​R2R Education'59 ; วันแห่งการเรียนรู้เริ่มต้น


R2R Education ; วันแห่งการเรียนรู้เริ่มต้น


การจัดงานเริ่มต้นพิธีเปิดด้วยความประทับใจ เป็นประเพณีทางภาคเหนือเรียกว่า "อ้อผญ๋า" เป็นปฐมบทเพื่อสร้างแรงฝัน ผสานปัญญา ตามความเชื่อว่าจะช่วยทำให้บุคคลเกิดปัญญาและสามารถเรียนรู้ได้ดี โดยมีพ่อครูแม่ครูทางภาคเหนือเป็นผู้นำพิธี นำมาซึ่งความประทับใจและเบิกบานของผู้เข้าร่วมประชุม

จากนั้นก็เป็นการโปรยโดย อ.หมอสุธีร์เพื่อเปิดประตูสู่การเรียนรู้ 5 กลุ่มย่อย

  • Knowledge Management & R2R
  • Transformative Learning
  • จิตตปัญญาศึกษา
  • Interprofessional Education
  • R2R Education

ในแต่ละห้องต่างล้วนมีความน่าสนใจ อาจารย์วิทยากรแต่ละห้องมาร่วมโปรยเพื่อเชิญชวนผู้เข้าฟัง เป็นการเริ่มต้นที่สนุกและไม่เครียด ... ห้องที่ดูเหมือนคนจะเข้าร่วมฟังมากที่สุด คือ ห้อง KM&R2R เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่มาเข้าร่วมประชุม 60 เปอร์เซนต์มาจากภาคบริการ ส่วนที่มาจากภาคการศึกษาก็เข้าไปเรียนรู้ตามความสนใจ

ห้อง KM&R2R ได้ออกแบบโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้การนำเครื่องมือสองอย่างนี้มาใช้ผสมสานกัน โดยกระบวนการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง ให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นและสัมผัสกับเทคนิคต่างๆ ทาง KM ก่อนเข้าสู่บทเรียน เราร่วมกันทำ BAR ถึงความคาดหวังของการเข้าร่วมเรียนรู้ในห้องนี้

“อยากเรียนรู้วิธีทำ R2R แบบง่าย"

“อยากเกิดแรงบันดาลใจ"

“อยากทราบถึงการเริ่มต้น R2R”

...

จากนั้นเราเริ่มกระบวนการเรียนรู้ด้วยการดู VTR ของปางมะผ้า เพื่อที่จะได้ฟังทั้งแนวคิดของท่านรัฐมนตรี และเรียนรู้การทำ R2R เชิงระบบในพื้นที่ที่มีโจทย์ยากอย่างปางมะผ้า

ผู้เข้าฟังส่วนใหญ่มาจาก รพ.สต. โรงพยาบาล และ สสอ. หลังจากดูวีทีอาร์เสร็จก็จับกลุ่มพูดคุยสุนทรียสนทนาเพื่อค้นหา core value ของการทำ R2R โดยเรียนรู้จากปางมะผ้า จากนั้นก็นำเสนอต่อกลุ่มใหญ่ ... แล้ววนกลับมาเรียนรู้กันอีกรอบเพื่อค้นหาความหมายและการเริ่มต้นการทำ R2R จาก VTR สุขง่ายใสงามป่าติ้ว... พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันรอบที่สอง (Share & Learning)

จากการตั้งข้อสังเกต การจัดกระบวนการเรียนรู้เช่นนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมมีความผ่อนคลายและเป็นอิสระต่อการพูดคุยแบบไม่ต้องกังวลในรื่องถูกผิด กระตุ้นเร้าด้วยคำถามและมีการสะท้อนคิดระหว่างกัน การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) ทำให้ได้ยินทั้งเสียงของตนเองและเสียนของผู้อื่น และที่สำคัญคือ เกิดความรู้ความเข้าใจได้เร็ว...

ท้ายสุดของการเรียนรู้ อ.ภญ.จำปี มาช่วย Reflection ภาพการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วโมงกว่านี้ ... และปิดท้ายด้วยการเสนอแนวคิดสั้นๆ เกี่ยวกับ KM&R2R

ส่วนตัวได้เรียนรู้อะไร ...จากการทำกระบวนการใน session นี้ ...

ได้เรียนรู้การจัดการเรื่องเวลาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติในเรื่อง KM&R2R เรียนรู้ที่จะใช้รูปแบบการจัดห้องแบบเธียเตอร์แต่สามารถประยุกต์ให้เกิดการทั่วถึงและผ่อนคลายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้...ผู้เข้าร่วมค่อนข้างมีความพร้อมและมีความตั้งใจมาก ท้ายสุดเราร่วมกันทำ AAR ประมาณแปดสิบเปอร์เซนต์มีแรงบันดาลใจ และมองเห็นวิธีการพร้อมที่จะกลับไปทำ R2R ในพื้นที่ของตนเอง เกิดความคิดต่อยอดจากการพูดคุยและการได้ดูวีทีอาร์จากคนต้นแบบ

สิ่งหนึ่งที่ปิ๊งแว้ปกับตนเอง คือ ...มากกว่าหกสิบเปอร์เซนต์เป็นภาคบริการที่เข้าร่วมงาน ซึ่งในกลุ่มนี้แท้ที่จริงแล้วก็คือ ...ผู้เรียนรู้ (Learner) หรืออาจเรียกว่าเป็นผู้ที่อยู่ในการศึกษานอกระบบ ซึ่งเป็นจำนวนที่มาก เราไม่ควรขีดวงจำกัดการศึกษาเพียงแค่ในระบบหรือสถาบันเท่านั้น เพราะความจริงตามธรรมชาติ...มนุษย์คือผู้เรียนรู้และพร้อมทำการศึกษาผ่านความเป็นจริงของชีวิต ภายใต้บริบทจริง สถานการณ์จริง เมื่อไรก็ตามที่เราเพ่งมองในเรื่องการจัดการศึกษาจำกัดเพียงแค่ในห้อง ในสถาบัน เราจะพลาดโอกาสของการจัดการศึกษาทั้งชีวิตของผู้คน...

...

16 พฤศจิกายน พ.ศ.2559











คำสำคัญ (Tags): #r2r education#km#r2r
หมายเลขบันทึก: 618718เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท