น.ส.จุฬารัตน์ เรืองกล้า


ปัญหาระหว่างการจัดการเรียนการสอนกับหน้าที่พิเศษ

ในการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาแต่ล่ะแห่งนั้น ภาระของครูผู้สอนบางท่านไม่ได้มีแค่สอน แต่ยังมีงานพิเศษอื่น ๆ อีก ตามความถนัดหรือความสามารถของแต่ละคน หากกล่าวถึงสถานศึกษาขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ย่อมมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังตัวอย่าง สถานศึกษาขนาดใหญ่ นอกเหนือจากการสอนก็มีตำแหน่งหน้าที่ในงานพิเศษของแต่ละฝ่าย และงานนั้น ๆ ขึ้นอยู่กับความสำคัญมากน้องเพียงใดจึงควรจะมีเจ้าหน้าที่ แต่ทว่า สถานศึกษาขนาดเล็กยิ่งน่าสงสารไปใหญ่ บางภาระงานกลับไม่มีเจ้าหน้าที่คอยช่วย จึงเป็นเหตุให้ครู คณาจารย์ ที่กำลังปฏิบัติการสอนในชั่วโมงเรียน ต้องทิ้งให้เด็กรอในห้องหรือไม่มีเวลาเข้าสอนเลย ซึ่งขณะสอนก็จะมีงานด่วนนู่นนี่นั่นเป็นประจำ ท้ายที่สุดเกิดการเรียนการสอนที่ไร้ประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้งงานพิเศษก็เกิดการล่าช้าไม่สำเร็จตามเป้าหมาย

แนวทาง ชี้แนะหรือแก้ไขของปัญหา 1. ด้านการบริหารสถานศึกษา 2. ด้านผู้บริหาร 3. ด้านบุลากรของสถานศึกษา 4. ด้านระบบการจัดการสถานศึกษา ฯลฯ สถานศึกษาควรจะมีเจ้าหน้าที่ รับผิดชอบหลัก ๆ อยู่ 2 คน โดยที่ไม่ใช่ครูผู้สอน เพราะจากหลักการแบ่งฝ่ายงานการปฎิบัติงานของทางสถานศึกษา มี 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายริหารทรัพยากร ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือฝ่าย และฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา เมื่อมีงานเข้ามาให้ผู้อำนวยการมอบหมายให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการไปก่อน เมื่อมีหน้าที่เชื่อมโยงกับคนที่เป็นข้าราชการครูที่มีหน้าที่สอนก็ค่อยให้ไปประสานงานอีกที อย่างนี้จะทำให้งานเดินไปเรื่อย ๆ และการสอนของครูที่มีหน้าที่สอนก็จะไม่ส่งผลกระทบอีกต่อไป

หมายเลขบันทึก: 616777เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2016 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2016 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ


https://goo.gl/jeAvcy

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท