นายกฤษฎา ชัยจำรัส


หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 และการวัดและประเมินผลในศตวรรษที่ 21

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 จะมีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ ท้าท้าย และซับซ้อน เป็นการศึกษาที่ทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเต็มไปด้วยสิ่งท้าทายและปัญหา รวมทั้งโอกาสสิ่งที่เป็นไปได้ใหม่ๆที่น่าตื่นเต้น

โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 จะเป็นโรงเรียนที่เป็นหลักสูตรแบบยึดโครงงานเป็นฐาน (project – based curriculum) เป็นหลักสูตรที่เน้นเกี่ยวกับปัญหาในโลกที่เป็นจริง เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์ และเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับอนาคตเชิงวัฒนธรรม สังคม และสากลภาพของโรงเรียนจะเปลี่ยนจากสิ่งก่อสร้างเป็นภาพของการเป็นศูนย์รวมประสาท ( nerve centers ) ที่ไม่จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน แต่จะเชื่อมโยงครู นักเรียน และชุมชน เข้าสู่ขุมคลังแห่งความรู้ทั่งโลก ครูเองจะเปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ไปเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถเปลี่ยนสารสนเทศเป็นความรู้ และนำความรู้เป็นเครื่องมือสู่การปฏิบัติและให้เป็นประโยชน์ เป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ และต้องมีการสร้างวัฒนธรรมการสืบค้น ( create a culture of inquiry )

การวัดผลประเมินผลแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นการวัดผลแบบ “constructivist assessment” ซึ่งมักนิยมเรียกว่า “การวัดผลเชิงประจักษ์ หรือ Authentic Assessnent” ตามทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism Theory ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ A student-centered learning หรือ Experience Learning ด้วยมุมมองที่ว่า ผู้เรียนที่ “ผ่าน” ประสบการณ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาแล้วย่อมมีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงในเรื่องนั้นๆ และผู้เรียนที่ได้ “ลงมือทำจริงๆ” โดยการ Learning by doing มาแล้ว ย่อมสามารถสร้างคุณสมบัติให้พวกเขามีบุคลิกลักษณะ “Charaeter” ที่คิดเป็น ทำเป็น และสามรถแก้ปัญหาได้นั่นเอง

แหล่งอ้างอิง

www.ptu.ac.th

www.gotoknow.org

หมายเลขบันทึก: 618711เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016 19:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ อ่านแล้วเข้าใจมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท