นายจิระพงษ์ กวนกระโทก


ปัญหาที่พบจากการใช้หลักสูตรระบบทวิศึกษา

การจัดอาชีวศึกษาแบบทวิศึกษา เป็นการจัดการศึกษาระหว่างสถานศึกษาด้านอาชีวศึกษากับสถานศึกษาด้านสามัญศึกษา โดยจัดให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเรียนวิชาสามัญในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและมาเรียนวิชาชีพในสาขาที่ต้องการในสถานศึกษาด้านอาชีวศึกษา ซึ่งผู้เรียนจะได้ทั้งวุฒิ ม.6 จากโรงเรียนมัธยมศึกษาและได้วุฒิ ปวช.จากวิทยาลัยทางอาชีวศึกษาด้วย จึงมักเรียกโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบทวิศึกษานี้ว่า เป็นโรงเรียนมัธยมแบบผสมผสานส่วนใหญ่มักจัดในโรงเรียนมัธยมที่ห่างไกล

แต่เมื่อนำหลักสูตรแบบทวิศึกษามาใช้จริงแล้วพบว่าเกิดปัญหาค่อนข้างมาก อย่างเช่น การเดินทางของนักเรียนจากโรงเรียนมัธยมศึกษามาวิทยาลัยทางอาชีวศึกษา ซึ่งนักเรียนจะต้องมาร่วมตัวกันที่โรงเรียนมัธยมศึกษาก่อน เมื่อครบจำนวนรถรับส่งนักเรียนจึงพามาส่งที่วิทยาลัยทำให้นักเรียนมาร่วมกิจกรรมในตอนเช้าของวิทยาลัยไม่ทัน นักเรียนจึงไม่ได้รับข่าวสารจากการประชาสัมพันธ์ในช่วงกิจกรรม และเป็นการยากของครูงานปกครองในการควบคุมดูแลเรื่องการแต่งกายให้ถูกระเบียบของนักเรียนในระบบทวิศึกษา ส่วนตอนกลับ รถรับส่งนักรียนจะนำนักเรียนกลับโรงเรียนเป็นเวลาไม่เกิน 16.30 น. ดังนั้นการจัดตารางเรียนตารางสอนต้องจัดให้อยู่ในช่วงเวลา ซึ่งจะจัดยากกว่านักเรียนที่เรียนในระบบอาชีวศึกษาปกติ

ดันนั้นแผนกวิชาของวิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนระบบทวิศึกษาจึงจำเป็นต้องจัดครูช่วยดูแล ให้คำปรึกษา และพบนักเรียนในระบบทวิศึกษาอย่างใกล้ชิด

หมายเลขบันทึก: 616711เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2016 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2016 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท