เสาวณีย์
นางสาว เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์

วิจารณ์พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520 (ครั้งที่2)


วิธีการและลักษณะของการส่งเสริมการลงทุนนั้นมีลักษณะอย่างไร?

 

                                                   พิจารณาประเด็นที่ 2  

                                         หลักการส่งเสริมการลงทุน     

              การส่งเสริมการลงทุน คือการชักจูงและเร่งรัดให้มีการลงทุนเกิดขึ้น          หลักการส่งเสริมการลงทุนนั้นมีทั้งมาตรการที่เป็นมาตรการทางกฎหมายและมาตรการที่มิใช่ทางกฎหมาย     

                                           มาตรการทางกฎหมายได้แก่ วิธีการที่รัฐอาศัยอำนาจนิติบัญญัติออกกฎหมายให้สิทธิพิเศษ ให้หลักประกัน การคุ้มครอง ตลอดจนการผ่อนผันและยกเว้นหลักกฎหมายอื่นๆวิธีการเหล่านี้เรียกว่าการให้สิ่งจูงใจทางกฎหมาย หรือตามกฎหมายไทยเรียกว่าการให้สิทธิประโยชน์ และนอกจากนี้                                     

                                       มาตรการที่ไม่ใช่ทางกฎหมายได้แก่ การปรับปรุงภาวะทางเศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เช่นการคมนาคมขนส่ง การสื่อสาร ท่าเรือ ให้เหมาะสมต่อการเป็นที่ดึงดูดของนักลงทุน โดยที่มาตรการส่งเสริมการลงทุนดังกล่าว ปกติจะดำเนินการโดยประเทศผู้รับการลงทุน                        

                                            เหตุผลที่ต้องมีการส่งเสริมการลงทุน 

                        เนื่องมาจากตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960  เป็นต้นมารัฐบาลของประเทศต่างๆส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนาได้เร่งรัดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน โดยที่ประเทศในระบบเสรีนิยมเห็นว่าภาคเอกชนจะมีส่วนในเรื่องการนำมาซึ่งเงินตราต่างประเทศ การจัดการและเทคโนโลยีก่อให้เกิดการจ้างงาน การใช้และการพัฒนาทรัพยากรและวัตถุดิบในประเทศจึงจำต้องส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้เอกชนเข้ามามีส่วนในการลงทุนมากขึ้น ในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนจากต่างประเทศก็เป็นที่ประจักษ์ว่า ในขณะที่ความต้องการการลงทุนต่างประเทศโดยประเทศผู้รับการลงทุนมีเพิ่มขึ้น  แหล่งการลงทุนจากต่างประเทศโดยปกติจะมาจากประเทศที่พัฒนาแล้วมีอยู่จำกัด จึงทำให้มีการแข่งขันในระหว่างประเทศผู้รับการลงทุนในการที่จะชักจูงและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศไปสู่ประเทศของตน                                                           

                                                วิธีการส่งเสริมการลงทุนโดยกฎหมาย        

                          การส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนโดยกฎหมาย เป็นวิธีการในการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศที่สำคัญประเภทหนึ่ง กล่าวคือการออกกฎหมายพิเศษมาเพื่อให้สิทธิประโยชน์ ในเรื่องต่างๆ แก่คนต่างชาติ สำหรับกฎหมายที่กำหนดสิทธิประโยชน์เช่นว่านั้น แต่ละประเทศจะมีการกำหนดที่ไม่ เหมือนกัน โดยจะมีความแตกต่างกันไปตามความต้องการ และสภาพแวดล้อมของประเทศนั้นๆบางประเทศก็จะทำเป็นกฎหมายการลงทุนโดยทั่วไป ซึ่งให้สิทธิประโยชน์กับคนต่างชาติและคนชาติของตนตามกฎหมายฉบับเดียวกัน เช่นประเทศไทยจะใช้กฎหมายส่งเสริมการลงทุน โดยทั่วไปทั้งคนไทยและคนต่างชาติจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ฉบับเดียวกัน ซึ่งกำหนดสิทธิประโยชน์ หลักประกัน และการคุ้มครองในเรื่องของการลงทุนไว้อย่างละเอียด   พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  พ.ศ. 2522 ซึ่งกำหนดให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ลงทุนที่ตั้งสถานประกอบการในเขตอุตสาหรรมของการนิคมอุตสาหกรรม และกฎหมายว่าด้วยปิโตเลียม ซึ่งได้ให้สิทธิพิเศษบางประการแก่ผู้รับสัมปทานทางปิโตเลียมแต่บางประเทศก็จะมีกฎหมายการลงทุนแยกต่างหาก นอกจากนี้ก็ยังมีกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับนักลงทุนต่างชาติ เช่น  พระราชบัญญัติเงินชดเชยภาษีอากร ซึ่งให้การชดเชยภาษีอากรแก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก และพระราชกฤษฎีกาทีออกตามประมวลรัษฏากรยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีบางประเภทเพื่อประโยชน์แก่การส่งเสริมการลงทุน กฎหมายเหล่านี้ถือเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการลงทุนทั้งนั้น                   

                                               พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน

                               สิทธิประโยชน์สำหรับกิจการลงทุนในเขตส่งเสริม การลงทุน สิทธิประโยชน์พิเศษนี้เป็นสิทธิประโยชน์พิเศษทางภาษีศุลกากร โดยใช้ทั้งการยกเว้นและลดหย่อนภาษีอากรดังกล่าวมาแล้ว สิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับกิจกรรมที่ตั้งอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุนนี้เป็นสิทธิประโยชน์ที่กำหนดขึ้นเพื่อการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาคซึ่งเป็นการลดปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เช่นการลดความเหลี่ยมล้ำในเรื่องของความเจริญ สร้างโอกาสในเรื่องของการทำงานของประชาชนในแถบภูมิภาค เป็นต้น    

                             ในกฎหมายส่งเสริมการลงทุน จึงให้อำนาจแก่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดเป็นเขตส่งเสริมการลงทุน และให้อุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบการในเขตส่งเสริมการลงทุนนั้นได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายเพิ่มเติม

                           ซึ่งคณะกรรมการจะกำหนดเป็นคราวๆไปเพื่อความเหมาะสมสำหรับสิทธิพิเศษที่จะให้แก่ผู้ไปประกอบการในเขตส่งเสริมการลงทุนนี้       

หมายเลขบันทึก: 61773เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท