นิทานเรืือง สอนบัณฑิต ???


คุณธรรม๔ประการคือให้อภัย อดทน เสียสละและสามัคคี


วันนี้อ่านทบทวนเอกสารหลักสูตรการสอนคุณธรรมจริยธรรมโดยใช้เพลงและนิทานของ ศาสตราจารย์กิติคุณอำไพ สุจริตกุล ซึ้่งท่านเมตตาเป็นวิทยากรอบรมคุณธรรมให้แก่นิสิตหลักสูตรสังคมศึกษา คณะครุศาสตรฺ์ มมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ เป้็นระยะเวลาหลายปี การอ่านครั้งนี้เพิ่มความประทับใจในนิทานเรืือง "สอนบัณฑิต" ซึ่งสะท้อนแง่คิดสะกิดใจในหลายประเด็นจึงอยากนำมาแบ่งปันดังนี้คะ

พระราชาเมืองหนึ่งต้องการจะซ่อมและเสริมค่ายคูประตูหอรบเพื่อเตรียมพร้อมไว้รับศึกต้องการเงินทองเข้าท้องพระคลังจำนวนมาก จึงมอบให้พ่อค้าเลี้ยงหมูพันธุ์พิเศษเลี้ยงชะมดกลิ่นหอมประหลาดและเลี้ยงหอยมุกพันธุ์พิเศษเพื่อส่งผลผลิตเป็นสินค้าสร้างรายได้แก่ประเทศ

แต่กลับพบว่าหอยมุกหมูและชะมดทะเลาะกันทุกวันแม่หมูบ่นรำคาญชะมดเช็ดว่าดีแต่เดินไปเดินมาเอาก้นเช็ดกรงทั้งวันทั้งคืนจนแม่หมูเวียนหัวและแม่หมูก็เบื่อตัวเองว่าออกลูกมากี่ตัวๆพ่อค้าก็เอาไปขายหมด

ชะมดก็รำคาญเจ้าหอยชึ่งซุบซิบๆ กันทั้งวันหนวกหู และเบื่อตัวเองที่ต้องเอาก้นเช็ดตรงให้พ่อค้าขูดไปขายทุกวัน

หอยมุก เบื่อตัวเองที่ต้องผลิตสารน้ำเมือกออกมาหุ้มสิ่งแปลกปลอมแสนระค่ายเคืองที่พ่อค้าเอาไปใส่ในตัวและรำคาญแม่หมูกับลูกๆที่ทำให้ขี้หมูไหลลงสระน้ำทำให้ที่อยู่ของหอยขุ่นและเหม็นทั้งที่อาหารของหอยมุกคือแพลงตอน ซึ่งกินขี้หมูเป็นอาหาร

ต่างฝ่ายต่างทะเลาะกันและโกรธพ่อค้าว่าทำไมไม่เลี้ยงตนเพียงอย่างเดียวหรือสองอย่างก็พอทุกวันทุกคืนมีแต่เสียงทะเลาะ

พ่อค้าฟังไม่รู้เรื่องได้แต่สงสัยว่าทำไมรายได้จึงตกต่ำลง สินค้าไม่มีคุณภาพปริมาณน้อยลงรายได้ของประเทศไม่เพียงพอจะซื้ออาวุธหรือซ่อมกำแพงเมือง ถูกพระราชาตำหนิติเตียนและคาดโทษทำให้หงุดหงิดใจ

วันหนึ่งพ่อค้าพบบัณฑิตที่รู้ภาษาสัตว์ และรับอาสาช่วยอธิบายให้หมู ชะมดและหอยมุกรู้คุณค่าของตัวเองพร้อมให้ยึดมั่นคุณธรรม๔ประการคือให้อภัย อดทน เสียสละและสามัคคีทำให้สัตว์ทั้งสามเลิกทะเลาะกันช่วยเพิ่มผลผลิตเป็นสินค้าขายได้กำไรมากมาย

พระราชาได้เงินทองล้นพระคลังใช้ทำนุบำรุงบ้านเมืองมั่นคงเจริญรุ่งเรือง พ่อค้าได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติประชาชนมีความสมบูรณ์พูนสุข

หมายเลขบันทึก: 618672เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016 00:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016 00:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท