เบญจม์ภัทร์ แสงโสฬส


สังคมในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันสูงขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีทันสมัยที่หลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง รูปแบบการศึกษาที่มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจึงมีนโยบายด้านการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เพื่อพัฒนากำลังคนและพัฒนาศักยภาพของนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษา ทั้งทางด้านสติปัญญา และทักษะฝีมือแรงงาน ให้ก้าวทันเทคโนโลยีและความเจริญในยุคปัจจุบัน เป็นแรงงานที่มีฝีมือ มีความรู้ทักษะในสาขาวิชาชีพสามารถพัฒนาคน ให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันการพัฒนารูปแบบและวิธีการจัดการศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนระดับกลางให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะและมีประสบการณ์ที่เหมาะสม เป็นการฝึกอบรบวิชาชีพ โดยสถานศึกษาของรัฐ สถานศึกษาเอกชน สถานประกอบการหรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ ให้เป็นไปตามกฎหมายอาชีวศึกษา เพื่อเปิดโอกาสให้คนระดับกลางได้พัฒนาตามศักยภาพและความสนใจของตน ซึ่งขณะที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงเข้ามามีบทบาทกับรูปแบบการศึกษา นักเรียนก็ต้องเผชิญกับปัญหาการปรับตัวในด้านต่างๆ เนื่องจากนักเรียนขาดความพร้อมความเข้าใจและวุฒิภาวะในการปรับตัวให้เข้ากับการศึกษาระบบทวิภาคี ที่ต้องเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ นักเรียนส่วนหนึ่งรู้สึกว่าภาคปฏิบัติมีความซ้ำซากจำเจ และหลักสตูรมุ่งเน้นการปฏิบัติมากเกินไป ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตน ทำให้เกิดปัญหาการลาออกกลางคัน สร้างความเบื่อหน่ายให้กับสถานประกอบการ

      ประกอบกับภาวะทางเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในทุกด้าน ก่อให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตมากขึ้นและหากนักเรียนไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ การเกิดความขับข้องใจ ความขัดแย้งในใจหรือความกังวลใจเป็นระยะเวลานานจะก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ เช่น ปัญหาด้านการเรียน ปัญหาด้านความรับผิดชอบต่อการทำงาน ปัญหาด้านความเครียด  ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ การขาดแรงจูงใจในการเรียน การขาดความสามารถในการปรับตัว การขาดทักษะในการเรียน การไม่รู้จักบริหารเวลาเรียน เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ซ้ำซาก ไม่รู้จักตั้งเป้าหมายชีวิต ไม่สามารถดำเนินชีวิตไปตามเป้าหมายที่วางไว้ มีเจตคติไม่ดีต่อการเรียนและมีความวิตกกังวลสูง นำไปสู่การขาดความภาคภูมิใจหรือมองไม่เห็นคุณค่าในตนเอง   ไม่เคารพตนเอง คิดว่าตนเองไม่มีความสามารถ ขาดทักษะทางสังคมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
หมายเลขบันทึก: 616984เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2016 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ตุลาคม 2016 09:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท