​ทฤษฎีการปฏิบัติหน้าที่ ที่สอดคล้องกับนิทานธรรมะ


ทฤษฎีการปฏิบัติหน้าที่ (Functional Approach Theory)

ทฤษฎีการปฏิบัติหน้าที่ เป็นทฤษฎีที่มีการนำมาใช้ในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์

ประวัติ รูธ อีสมอ (1903-1979)

รูธ อีสมอ Ruth Smalley นักปรัชญาสังคมการทำงานที่มีความกล้าหาญที่จะแสดงแนวคิดการทำงาน ทางสังคมและกระบวนการในภาษาในรูปแบบใหม่และเพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานเพื่อทบทวนการปฏิบัติของตัวเอง ในความสัมพันธ์กับลูกค้าตามปรัชญาของอ็อตโตยศ

เกิดในชิคาโกสมอลได้รับปริญญาตรีของเธอในปี 1924 จากมหาวิทยาลัยมินนิโซตา; และปริญญาโทของเธอ ในการศึกษาระดับปริญญาสังคมสงเคราะห์ในปี 1929 จากวิทยาลัยสมิ ธ ; และปริญญาเอกของเธอในการศึกษาระดับปริญญาสังคมสงเคราะห์ในปี 1949 จากมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก

เธอได้รับการฝึกฝนเป็นครั้งแรกในสำนักแนะแนวเด็กในนิวยอร์ก 1929-1932 แล้วก็อยู่ในคณะของมหาวิทยาลัยชิคาโกสมิธ วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก จากปี 1950 เธอเป็นอาจารย์ของสังคมการทำงานที่มหาวิทยาลัยเพนซิลและแล้วก็กลายเป็นคณบดี เธอเป็นผู้นำในการทำงานเพื่อสังคมโรงเรียน เธอได้มีส่วนร่วมสำคัญในการจัดตั้งของทั้งสองสภาการศึกษาสังคมสงเคราะห์และ NASW และเธอทำหน้าที่ในคณะกรรมการชั่วคราว Interassociation ซึ่งเป็นที่ยอมรับ NASW เธอเขียนครอบคลุมหลากหลายของปัญหาที่ทำงานเพื่อสังคม

ทฤษฎีการปฏิบัติหน้าที่ (Functional Approach Theory)

ทฤษฎีนี้ได้รับอิทธิพลจากนักจิตวิเคราะห์ชื่อ Otto Rank ซึ่งเน้นการทำงานให้บริการของหน่วยงาน (Agency) มากกว่าที่จะกล่าวถึงการบำบัดรักษาผู้รับบริการตามสภาพจิตใจสังคม (Psychosocial Treatment) เหมือนอีกหลายๆ ทฤษฎีที่มีเรื่องเหล่านี้ผสมผสานอยู่

ทฤษฎี Functionl Approach นี้ เป็นแนวคิดของ Ruth Smalley (ค.ศ. 1930) ทฤษฎีนี้เน้นที่กระบวนการช่วยเหลือผู้รับบริการตามสถานการณ์ที่เห็นสมควร (Helping Process) โดยพยายามหาเครื่องมือในการให้บริการช่วยเหลือไว้ให้พร้อม ในขั้นแรกควรจะเป็นเครื่องมือภายในหน่วยงานที่นักสังคมสงเคราะห์ทำงานอยู่ด้วย ดูว่าบริการทางสังคมของหน่วยงานต่อระบบผู้รับบริการสมดุลกันหรือไม่ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการได้อย่างไรหรือเพียงใด นักสังคมสงเคราะห์จะต้องให้โอกาสแก่ผู้รับบริการหรือกลุ่มเป้าหมายได้เกิดความคิดตัดสินใจเลือกใช้บริการที่หน่วยงานในชุมชนนั้นมีให้อยู่แล้ว นักสังคมสงเคราะห์จะให้ความสำคัญกับบทบาทการจัดบริการให้แก่ฝ่ายผู้รับบริการในลักษณะวิธีการต่างๆ ทางสังคมสงเคราะห์ และทำให้ผู้รับบริการรับรู้บทบาทของตนในการแก้ไขป้องกันปัญหา รู้จักใช้ทรัพยากรในหน่วยงานในสถาบันครอบครัว ในชุมชน ให้เกิดประโยชน์ นอกจากนั้นนักสังคมสงเคราะห์ยังสามารถเชื่อมโยงปัญหากับบริการทางสังคมได้อย่างถูกต้อง สามารถสร้างกระบวนการให้บริการทุกขั้นตอน โดยเน้นความมีสัมพันธภาพของระบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรู้จักพึ่งพิงการประสานงานกับบุคลากรต่างวิชาชีพทั้งในหน่วยงานเดียวกันและต่างหน่วยงานให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานของหน่วยงานที่นักสังคมสงเคราะห์ผู้นั้นทำงานอยู่ด้วยอย่างมีประสิทธิภาพ

ทฤษฎีนี้เคยเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในระหว่างปี ค.ศ. 1940-1950 แม้ว่าปัจจุบันนี้จะไม่ใคร่มีชื่อเสียงนัก เพราะทฤษฎีนี้วางเงื่อนไขเกินไป กล่าวคือ คาดหวังให้นักสังคมสงเคราะห์ทำงานอย่างมีแผนการ มีเป้าหมายพัฒนานโยบายที่หน่วยงานกำหนด และรู้จักเวลาและหน้าที่ของหน่วยงานอย่างไรก็ตาม บางทีเงื่อนไขที่ว่าเกินไปนั้นหากรู้จักนำไปประยุกต์ใช้ในบางส่วนกับงานสังคมสงเคราะห์หรือผสมผสานกับทฤษฎีสังคมสงเคราะห์อื่นอย่างพอเหมาะพอดี ก็สามารถจะเป็นประโยชน์ได้อย่างมากเช่นกัน

นิทานชาดกเรื่อง ชื่อสำคัญไฉน มีความสอดคล้องกับทฤษฎีการปฏิบัติหน้าที่ จะทำให้เราเห็นถึงการให้ความช่วยเหลือแนะนำของตัวละคร ว่ามีวิธีการอย่างไร เราลองมามาอ่านนิทานเรื่องนี้กันว่ามีความสอดคล้องอย่างไร

ชื่อนั้นสำคัญไฉน

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระภิกษุผู้หวังความสำเร็จโดยชื่อรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ อยู่ในเมืองตักกสิลา มีลูกศิษย์คนหนึ่งชื่อว่า ปาปกะ (นายบาป) เขาคิดว่าชื่อของเขาไม่เป็นมงคล จึงเข้าไปหาอาจารย์ และขอให้อาจารย์ตั้งชื่อให้ใหม่ อาจารย์จึงบอกให้ไปเที่ยวแสวงหาชื่อที่ตนเองชอบใจมาแล้วจะทำพิธีเปลี่ยนชื่อให้

เขาได้ออกเดินทางไปแสวงหาชื่อใหม่ จนถึงเมืองหนึ่ง เดินผ่านขบวนญาติหามศพไปป่าช้า จึงถามถึงชื่อคนตาย พวกญาติจึงบอกชื่อว่า ชีวกะ(นายบุญรอด) เขาถามว่า " ชื่อชีวกะก็ตายหรือ ? " พวกญาติจึงกล่าวว่า " จะชื่ออะไร ๆ ก็ตายทั้งนั้น ชื่อเป็นเพียงบัญญัติสำหรับเรียกกันเท่านั้น "

พอเดินเข้าไปในเมือง พบเห็นพวกนายทุนกำลังจับนางทาสีเฆี่ยนด้วยเชือกอยู่ จึงถามความนั้นทราบว่านางไม่ยอมให้ดอกเบี้ยจึงถูกลงโทษแทน ถามถึงชื่อนางทาสีนั้น ทราบว่าชื่อนางธนปาลี (นางรวย) จึงถามว่า " ชื่อรวย ยังไม่มีเงินดอกเบี้ยหรือ ? " พวกนายทุนจึงตอบว่า " จะชื่อรวยหรือจน เป็นคนยากจนได้ทั้งนั้น ชื่อเป็นเพียงบัญญัติเรียกกันเท่านั้น " เขาเริ่มรู้สึกเฉยๆ ในเรื่องชื่อยิ่งขึ้น

เขาได้เดินทางออกจากเมืองไป ในระหว่างทางพบคนหลงทางคนหนึ่ง จึงถามชื่อ ทราบว่าชื่อ ปันถกะ(นายชำนาญทาง) จึงถามว่า " ขนาดชื่อชำนาญทางยังหลงทางอยู่หรือ ? " คนหลงทางจึงตอบว่า " จะชื่อชำนาญทางหรือไม่ชำนาญทาง ก็มีโอกาสหลงทางได้เท่ากัน เพราะชื่อเป็นบัญญัติสำหรับเรียกกันเท่านั้น "

เขาจึงวางเฉยในเรื่องชื่อ เดินทางกลับไปพบอาจารย์ แล้วเล่าเรื่องที่ตนพบเห็นมาให้ฟัง และขอให้ชื่อนายบาปเช่นเดิม อาจารย์จึงกล่าวคาถานี้ว่า

" เพระเห็นคนชื่อเป็นได้ตายไป หญิงชื่อรวยกลับตกยาก

และคนชื่อว่านักเดินทางแต่กลับหลงทางอยู่ในป่า นายปาปกะจึงได้กลับมา "

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ชื่อนั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ

จะเห็นได้ว่าการให้ความช่วยเหลือของตัวละครคือการแนะนำให้ออกไปแสวงหาความจริงด้วยตัวเองออกไปในสถานที่ต่างๆ และเลือกที่จะตัดสินใจด้วยตัวเอง ว่าจะเลือกวิธีไหนในการแก้ไขปัญหาของตนเอง เปรียบเหมือนการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ในการใช้ทฤษฎีการปฏิบัติหน้าที่ เป็นตัวขับเคลื่อนในการให้ความช่วยเหลือ การแก้ไขปัญหาโดยให้ผู้ประสบปัญหาได้เลือกที่จะใช้วิธีไหนในการแก้ปัญหาของตนเอง

แหล่งอ้างอิง

http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blog-post_23.html

http://www.dhammathai.org/chadoknt/chadoknt142.php

หมายเลขบันทึก: 616838เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2016 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2016 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท