต้น

4. ขั้นสรุปผลการทำกิจกรรม จากการทำกิจกรรมสามารถผลได้คือ

1. นักเรียนสามารถพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ได้

2. มีทักษะในการแก้ปัญหาโดยใช้ขั้นตอนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการทำงานเป็นกลุ่มตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆในการทำกิจกรรมได้

3. มีความรู้ความเข้าใจในการในการทำจรวดขวดน้ำ และอาศัยหลักการทางวิชาฟิสิกส์ในเรื่องแรงกิริยาและปฏิกิริยาได้ การเคลื่อนที่ในสองมิติหรือการเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์และแรงโน้มถ่วงของโลกได้


4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการดัดแปลงอุปกรณ์ต่างในระหว่าการทำกิจกรรมได้

สรุปจากการทำกิจกรรมดังกล่าวพบว่านักเรียนชอบกิจกรรมการเรียนวิชาฟิสิกส์แบบทำกิจกรรมมากจากการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนพบว่านักเรียนมีความมุ่งมั่นในการจรวดมากบางคนแววตาเป็นประกายแสดงถึงความสุขความหรรษากับสิ่งที่ทำ และนักเรียนมีการแบ่งหน้าที่กันทำ มีการช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่มมีการเอื้อเฟื้อแบ่งปันอุปกรณ์กับเพื่อนที่นำอุปกรณ์มาไม่ครบ มีการสอนเพื่อนทำจรวดด้วยตนเอง มันเป็นภาพการทำกิจกรรมที่ประทับใจครูผู้สอนมาก

คำสำคัญ (Tags): #จรวดขวดน้ำ
หมายเลขบันทึก: 618871เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2016 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2016 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท