ประสบการณ์ออกชุมชน ณ.โรงพยาบาลลำสนธิ จ.ลพบุรี


สวัสดีค่ะ สมาชิกชาวGotoknow ทุกท่าน เมื่อวันที่ 23-24 กันยายนที่ผ่านมา ดิฉันและนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ไปศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ในรายวิชากิจกรรมบำบัดในชุมชน เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเข้าหาชุมชน, การศึกษาระบบสุขภาพชุมชน และบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในชุมชน ดิฉันและเพื่อนๆได้ไปลงเยี่ยมบ้าน ซึ่งมีเคสที่ได้รับมอบหมายเพื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และคิดเชิงระบบ เห็นภาพรวมของชุมชน สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้

วิเคราะห์ข้อมูลเคสใน PEOP model

Person

Environment

Occupation

Performance

เพศ หญิง

อายุ 3 ปี

โรคประจำตัว ปากแหว่งเพดานโหว่ ปัจจุบันผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว

การวินิจฉัย Delay development

ความสามารถปัจจุบัน

ไม่มองตามวัตถุหรือสบตา , ไม่พูดสื่สารเพื่อแสดงความต้องการ , หลีกหนีการสัมผัสบริเวณใบหน้า และภายในช่องปาก , มีภาวะน้ำลายไหล (Drooling) , เคลื่อนย้ายตัวไปที่ต่างๆ ด้วยการถัดก้น , มีปัญหาพฤติกรรมเมื่อไม่พอใจเช่น ร้องไห้โวยวาย และมีปัญหาการนอนหลับ

Interest เด็กให้ความสนใจกับเสียงเพลง

Social environment

- อาศัยอยู่ยาย

Physical environment

- รถเข็นเด็กมีสภาพทรุดโทรม

- ที่บ้านมีที่นั่งเป็นพื้นยกขึ้นมาเตี้ยๆ ไม่มีเก้าอี้

Financial status

- มีรายได้น้อย

ADL ขับถ่ายได้ด้วยตนเองแต่ไม่สามารถบอกความต้องการได้ กิจวัตรประจำวันอย่างอื่นผู้ดูแลต้องทำให้ , การรับประทานอาหาร กินเฉพาะนมวันละประมาณ 8 Oz.

IADL N/A

Rest/Sleep มีปัญหาการนอนหลับ จะนอนหลับได้ช่วงเวลาประมาณตี 3

Play N/A

เด็กสามารถเรียนรู้ได้ไวเมื่อได้รับการฝึกซ้ำๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และจดจำ

เด็กต้องการความช่วยเหลือเรื่อง ดังนี้

- ภาวะไวต่อความรู้สึกบริเวณใบหน้า และช่องปาก

- ลดอาการน้ำลายไหล(Drooling)

- การปรับพฤติกรรม

- การนอนไม่หลับในเวลากลางคืน

- ส่งเสริมเรื่องการยืน

Personal mastery : คุณยายที่เป็นผู้ดูแลมักจะตามใจหลาน หากมีพฤติกรรมที่ไม่พอใจ หรือร้องไห้จะปลอบ และหยุดทำกิจกรรมที่เด็กไม่ชอบ

Mental model : ในผู้รับบริการเด็กนักศึกษาเลือกใช้กรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัดดังนี้

  • Developmental Frame of Reference : นำกรอบอ้างอิงนี้เพื่อศึกษาพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัยว่าความสามารถของเด็กเมื่อเทียบกับอายุตาม milestone แล้วความสามารถช้า / เร็วกว่าอายุจริงเด็กมากแค่ไหน จากนั้นส่งเสริมพัฒนาการในความสามารถขั้นต่อไปที่เด็กควรทำได้
  • Behavioral Frame of Reference : กรอบอ้างอิงในการปรับพฤติกรรม เนื่องจากเด็กมักจะร้องไห้โวยวายเมื่อไม่พอใจ จะเลือกใช้วิธีการให้แรงเสริมทางบวก เช่น คำชม , การได้กอดยาย และของเล่นที่เด็กชอบ เป็นรางวัลเมื่อสามารถทำกิจกรรมนั้นๆ ได้จนเสร็จ โดยมีการให้คำแนะนำคุณยายให้ทำกิจกรรมการฝึกอย่างสม่ำเสมอเป็นช่วงเวลาที่ชัดเจน เช่น นวดปากตอนเช้า และเย็น และทำต่อเนื่องเป็นประจำ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ว่าเป็นสิ่งที่จะต้องทำในทุกๆ วัน และไม่อันตรายใดๆ จากนั้นเด็กจะค่อยๆ สามารถปรับตัวได้ และเลิกร้องไห้ในที่สุด
  • Sensory Integration Frame of Reference: กรอบอ้างอิงเกี่ยวกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกเนื่องจากเด็กมีภาวะไวต่อความรู้สึกบริเวณใบหน้า และปากส่งผลให้ไม่สามารถรับประทานอาหารที่นอกจากนมได้ และไม่ยอมแปรงฟัน ซึ่งส่งผลกับสุขภาพภายในช่องปาก โดยนำหลักการมาใช้โดยให้แรงกดแบบลึก (Deep pressure) โดยเริ่มจากการสัมผัสบริเวณลำตัว สะโพก ขา เพื่อให้เด็กยอมรับสัมผัสได้ก่อน จากนั้นสัมผัสบริเวณแขน และใบหน้า และช่องปาก ตามลำดับ เช่น การรับสัมผัสบริเวณใบหน้า โดยใช้นิ้วมือ และบริเวณภายในช่องปากโดยใช้นิ้วพันผ้ากดด้วยความนุ่ม และลึก นวดบริเวณเหงือก , กระพุ้งแก้ม และเพดานปากให้ทั่ว เพื่อลดภาวะไวต่อความรู้สึก และเป็นการทำความสะอาดช่องปากไปพร้อมกัน หรือปรับประยุกต์คือใช้จุกยางของขวดนมให้แรงกดก่อนที่เด็กจะกินนมในทุกครั้ง เนื่องจากเป็นสิ่งที่เด็กคุ้นเคยเป็นประจำ นอกจากนี้เด็กไม่สามารถยืนได้เนื่องจากขาดโอกาสการรับรู้ของกล้ามเนื้อ และข้อต่อบริเวณสะโพก, เข่า และข้อเท้าเพื่อส่งเสริมการยืน ซึ่งวิธีการฝึกโดยเริ่มจากการให้แรงกดบริเวณข้อต่อที่ต้องการก่อน เพื่อให้เด็กเรียนรู้โดยเป็นผู้รับ (Passive) จากนั้นจึงจับเด็กยืนโดยมีคนช่วยพยุงตัว และอีกคนจับให้ขาอยู่ในแนวที่ถูกต้อง (ankle neutral position) จะทำให้เด็กมีการรับรู้ข้อต่อกระดูก และกล้ามเนื้อด้วยน้ำหนักของตนเอง นอกจากนี้ส่งเสริมการเรียนรู้การรับความรู้สึกบริเวณฝ่าเท้าเพิ่มขึ้น โดยการให้เด็กสัมผัสพื้นผิวที่แตกต่างกัน เช่น พรม , ดิน , ทราย และพื้นไม้ เป็นต้น
  • Neurodevelopmetal Frame of Reference : เนื่องจากเด็กมีอาการน้ำลายไหล จึงเลือกใช้วิธี Quick stretching บริเวณริมฝีปากบนในทิศทางขึ้น เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อให้เกิดการหดตัวส่งผลให้ปากปิดสนิทมากขึ้น น้ำลายไหลลดลง นอกจากนี้มีการใช้สิ่งเร้า เช่น ไอศครีม หรืออมยิ้ม เพื่อเป็นกระตุ้นให้เด็กอยากรับประทาน โดยผู้บำบัดกระตุ้นให้เด็กดูดไอศกรีมหรืออมยิ้ม หรือกิจกรรมการเป่า เช่น เป่าเทียน , เป่าฟองสบู่ เป็นต้น ก็เป็นการส่งเสริมช่วยการออกกำลังกายที่ดีของริมฝีปาก

Team learning : การลงไปเยี่ยมบ้านในครั้งนี้นักศึกษาได้เรียนรู้ที่จะนำความรู้ที่เป็นหลักการในห้องเรียนมาประยุกต์ใช้กับผู้รับบริการจริง ซึ่งบริบทที่แตกต่างไปจากคลินิก ทำให้กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ เพื่อที่จะนำมาปรับกิจกรรมที่เคยทำให้ส่งเสริมการทำกิจกรรมได้มากขึ้น และปลอดภัย และอุปกรณ์ช่วยในการฝึกผู้รับบริการสามารถหาได้ง่ายภายในบ้าน หรือชุมชนของผู้รับบริการเอง นอกจากนี้ได้มีการเรียนรู้การทำงานแบบสหวิชาชีพทั้งพี่นักกายภาพบำบัด , นักจิตวิทยา , นักโภชนาการ และนักศึกษาแพทย์ที่ได้ร่วมไปลงเยี่ยมบ้านในครั้งนี้ และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลซึ่งกัน และกัน พี่ๆ ที่ดูแลเคสนี้เป็นประจำได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการดูแลให้ดียิ่งกว่าเดิม ซึ่งเป็นการร่วมมือกันเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับริการ

Building shared vision : ในการดูแลเคสนี้ในระยะยาว (Long term care) ส่งเสริมพัฒนาการของผู้รับบริการให้ได้ใกล้อายุจริงมากที่สุด โดยในขั้นต้นให้ผู้รับบริการสามารถสื่อสารบอกความต้องการ และช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งผู้รับบริการมีการเรียนรู้ที่ดี และทีมเยี่ยมบ้านเป็นประจำของทางโรงพยาบาลลำสนธิมีศักยภาพ ทำให้ส่งเสริมการฝึกได้ตามเป้าหมาย

Transfer of learning & OPERA hypothesis

Overlap : ก่อนหน้าที่จะมีนักกิจกรรมบำบัดลงเยี่ยมบ้านครั้งนี้ ทุกครั้งจะมีเจ้าหน้าที่สหวิชาชีพ เช่น พยาบาล , นักกายภาพบำบัด , นักจิตวิทยา, นักโภชนาการ และนักบริบาลลงไปเป็นประจำในทุกๆ เดือน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก และให้ความช่วยเหลือกับผู้ดูแล

Precision : ทีมเยี่ยมบ้านจะมีนักวิชาชีพที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละท่านจะมีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันทำให้ข้อมูลหรือวิธีการรักษานั้นมีความถูกต้องในระดับหนึ่ง สามารถตรวจสอบได้โดยการหาข้อมูลมาสนับสนุนจากแหล่งความรู้ต่างๆ เช่น หนังสือ, อินเตอร์เน็ต และบทความวิชาการ เป็นต้น

Emotion : ในทีมเยี่ยมบ้านจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และแต่ละคนภายในทีมจะมีการให้กำลังใจซึ่งกัน และกัน นอกจากนี้รูปแบบลักษณะการทำงานของทีมเยี่ยมบ้านทางโรงพยาบาลลำสนธิเป็นลักษณะครอบครัว ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกในทีม ทำให้สามารถจัดการกับความเครียด และอารมณ์ขณะทำงานได้ดี ร่วมทั้งผู้รับบริการ , ญาติ และผู้ดูแลของผู้รับบริการมีส่วนช่วยให้กำลังใจกับทีมเยี่ยมบ้านด้วยอีกด้วย

Repetition : ทีมเยี่ยมบ้านของโรงพยาบาลลำสนธิลงเป็นประจำทุกเดือน

Attention : ทีมเยี่ยมบ้านมีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือผู้รับบริการ โดยมีการรวบรวมความรู้ของแต่ละวิชาชีพมาบูรณาการร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการได้รับสิ่งที่ดี และเหมาะสมแก่ตัวเอง แต่ความร่วมมือของผู้ดูแล (คุณยาย) อาจจะยังไม่มากนัก เมื่อให้วิธีการฝึกกลับไป ซึ่งการปฏิบัติมักไม่ได้ทำตามเท่าที่ควร หรือเป็นประจำ

ในการลงชุมชนครั้วนี้ดิฉันได้ประสบการณ์ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการใช้ชีวิต ที่แห่งนี้ให้แรงบันดาลใจฉันกับเพื่อนมากมาย ณ.โรงพยาบาลลำสนธิ จ.ลพบุรี

ขอขอบพระคุณอาจารย์กิจกรรมบำบัดและเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่โรงพยาบาลลำสนธิ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้

หมายเลขบันทึก: 616848เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2016 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2016 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท