วัตถุประสงค์/หลักการ/ขอบเขต/แนวทางการดำเนินงาน/และหน้าที่ของนักสังคมสงเคราะห์


วัตถุประสงค์ของงานสังคมสงเคราะห์

  • ช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคคลให้มีความสามารถในการเผชิญและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
  • ช่วยให้รู้จักระบบต่างๆที่มีอยู่ในสังคม
  • ส่งเสริมให้ระบบต่างๆในสังคมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ช่วยพัฒนาและปรับปรุงนโยบายสังคมทุกระดับ

หลักการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์

  • มุ่งเน้นช่วยเหลือผู้ใช้บริการให้ช่วยเหลือตนเองได้
  • นักสังคมสงเคราะห์ต้องทำงานร่วมกับผู้มาใช้บริการ
  • จำเป็นต้องให้ผู้ใช้บริการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหา

ขอบเขตงานสังคมสงเคราะห์

  • การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกชุมชนในสังคม
  • การทำงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสังคม
  • การทำงานกับระบบทรัพยากรต่างๆในสังคม

แนวทางการดำเนินงานสังคมสงเคราะห์

  • ให้ข่าวสารข้อมูลแก่ทุกระบบในสังคม
  • ช่วยแก้ไขปัญหาในฐานะผู้แทนพิทักษ์สิทธิ์ของระบบผู้ให้บริการ
  • เป็นตัวแทนในการมีส่วนร่วมหรือกระตุ้นให้บุคคล กลุ่ม ชุมชน เกิดความตระหนักในปัญหาและความต้องการที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเองอย่างมีสำนึก
  • จัดรูปแบบองค์การให้แก่สมาชิกของระบบ และช่วยดำเนินงานสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อประโยชน์ของกลุ่ม
  • ให้คำปรึกษาและชี้ให้ทุกคนมองเห็นปัญหาและให้คำแนะนำในการแก้ไข
  • เสนอแนะทักษะบางอย่างที่เป็นประโยชน์แก่สมาชิกของระบบ
  • ช่วยให้สมาชิกของระบบรู้จักวิเคราะห์ปัญหาของตนเอง

หน้าที่ของนักสังคมสงเคราะห์

1. ช่วยให้คนมีความสามารถในการแก้ไขและเผชิญปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคนแต่ละคนมีสามารถในการเผชิญปัญหาในการดำรงชีวิตได้ไม่เหมือนกัน นักสังคมสงเคราะห์จึงถือเป็นทรัพยากรในการจัดการต่างๆ ในฐานะผู้แทนองค์การ

2. เป็นผู้ริเริ่มให้คนมีปฏิสัมพันธ์กับระบบทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ในสังคม เช่น บริการ ข่าวสารในสังคม และช่วยให้คนได้แก้ไขปัญหา/อุปสรรค มีการส่งต่อ เป็นตัวแทนกลุ่มผู้ที่ต้องการบริการแต่มีปัญหาในการขอรับบริการ กระตุ้นให้มีการตรวจสอบและทบทวนนโยบายการให้บริการประชาชน

3. การสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีภายในระบบของทรัพยากรแต่ละระบบ คือ มีการเปลี่ยนแปลงให้ระบบต่างๆดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4. การมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและแก้ไขนโยบายสังคม นักสังคมสงเคราะห์ต้องมีส่วนร่วมในการเสนอให้ผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบายคำนึงถึงปัญหาที่แท้จริงของประชาชน และนักสังคมสงเคราะห์มีส่วนช่วยในการปรับปรุงแก้ไขนโยบายสังคม

5. การจัดหาทรัพยากรทางวัตถุให้แก่คนในสังคม ทั้งในกรณีเร่งด่วน

6. เป็นตัวแทนของการควบคุมทางสังคม นักสังคมสงเคราะห์เป็นตัวแทนการควบคุมพฤติกรรมต้องได้รับมอบหมายอำนาจจากองค์กรก่อน รวบรวมข้อมูลข่าวสารบุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน และควบคุมดูแลองค์ที่มีให้ได้มาตรฐาน

หมายเลขบันทึก: 616773เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2016 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2016 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท