"ปัญหาหลักสูตรอาชีวะศึกษา"


"ปัญหาหลักสูตรอาชีวะศึกษา"

1.ด้านเทคโนโลยี หากพูดถึงหลักสูตรอาชีวะศึกษาแล้ว โดยส่วนตัวแล้วคิดว่ายังมีหลายวิชาและหลายด้านที่ยังล้าหลังกับเทคโนโลยีปัจจุบัน เครื่องมือในการเรียนการสอนขาดแคลนโดยเฉพาะวิทยาลัยเล็กๆ แต่ละอำเภอ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องจักร เป็น ต้น

แนวทางแก้ไข

ควรจัดให้มีศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่วนกลางขึ้นโดยที่เครื่องมือต่างมีความทันสมัยเทียบเท่าภาคอุตสาหกรรม ให้ทุกวิทยาลัยส่งบุคลากรแต่ละแผนกไปอบรมให้สามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์สอนให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ นักเรียนนักศึกษา และร่วมกันทำโปรแกรมจำลองของเครื่องจักร หรือเทคโนโลยีนั้นๆ

2.ด้านการเรียนการสอน

ผู้สอน

ต้องยอมรับความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้เลย ว่าบุคลากรทางการศึกษาส่วนมากยังทำงานเพื่อเก็บเอกสารเข้าแฟ้มสร้างฟอตฟอริโอ ที่สวยหรูของต้นเอง ซึ่งไม่ได้ใช้วิชาที่เรียนมาแก้ปัญหารึช่วยเสริมสร้างความรู้ให้เด็กเท่าที่ควร ไม่สังเกตและไม่พยายามเข้าใจนักเรียนนักศึกษา ตามหลักจิตวิทยา กล่าวก็คือเรียนมาแต่ไม่สามารถมานำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กให้เกิดประสิทธิภาพได้ และบุคลากรส่วนมากยึดติดในรูปแบบเดิมๆ ไม่คิดค้นวิธีการใหม่ๆ ใช้แค่ความจำเคยเรียนมาแบบนี้ก็จะสอนแบบนี้ ไม่มีรูปแบบที่แปลกใหม่ในการสอน ไม่ให้เด็กได้คิดวิเคราะห์

แนวทางแก้ไข

ควรมีข้อสอบที่ดีในการรับบุคลากรทางการศึกษา เข้าทำงาน ไม่ใช่ข้อสอบจำ ใช้นักจิตวิทยา 1 คนร่วมสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ 1 คน ยกเลิก ฟอตฟอริโอ โดยใช้รูปแบบการวิจัยของผู้สอนแต่ละบุคคลแทน เช่น ให้ประเมินครูผู้สอนและผู้บริหารสัมภาษณ์ทุกเดือน เป็นต้น

นักเรียนนักศึกษา

ปัจจุบันนักเรียนนักศึกษาสายอาชีพยังอ่อนวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่สำคัญ เพื่อใช้ทักษะในการคำนวณต่างๆ ในสายวิชาชีพ นักเรียนนักศึกษาไม่สามรถย้ายสมการง่ายๆ ได้เลย ตัวหาร ยังไม่รู้ บ้างคนถึงขั้นเขียนหนังสือไม่ได้ เพราะได้ สอนและเดินดูเด็กทุกคนซึ่งเป็นเรื่องที่น่าคิดมากว่าทำไมปล่อยผ่านมาถึงขั้นนี้

แนวทางแก้ไข

แน่นอนครับว่าต้องใช้เวลาเป็นอย่างมากแต่ ต้องสอนคนที่ทำได้แล้วให้เพื่อนบอกต่อ ทำให้เพื่อนดู ต้องสังเกตเด็กแต่ละกลุ่มหาเพื่อนที่สามารถจะสอนในกลุ่มได้วิธีนี้ ใช้ได้ดี

หมายเลขบันทึก: 616988เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2016 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ตุลาคม 2016 10:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท