KM in Psychi Team "กิจกรรม KM ในงานสุขภาพจิตและจิตเวช"


KM in Psychi Team

"กิจกรรม KM ในงานสุขภาพจิตและจิตเวช"

กิจกรรมในช่วงสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ปีนี้จัดกิจกรรมตรงกับวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

กลุ่มงานจิตเวช ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้เครื่องมือ KM ดังนี้คือ

1. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share & Learning) ร่วมกับผู้ที่มีความรู้และทักษะทางด้านการเยียวยาทางจิตใจ

ซึ่งกิจกรรมในวันนี้เริ่มต้นจากการเรียนรู้ในกลุ่มใหญ่ "การปฐมพยาบาลทางใจ--คุณก็ช่วยคนอื่นได้" รูปแบบเริ่มต้นด้วยการบรรยาย แล้วเชื่อมด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ร่วมกับการทำการสะท้อนคิด (Reflection)

2.แบ่งกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มย่อย โดยมีวิทยากรจากศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 ร่วมเป็น Facilitator

กิจกรรมการเรียนรู้ตามกลุ่ม (ฐาน) 3 กลุ่ม หมุนวนกับครบทุกฐาน ประกอบด้วยเนื้อหาการเรียนรู้ใน ดังนี้

- การประเมินตนเอง/การประเมินความเครียด

- ภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

- เทคนิคการคลายเครียด/การปฐมพยาบาลทางใจ

เน้นการฝึกปฏิบัติ (Training )และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (Share&learning)

3.การสรุปและสะท้อนบทเรียน (Reflection / AAR) ที่นำไปสู่การเสริมสร้างพลังใจและสร้างแรงบันดาลใจในการกลับไปปฏิบัติตามประสบการณ์จริงในพื้นที่

อสม.ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลไกที่สำคัญที่เชื่อมรอยต่อการทำงานและเยียวยาคนในชุมชนได้ แสดงออกทางความคิดและแลกเปลี่ยนผ่านประสบการณ์จริงได้อย่างน่าชื่นชม รวมถึงให้ความสนใจในการเรียนรู้ในวันนี้ได้อย่างต่อยอดจากฐานความรู้เดิมที่มีในงานสุขภาพจิต

เกิดปรากฏการณ์ของการสร้างพลังความร่วมมือในการทำงาน ระหว่าง อสม. บุคลากรใน รพ.สต. และบุคลากรใน สสอ.เมือง สสจ. และ รพ.ยโสธร ได้อย่างเป็นหนึ่งเดียว...

#KMinPsychiTeam



แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และใช้เป็นกิจกรรมการถ่ายภาพร่วมกัน ... เน้นการผ่อนคลาย และเติมองค์ความรู้ผ่านโปสเตอร์ ที่สามารถทำความเข้าใจได้ด้วยตนเอง ในเวลาสั้นๆ

เนื้อหาที่เน้นเกี่ยวกับเรื่อง "การปฐมพยาบาลทางใจ"...ซึ่งเหมาะกับการเกิดภาวะวิกฤติทางสุขภาพจิต ซึ่ง อสม. และบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่สามารถนำไปใช้ได้เบื้องต้นในพื้นที่


ท่านรองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ พญ.รุ่งฤดี ตั้งวงศ์ชัย ...มามอบแนวคิดและกำลังใจในการจัดงานครั้งนี้


คุณชนัญชิดา จุฑาสงฆ์ หัวหน้างานสุขภาพจิตและจิตเวชจังหวัดยโสธร ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำแนวคิดทางวิถีพุทธมาประยุกต์ใช้เมื่อประสบกับความทุกข์ทางจิตใจ


คุณสุภาพร จันทร์สาม หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวช เติมเต็มองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลทางใจ เมื่อบุคคลประสบกับภาวะวิกฤตทางด้านสุขภาพจิจ


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มย่อย เรื่องภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย บรรยากาศการแชร์ประสบการณ์จริงจากการทำงานในพื้นที่ดีมาก ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของตนเองในชุม


ห้องย่อยเรื่องการประเมินตนเองและการประเมินความเครียดด้วยตนเอง ... ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นที่ อสม.และบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อให้เกิดการเข้าถึงระบบบริการได้อย่างรวดเร็ว


แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเรื่องเทคนิคคลายเครียดและการปฐมพยาบาลทางใจ ...ซึ่งเป็นการผสมผสานทั้งความรู้ใหม่และความรู้เก่าที่มี ร่วมกับประสบการณ์จริงที่เคยผ่านมาเล่าสู่กันฟัง


โรงทาน "PsychiTeam&AntYong : ไซไคย์ทีมแอนด์อันหยอง" ... เป็นกิจกรรมเล็กๆ ที่คณะทำงานมีความตั้งใจสร้างกุศลทานบารมี เพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พ่อของแผ่นดิน ...

หมายเลขบันทึก: 617936เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2016 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2016 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท