Take Home Examination: Ergonomic - Dementia


Case study 2: เคสวัย 70 ปี ที่เป็นสมองเสื่อมมา 3 ปี ไม่อยากออกสังคม เงียบอยู่คนเดียว เดิมเป็นทนายความ และเครียดด้วยภาวะหนี้สินสะสมจากคดีความที่ไม่สำเร็จ แต่อยากช่วยครอบครัวทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง ชอบปลูกต้นไม้ทานได้


1.วิเคราะห์ตาม PEOP ดังนี้

P E O P

Self
-อายุ 70 ปี

-เป็นโรคสมองเสื่อม (Dementia)มา 3 ปี
-อยู่ในระยะสมองเสื่อมระดับเล็กน้อย
-ลืมเรื่องที่พึ่งเกิดขึ้น (short term memory) ความจำในอดีตยังมีอยู่ (long term memory)

-จ่อจ่อกิจกรรมต่างได้ไม่นาน

-ไม่สามารถทำสิ่งใหม่ๆได้

-ทำกิจวัตรประจำวันเองได้ พึ่งพาตนเองได้
Physical limitation

-มีอาการหลงลืม

Mental

-Cognitive Lv.3

-Emotion : รู้สึกเครียดเนื่องจากมีหนี้สินสะสมจากคดีความที่ไม่สำเร็จ

-Personality : Introvert

-Psychosocial skill : Self-management skill

Stress management : มีปัญหาการจัดการภาวะเครียด

Physical
-บ้าน

-สวน

Social

ครอบครัว
Financial status

-มีหนี้สินสะสมจากคดีความที่ไม่สำเร็จ

Work: อดีตเคยทำงานเป็นทนายความ

Leisure: ชอบปลูกต้นไม้ทานได้

Social participation :
ไม่ออกสังคม เงียบอยู่คนเดียว

ability
ผู้รับบริการสามารถปลูกต้นไม้ทานเองได้

นักกิจกรรมบำบัด เพิ่มทักษะการทำงานในลักษณะกิจกรรมยามว่างของผู้รับบริการโดยการปลูกต้นไม้ทานเองได้



P+E= Motivation: อยากช่วยครอบครัวทำงาน

P+E+O+P=Role transformation: เปลี่ยนบทบาทจากคนทำงานเป็นผู้สูงอายุสมองเสื่อม


2.วิเคราะห์ตาม
OBP-In depth (PEOP+MOHO)

Volition Subsystem

  • Personal causation : เชื่อในความสามารถตนเองคือ สามารถปลูกต้นไม้ทานได้
  • Value : ให้คุณค่าของการทำงาน ให้คุณค่ากับการปลูกต้นไม้ทานได้
  • Interests : สนใจในการปลูกต้นไม้ทานได้

Habituation Subsystem

  • Internalized Roles : แม่/พ่อ หรือ ย่า/ยาย หรือ ปู่/ตา
  • Roles Change : เปลี่ยนจากคนทำงานเป็นผู้สูงอายุสมองเสื่อม
  • Habits : Introvert

Performance Subsystem

  • Objective physical : stress ,dementia
  • Subjective experience : มีประสบการณ์ในการทำงานเป็นทนายความ


3. Job analysis : การปลูกผักบุ้งจีนในกระถาง

กิจกรรมที่ทำในงาน องค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
เตรียมเมล็ดพืช orientation, attention, memory, planning, reasoning, problem solving, metacognition
เตรียมดินลงกระถาง orientation, attention, memory, planning, reasoning, problem solving, metacognition
หยอดเมล็ดพืช orientation, attention, memory, planning, reasoning, problem solving, metacognition
รดน้ำ orientation, attention, memory, planning, reasoning, problem solving, metacognition


4.ประเมินเพิ่มเติม

การประเมินด้านความรู้ความเข้าใจ

  • Allen cognitive level เพื่อดูความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่สัมพันธ์กับระดับความรู้ความเข้าใจ
  • Clinical Dementia Rating (CDR) Scale เพื่อดูระดับความรุนแรงของโรค
  • Mini-Mental State Examination (MMSE) เพื่อคัดกรองระดับภาวะสมองเสื่อม

การประเมินทางจิตเวช

  • แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q)

5.การคิดและการให้เหตุผลทางคลินิก (Clinical Reasoning)

Scientific Reasoning
Diagnosis Clinical reasoning:
Occupational Imbalance: เนื่องจากผู้รับบริการเป็นผู้สูงอายุ จึงมีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อม ส่งผลต่อการเกิดข้อจำกัดต่างๆในการทำกิจวัตรประจำวัน
Occupational Deprivation: เนื่องจากผู้รับบริการเป็นโรคสมองเสื่อม มักมีปัญหาในเรื่องความจำระยะสั้น มีบุคลิคที่เปลี่ยนไปจึงขาดการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
Occupational injustice: ผู้รับบริการอาจมีบุคลิกเปลี่ยนไป เช่น จากเดิมที่เป็นคนสุขุมพูดน้อย อาจกลายเป็นคนยิ่งเก็บตัว ส่งผลให้มีปัญหาด้านการเข้าร่วมทางสังคม

  • Narrative Clinical reasoning:
    “ไม่อยากออกสังคม เงียบอยู่คนเดียว” สะท้อนให้เห็นถึง อุปนิสัย habit : Introvert หรืออาจสะท้อนให้เห็นถึงรอยโรค ในระระที่นึกคำพูดที่จะสื่อสารไม่ออกเนื่องจากภาวะสมองเสื่อม
    “มีภาวะหนี้สินสะสมจากคดีความที่ไม่สำเร็จ” สะท้อนให้เห็นถึง ภาวะเครียด การล้มเหลวจากการเคยทำงานที่ไม่ประสบผลสำเร็จ
    “อยากช่วยครอบครัวทำงาน” สะท้อนให้เห็นถึง การให้ความสำคัญกับครอบครัวถึงแม้ว่าไม่ชอบเข้าสังคม
    “ชอบปลูกต้นไม้ทานได้” สะท้อนให้เห็นถึงการให้คุณค่าของการปลูกต้นไม้ เห็นคุณค่าของการทำอะไรแล้วควรเกิดประโยชน์ตามมา

6. Intervention Plan

Problem list

  • ผู้รับบริการไม่ทราบวิธีในการจัดการความเครียด
  • ผู้รับบริการมีบุคลิกเงียบ ไม่ชอบเข้าสังคม

Short term goal

  • ผู้รับบริการมีความเครียดลดลง 2 ระดับ จากการทำกิจกรรมปลูกผักทานได้ ภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์
  • ผู้รับบริการมีความถี่ของการปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวเพิ่มขึ้น จาก 1 เป็น 2 ภายในระยะเวลา 1 เดือน

Long term goal

ผู้รับบริการสามารถทำงานในลักษณะกิจกรรมยามว่างได้ด้วยตนเองโดยคงไว้ซึ่งความสามารถในที่เหลืออยู่

Intervention Plan

Goal 1: ผู้รับบริการมีความเครียดลดลง 2 ระดับ จากการทำกิจกรรมปลูกผักทานได้ ภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์

FoR/Model : MOHO Model ,Cognitive Disability Model
Therapeutic media : therapeutic use of self
Approach : The Nature-based Stress Management, Relaxation techniques (mindfulness and breathing techniques)

Intervention implementation

  • ใช้ The Nature-based Stress Management ซึ่งเป็นการผ่อนคลายโดยใช้ธรรมชาติที่บ้านของผู้รับบริการเอง ใช้กิจกรรมในรูปแบบการทำสวน ในที่นี้คือ การปลูกผักทานได้
  • เยี่ยมชมธรรมชาติ โดยการมองไปรอบๆบ้าน เดินสำรวจธรรมชาติ ร่วมกับใช้วิธี mindfulness and breathing techniques คือ การกำหนดลมหายใจเข้าออกลึกๆ หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องยุบ




Goal 2: ผู้รับบริการมีความถี่ของการปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวเพิ่มขึ้น จาก 1 เป็น 2 ภายในระยะเวลา 1 เดือน

FoR/Model : MOHO Model ,Cognitive Disability Model, Psychosocial rehabilitation model
Therapeutic media : therapeutic use of self
Approach : Self-management, Cognitive exercise,
Intervention implementation

  • 1. ให้คนในครอบครัว มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมปลูกพืชทานได้กับผู้รับบริการ คือกระตุ้นการถามให้ผู้รับบริการได้คิด เช่น ปลูกต้นไม้ ใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง แล้วมีขั้นตอนอย่างไร นอกจากนี้อาจช่วยผู้รับบริการในงานหนักๆ เช่น ขุดดินใส่กระถาง
  • 2. ให้ผู้รับบริการทำ Cognitive exercise โดยทำ dual task activity เช่น ปลูกต้นไม้ไปด้วยลบเลขจาก 100 ทีละ 7 ไปด้วย หรือ บอกชื่อผลไม้ให้มากที่สุด ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้รับบริการ โดยมีคนในครอบครัวกระตุ้นการถามตอบอีกเช่นกัน



Re-evaluation :

  • ประเมินดูอาการโรคสมองเสื่อม ดูการดำเนินของโรคว่าดีขึ้นหรือแย่ลง หรือไม่เปลี่ยนแปลง โดยใช้แบบประเมิน IQCODE (Informant Questionnaire on Cognitive Decline in the Elderly)
  • ประเมิน self-assessed work ability โดยใช้The Work Ability Index (WAI)
  • ประเมินคุณภาพชีวิต โดยใช้แบบประเมิน health related quality of life (HRQOL)

Reference

IJERPH | Free Full-Text | Nature-Based Stress Management Course for Individuals at Risk of Adverse Health Effects from Work-Related Stress—Effects on Stress Related Symptoms, Workability and Sick Leave | HTML [Internet]. [cited 2016 Oct 15]. Available from: http://www.mdpi.com/1660-4601/11/6/6586/htm

Laakkonen M-L, Kautiainen H, Hölttä E, Savikko N, Tilvis RS, Strandberg TE, et al. Effects of Self-Management Groups for People with Dementia and Their Spouses—Randomized Controlled Trial. J Am Geriatr Soc. 2016 Apr 1;64(4):752–60.

Novel occupational therapy interventions may improve quality of life in older adults with dementia | International Archives of Medicine | Full Text [Internet]. [cited 2016 Oct 17]. Available from: https://intarchmed.biomedcentral.com/articles/10.1...

สมองเสื่อม Dementia - หาหมอ.com [Internet]. [cited 2016 Oct 17]. Available from: http://haamor.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E...





คำสำคัญ (Tags): #occupational therapy#ergonomic#dementia
หมายเลขบันทึก: 617140เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2016 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2016 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท