ข้อสอบ Take Home 1


  1. เคสวัย 70 ปีที่เป็นสมองเสื่อมมา 3 ปี ไม่อยากออกสังคม เงียบอยู่คนเดียว เดิมเป็นทนายความ และเครียดด้วยภาวะหนี้สินสะสมจากคดีความที่ไม่สำเร็จ แต่อยากช่วยครอบครัวทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง ชอบปลูกต้นไม้ทานได้
      • วิเคราะห์เคสผ่านกรอบอ้างอิง PEOP และ MOHO

      • ประเมินเพิ่มเติมทางกิจกรรมบำบัด
  • สัมภาษณ์และสังเกตผู้รับบริการโดยใช้การสร้างปฏิสัมพันธ์และแสดงความเข้าใจผู้รับบริการ (Empathy) และใช้ Narrative clinical reasoning เพื่อหาปัญห่รวมถึงใช้แบบประเมินต่างๆดังนี้
  • ด้านจิตใจ
  • ประเมินความต้องการเรื่องการทำงาน (Identified needs) ผ่านการสัมภาษณ์
  • ประเมินภาวะซึมเศร้าผ่าน แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย 15 ข้อ (TGDS-15)ประเมินระดับความเครียด ผ่านแบบประเมินความเครียด (ST5)
  • หรือ แบบประเมินความเครียด (SPST – 20)
  • ประเมินคุณภาพชีวิต ผ่าน เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององคการอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL - BREF – THAI)
  • ด้านสิ่งแวดล้อม
    • สำรวจสภาพบ้านหาข้อจำกัดและสิ่งกีดขวางที่กระทบต่อการทำงานและการใช้ชิวิตประจำวัน

      • Job analysis ปลูกหอมแดงไร้ดินในถาดไข่


* ไม่สามารถระบุว่าอะไรขัดขวางหรือส่งเสริมได้เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอ ต้องได้รับการประเมินเพิ่มเติม *

      • แผนการบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัด (Intervention Plan

ปัญหา (Problem list):

  • มีความเครียดสะสมและไม่อยากออกสังคมชอบเงียบอยู่คนเดียว
  • ว่างงานแต่อยากทำงานเป็นกิจกรรมยามว่าง

เป้าประสงค์ (Goal):

  • ผู้รับบริการสามารถจัดการความเครียดได้อย่างเหมาะสม ภายใน 2 สัปดาห์
  • ผู้รับบริการสามารถทำงานแบบกิจกรรมยามว่างในการปลูกต้นหอม ภายใน 4 สัปดาห์



    1. Goal: ผู้รับบริการสามารถจัดการความเครียดได้อย่างเหมาะสม ภายใน 2 สัปดาห์

Frame of reference: MoHo, Psychosocial

Therapeutic media: Therapeutic use of self Approach: Relaxation technique, Stress management Intervention:

- สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการและสอบถามถึงวิธีผ่อนคลายความเครียดที่ผู้รับบริการเคยทำรวมถึงและแนะนำวิธีใหม่โดยให้ผู้รับบริการได้ลองทำด้วยตนเองและเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตน จัดกิจกรรมกลุ่มโดยมีกิจกรรมดังนี้

- Cyclic Meditation : เป็นวิธีการผ่อนคลายโดยใช้โยคะ

ขั้นตอนที่ 1: Opening prayer (1 นาที) โดยผู้นำกลุ่มโยคะ

ขั้นตอนที่ 2: Instant Relaxation Technique เทคนิคการผ่อนคลายทันที (IRT, 1 นาที) ก็จะทำโดยการหดตัวของกล้ามแบบ isometric contraction และจบลงด้วยการนอนราบและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

ขั้นตอนที่ 3: Centering (4 นาที); ลุกขึ้นยืนให้เท้าราบไปกับพื้น เรียกว่า Tadasana

ขั้นตอนที่ 4: ท่ายืนเรียกว่า Ardhakatichakrasana (6 นาที) โดยยืนจากท่า Tadasana แล้วเอียงไปทางขวา (1 นาทีและ 30 วินาที) พัก 1 นาทีและ 30 วินาที จากนั้น เอียงไปทางซ้าย (1 นาทีและ 30 วินาที) พัก 1 นาทีและ 30 วินาทีและกลับมาท่าTadasana อีกครั้ง

ขั้นตอนที่ 5: Quick Relaxation Technique เทคนิคการผ่อนคลายอย่างรวดเร็ว (QRT 5 นาที) นอนหงาย สวดบทสวดและอ้าปาก

ขั้นตอนที่ 6: การนั่งท่า Vajrasana, Shashankasana และ Ushtrasana (6 นาที) โดยนั่งแล้วเอียงไปด้านหน้า พัก เอนไปด้านหลัง พัก

ขั้นตอนที่ 7: Deep Relaxation Technique (DRT, 10 นาที) เทคนิคการผ่อนคลาย ค่อยๆเอนตัวลงนอนช้าๆ ผ่อนคลายต่อไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ขั้นตอนที่ 8: การปิดการสวดมนต์ (2 นาที) สรุปด้วยการอธิษฐาน - group singing activities : จัดกลุ่มกิจกรรมร้องเพลงให้สมาชิกได้เลือกเพลงที่อยากร้องเพื่อบรรเทาความเครียด ได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ทั้งยังกระตุ้นให้มีการพูดคุยกันอย่างเป็นกันเองและเพิ่มกิจกรรมทานชาหรือของว่างในช่วงพักเบรคร่วมกันภายในกลุ่ม


2. Goal: ผู้รับบริการสามารถทำงานแบบกิจกรรมยามว่างในการปลูกต้นหอม ภายใน 4 สัปดาห์

Frame of reference: MoHo, Psychosocial, Occupational adaptation

Therapeutic media: Therapeutic use of self, Teaching & learning process, Activity analysis

Approach: Work condition, Work hardening, Job modification, Reinforcement

Intervention: - Work condition: ฝึกทักษะที่จำเป็นต่อการปลูกต้นหอม เช่น กิจกรรมกลุ่มฝึก Cognitive function โดยจัดตารางการฝึกดังนี้



1. Exercise ออกกำลังกาย 10 ก่อนการเริ่มทุกกิจกรรม เป็นการยืดเหยียดร่างกาย และป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ

2. Occupational Therapy ผู้ป่วยต้องจำชื่อสิ่งของที่แตกต่างกัน เช่น ของใช้ในครัวเรือน สิ่งของในการเย็บปักถักร้อย และงานไม้ ตามบริบทในท้องถิ่นและได้รับการฝึกฝนในการใช้งานของ ที่เหมาะสมสำหรับการทำงานของพวกเขา อุปกรณ์สำหรับปลูกต้นหอม เช่น ถาดไข่ หอมแดง

3. Reminiscence Therapy ความทรงจำบำบัดที่ใช้ภาพที่คุ้นเคยธรรมชาติ, สภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยในการที่ผู้ป่วยได้อาศัยและรวมรายการของใช้ในครัวเรือนที่มีการใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน

4. Art therapy ส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อมือ ให้วาดภาพธรรมชาติ เช่น สัตว์ แมลง วิวทิวทัศน์ ซึ่งการวาดภาพต้องอาศัยทักษะการคิด การสังเกต และการจดจำ

5. Horticultural Therapy พืชสวนบำบัด รักษาด้วยการปลูกพืชสวนเช่นปลูกต้นหอมเน้นที่การมีส่วนร่วมมุ่งเป้าไปที่การปรับปรุง ทางกายภาพ, สังคมและการปรับตัว

6. Music Therapy เล่นเพลงตามเมโลดี้หรือเล่นคลอประกอบเพลงที่นิยม ได้ฝึกจดจำโน๊ตดนตรี บรรเทาความเครียด สร้างเสริมสมาธิ

  • Work hardening : ฝึกทำกิจกรรมปลูกต้นหอมในสถานที่จำลอง(ห้องคลินิก)

โดยนักกิจกรรมบำบัดเป็นผู้ฝึกสอนในการปลูกต้นหอมตามขั้นตอนที่ได้บอกไว้ข้างต้น จากนั้นให้ผู้รับบริการได้ลองทำด้วยตนเอง ผู้บำบัดอาจใช้บอร์ดเป็นสื่อเพื่อแสดงถึงวิธีการและขั้นการทำอย่างละเอียด เน้นให้ผู้รับบริการได้ลงมือทำด้วยตนเองโดยอาจทำพร้อมไปรวมถึงต้องจัดสถานที่ให้ใกล้เคียงกับบ้านมากที่สุดและให้แรงเสริมเป็นคำชมและแรงเสริมจากผลงานที่ผู้รับบริการได้ทำ

  • Job modification : ถ้าผู้รับบริการไม่สามารถทำกิจกรรมได้หรือกิจกรรมนั้นง่ายกว่าความสามารถของผู้รับบริการ ผู้บำบัดจะต้องมีการปรับกิจกรรม
    • Grade up : เพิ่มจำนวนในการปลูก นำต้นหอมลงปลูกในดิน
    • Grade down : ลดจำนวนการต้นหอมที่จะปลูก, ให้ผู้ดูแลช่วยคัดเลือกหัวหอมที่สมบูรณ์, เขียนขั้นตอนในการปลูกไว้
  • จัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานตามหลัก Ergonomic

จัด work station : ให้ของและอุปกรณ์วางอยู่บนโต๊ะ ในระยะที่เอื้อมถึงได้ตาม Anthropometric ของผู้รับบริการ จัดให้เก้าอี้มีพนักพิงหลังเพื่อพยุงหลังส่วนล่างเมื่อผู้รับบริการนั่งแล้วสามารถวางเท้าราบกับพื้นได้


Clinical reasoning

Diagnostic clinical reasoning : สมองเสื่อม (dementia) เป็นภาวะที่สมองมีการทำงานแย่ลงจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยกลุ่มอาการหลายๆ อย่างรวมกัน เช่น หลงลืมง่าย คิดเงินไม่ถูก หาของไม่เจอ หลงทางในที่คุ้นเคย มีพฤติกรรมแปลกๆ เป็นต้น โดยสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมมีมากมาย ทั้งที่เป็นโรคของสมองและไม่ใช่โรคของสมอง เช่น เส้นเลือดสมองตีบ เนื้องอกในสมอง เลือดออกในสมอง ไทรอยด์ การขาดวิตามินบี 12 ภาวะซึมเศร้า

Procedural clinical reasoning : การให้บริการตามกระบวกการทางกิจกรรมบำบัด ตั้งแต่ประเมินเพิ่มเติม ตั้งเป้าประสงค์ และให้การบำบัดรักษา


เอกสารอ้างอิง

Kushwah KK, Srinivasan TM, Nagendra HR, Ilavarasu JV. Effect of yoga based techniques on stress and health indices using electro photonic imaging technique in managers. Journal of Ayurveda and Integrative Medicine. 2016;7(2):119-23.

Davidson JW, Almeida RA. An exploratory study of the impact of group singing activities on lucidity, energy, focus, mood and relaxation for persons with dementia and their caregivers. Psychology of Well-Being. 2014;4(1):1-13.

Kim HJ, Yang Y, Oh JG, Oh S, Choi H, Kim KH, et al. Effectiveness of a community-based multidomain cognitive intervention program in patients with Alzheimer's disease. Geriatrics & gerontology international. 2016;16(2):191-9

หมายเลขบันทึก: 616819เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2016 20:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2016 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท